Menu

รางจืด

ชื่อเครื่องยา

รางจืด

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ ราก เถา

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ยาเขียว เครือเขาเขียว กำลังช้างเผือก หนามแน่(เหนือ) ย่ำแย้(อุตรดิตถ์) น้ำนอง คาย(ยะลา) ดุเหว่า(ปัตตานี) รางเย็น ทิดพุด แอดแอ รางจืดเถา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Thunbergia laurifolia L.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Thunbergiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เถาที่มีอายุมากจะมีเนื้อแข็งขนาดกลาง เถามีเนื้อไม้ เถาอ่อนสีเขียว กลม เป็นข้อปล้อง เถาแก่สีน้ำตาล ใบรูปไข่ปลายเรียวแหลม ปลายใบแหลม หรือแหลมยาว โคนใบกลม ตัด รูปหัวใจหรือคล้ายลูกศร ขอบใบเรียบ จักซี่ฟันตื้นๆ ห่างๆ แผ่นใบเกลี้ยง เส้นโคนใบส่วนมากมี 5 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดเจน ใบยาว 4-18 เซนติเมตร หลังใบผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า เนื้อใบบาง ใบ ราก และเถา รสจืดเย็น

 

เครื่องยา เถารางจืด

 

เครื่องยา ใบรางจืด

 

เครื่องยา ใบรางจืด

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
       ใบ  ปริมาณความชื้นไม่เกิน 9% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 23% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 5% w/w  สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 14% w/w  
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใบ ราก และเถา รสจืดเย็น ตำคั้น หรือเอารากฝนกับน้ำ หรือต้มเอาน้ำยาดื่มถอนพิษ แก้ไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ปวดหู ตำพอก แก้ปวดบวม เถาและใบ รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนต่างๆ ราก รสจืดเย็น แก้อักเสบ แก้ปวดบวม แก้เมาค้าง แก้อาการปวดหัวมึนหัวอันเนื่องมาจากพิษสุรา ถอนพิษสุรา พิษตกค้างในร่างกาย ใช้รากเข้ายารักษาโรคอักเสบและปอดบวม รากและเถา ใช้กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ รักษาพิษร้อนทั้งปวง ทั้งต้น รสจืดเย็น ถอนพิษยาเบื่อเมา หรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง พิษเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือยาฆ่าแมลง และพิษทั้งปวง  รักษาหอบหืดเรื้อรัง แก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ปรุงยาแก้มะเร็ง หมอยาแผนไทยใช้เพื่อช่วยจับสารพิษในตับหรือล้างพิษในตับ
           สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา: ใช้ ใบและราก ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ (ระบุว่ารากรางจืดมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า))
           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ ใบ แก้โรคเบาหวาน โดยใช้ใบประมาณ 58 ใบ มาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวรับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา
           ประเทศมาเลเซีย: ใช้ใบแก้ประจำเดือนผิดปกติ แก้ปวดบวม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.รับประทานครั้งละ 2-3 กรัม โดยชงกับน้ำร้อน 100-200 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือเมื่อมีอาการ
           2.นำใบรางจืดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปจำนวน 5-7 ใบ โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำดื่ม หรือน้ำซาวข้าว จำนวน 250 ซีซี หรือคั้นน้ำรางจืด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง หรือรับประทานเมื่อมีอาการ
           3.นำรากที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดรากเท่านิ้วก้อย ตัดความยาวเท่าที่มือจับ โขลกหรือฝนผสมกับน้ำสะอาด หรือน้ำซาวข้าว รับประทานครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง หรือรับประทานเมื่อมีอาการ

องค์ประกอบทางเคมี:
           ฟลาโวนอยด์, ฟีนอลิก, apigenin, cosmosin, delphinidin-3,5-di-O-beta-D-glucoside, chlorogenic acid, caffeic acid, lutein

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อไวรัสเริม ต้านการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ปกป้องตับ ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สารฆ่าแมลงในร่างกายลดลง ลดพิษของสารฆ่าแมลงออกาโนฟอสเฟต พาราควอท และพาราไธออนในหนู ป้องกันการเสื่อมของระบบประสาทจากพิษตะกั่ว
           สารสกัดน้ำ เอทานอล และอะซิโทน มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ โดยยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื่องจากสาร 2-aminoanthracene ได้ร้อยละ 87 เมื่อวิเคราะห์ด้วยแบคทีเรีย Salmonella typhimurium TA 98 และสามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ควิโนนรีดักเทส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการกำจัดเซลล์มะเร็งระยะเริ่มต้น ได้ตั้งแต่ 1.35-2.8 เท่า

 

การศึกษาทางคลินิก:
           ลดสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร

          รักษาผู้ป่วยพิษแมงดาทะเล รายงานผู้ป่วย 4 ราย กินยำไข่แมงดาทะเล อาการขึ้นกับปริมาณที่ได้รับ ทุกรายมีอาการชารอบปาก และคลื่นไส้อาเจียน อาการชาจะลามไปกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ที่เป็นอันตรายคือทำให้หายใจไม่ได้ ผู้ป่วย 2 รายหมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะที่เริ่มแสดงอาการตั้งแต่ 40 นาที จนถึง 4 ชั่วโมง หลังรับประทาน เนื่องจากพิษของแมงดาทะเล คือเทโทรโดทอกซินไม่มียาแก้พิษต้องรักษาตามอาการ หลังจากได้น้ำสมุนไพรรางจืด 50 มล. ทางหลอดสวนจมูก-กระเพาะอาหาร ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว และอาการดีขึ้นตามลำดับ ภายหลังจากได้รับน้ำสมุนไพร 40 นาที ผู้ป่วยอีกรายได้รับการกรอกน้ำรางจืดเช่นกัน ในขนาด 50 มล. ทุก 1 ชม. 5 ครั้ง ภายหลังจากได้รับน้ำสมุนไพร 5 ชม. ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว และอาการดีขึ้นตามลำดับ



การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันที่ป้อนหนูทดลองครั้งเดียว ทั้งขนาดปกติและขนาดสูง ไม่พบความผิดปกติใด ๆ และป้อนติดต่อกัน 28 วัน ขนาด 500 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ไม่พบอาการผิดปกติเช่นกัน แต่อาจทำให้น้ำหนัก ตับ ไต สูงกว่ากลุ่มควบคุม  ค่าชีวเคมีที่เกี่ยวกับไตสูงขึ้น และ AST สูงขึ้น

          การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดน้ำจากใบ โดยป้อนหนูแรทขนาด 20  200  1,000  2,000 มก./กก./วัน หรือคิดเป็น 1, 10, 50 และ 100 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคนเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว การกินอาหาร พฤติกรรม และสุขภาพทั่วไปของหนู อวัยวะภายในทั้งระดับมหพยาธิวิทยาและจุลพยาธิยังคงปกติ และไม่ทำให้เกิดพิษสะสม ไม่ทำให้หนูตาย


ข้อควรระวังในการใช้:
           1.ไม่ควรดื่มติดกันเป็นเวลานานเกิน 30 วัน
           2.ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
           3.ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานเนื่องจากอาจขับสารเคมี หรือตัวยาในร่างกายออก

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ รางจืด

...

Other Related รางจืด

ข้อมูล รางจืด จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


รางจืด การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids อันดับ: Lamiales วงศ์: Acanthaceae สกุล: Thunbergia สปีชีส์: T.  laurifolia ชื่อทวินาม Thunbergia laurifolia Lindl. รางจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia) เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาในวงศ์เหงือกปลาหมอ มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ รางจืดได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ"[1][2][3] มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่าง ๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ รางจืดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์) ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเรียวแหลม กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ส่วนดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ การปลูกเลี้ยง

นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา ให้เลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า สรรพคุณ

รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า จอลอดี่เดอ ตัดลำต้นเป็นชิ้นเล็กพกติดตัว เชื่อว่าป้องกันงูได้[4] อ้างอิง

↑ https://medthai.com/รางจืด/ ↑ http://campus.sanook.com/1371087/ ↑ https://www.doctor.or.th/article/detail/11960 ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ITIS 34350 เก็บถาวร 2004-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Burkill, I.H. (1966). “A Dictionary of the Economic Products of the Malay Peninsula. Volume II (I–Z)”. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Kuala Lumpur. Chan, E.W.C., Lim, Y.Y. (2006). “Antioxidant activity of Thunbergia laurifolia tea”. Journal of Tropical Forest Science 18 (2): 130–136. http://info.frim.gov.my/cfdocs/infocenter_application/jtfsonline/jtfs/v18n2/130-136.pdf[ลิงก์เสีย] . Kanchanapoom, T. et al. (2002). “Iridoid glucosides from Thunbergia laurifolia”. Phytochemistry 60: 769–771. doi:10.1016/S0031-9422(02)00139-5. NRM (2003). “Thunbergia: Blue trumpet vine”. Natural Resources and Mines, Queensland. http://www.nrm.qld.gov.au/pests/environmental_weeds/weed_info_series.html[ลิงก์เสีย] . Schonenberger, J. (1999). “Floral structure, development and diversity in Thunbergia (Acanthaceae)”. Botanical Journal of the Linnean Society 130: 1–36. Starr, F. et al. (2003). “Thunbergia laurifolia”. http://www.hear.org/starr/hiplants/reports/pdf/thunbergia_laurifolia.pdf. แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Thunbergia laurifolia ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thunbergia laurifolia ที่วิกิสปีชีส์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=รางจืด&oldid=10926977"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ รางจืด

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1607

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinases และ hyaluronidase ของสารสกัดใบรางจืดการศึกษาศักยภาพของสารสกัดใบรางจืดในการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอาง โดยทดสอบฤทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสื่อมหรือความแก่ของผิว ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinases (MMPs) และ hyaluronidase ของสารสกัดน้ำ และ 80% เอทานอลจากใบรางจืด พบว่าสารสกัดทั้ง 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เมื่อทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging และ lipid pe...

1609

ผลของชาใบรางจืดต่อความสมดุลของกลูโคสในร่างกายของอาสาสมัครสุขภาพดี
ผลของชาใบรางจืดต่อความสมดุลของกลูโคสในร่างกายของอาสาสมัครสุขภาพดีการศึกษาผลต่อสมดุลของกลูโคส (glucose homeostasis) ในร่างกาย และความปลอดภัยในการใช้ของชาใบรางจืดในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 20 คน อายุ 20-60 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ให้อาสาสมัคร จำนวน 10 คน ดื่มชาใบรางจืด ขนาด 9 ก./วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ชา 1 ถุง ประกอบด้วยผงใบรางจืด 1 ก.) หลังจากนั้นให้อาสาสมัครอีก 10 คนที่เหลือ ดื่มชาใบรางจืด ขนาด 12 ก./วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร พบว่าการดื่มชาใบรางจืดทั้ง ...

1236

ผลของรางจืดในการลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้างในเลือดของเกษตรกร
ผลของรางจืดในการลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้างในเลือดของเกษตรกรการศึกษาแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) ในเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารกำจัดแมลงตกค้างในกระแสโลหิต โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มทดลองให้รับประทานชาชงรางจืด ขนาด 1 ซอง วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 14 วัน กลุ่มควบคุม ให้รับประทานชาชงใบเตย (ชาหลอก) ขนาด 1 ซอง วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 14 วัน หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดตรวจหาสารพิษที่ตกค้างในเลือด พบว่ากลุ่มที่ได้...

865

การศึกษาความปลอดภัยของการรับประทานยาแคปซูลสารสกัดรางจืดในอาสาสมัครสุขภาพดี
การศึกษาความปลอดภัยของการรับประทานยาแคปซูลสารสกัดรางจืดในอาสาสมัครสุขภาพดี ระยะที่ 1การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี 10 คน (ชาย 5 หญิง 5) รับประทานสารสกัดน้ำใบรางจืด ขนาด 600 มก./วัน วันละ 1 ครั้งตอนเช้า นาน 14 วัน และทำการวัดผลระดับคะแนนด้านความทรงจำ การเรียนรู้ และค่าชีวเคมีในเลือด พบว่าไม่มีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางกายภาพ ผลระดับคะแนนด้านความทรงจำมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2.7 และ 2.4 จากค่าเริ่มต้นหลังรัประทานยา 14 วัน และหลังจากหยุดยา 14 วัน ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างจากครั้งแรกและอ...

1668

การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืด
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืดการศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) ของสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (callus culture) ของใบรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) และสารสกัดใบรางจืดด้วยน้ำเดือด เมทานอล และ 80% เมทานอล ทำการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ด้วยการบ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหนูแรท (rat skeleton muscle: L6 cell) ร่วมกับสารสกัดจากใบรางจืด ความเข้มข้น 100-400 มคก./มล. เป็นเวลา 2...

สมุนไพรอื่นๆ

154

เปราะหอม
เปราะหอม ชื่อเครื่องยาเปราะหอม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเปราะหอม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านหอม ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น หอมเปราะ เปราะหอมขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia galanga L. ชื่อพ้องAlpinia sessilis J.Koenig, Kaempferia humilis Salisb., Kaempferia latifolia Donn ex Hornem., Kaempferia marginata Carey ex Roscoe, Kaempferia plantaginifolia Salisb., Kaempferia procumbens Noronha ชื่อวงศ์Zingiberaceae ลักษ...

202

เทียนกิ่ง
เทียนกิ่ง ชื่อเครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเทียนกิ่ง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เทียนต้น เทียนไม้ เทียนกิ่งดอกขาว เทียนกิ่งดอกแดง เทียนย้อม เทียนย้อมมือ เทียนป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์Lawsonia inermis L. ชื่อพ้องAlcanna spinosa (L.) Gaertn., Casearia multiflora Spreng., Lawsonia speciosa L., Lawsonia spinosa L., Rotantha combretoides ชื่อวงศ์Lythraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:     &n...

1

กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง ชื่อเครื่องยากระเจี๊ยบแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยากระเจี๊ยบเปรี้ยว ได้จากใบประดับ และกลีบเลี้ยง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเจี๊ยบแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง ส้มปู ส้มพอดี แกงแดง ส้มตะเลงเครง ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus sabdariffa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Malvaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 เซนต...

101

มะขามป้อม
มะขามป้อม ชื่อเครื่องยามะขามป้อม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะขามป้อม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กันโตด(เขมร), กำทวด(ราชบุรี), มั่งลู่, สันยาส่า(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus emblica L. ชื่อพ้องCicca emblica (L.) Kurz, Diasperus emblica (L.) Kuntze, Dichelactina nodicaulis Hance, Emblica arborea Raf., E. officinalis Gaertn., Phyllanthus mairei H.Lév., P. mimosifolius Salisb., P. taxifolius ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ...

93

พิมเสน
พิมเสน ชื่อเครื่องยาพิมเสน ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน ได้จากสารสกัดจากเนื้อไม้พืชสกุล Dryobalanops. สารสกัดจากใบพิมเสนต้น ใบหนาด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพืชสกุล Dryobalanops, พิมเสนต้น, หนาดหลวง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae), พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth (วงศ์ Lamiaceae) ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์- ...

111

ยอ
ยอ ชื่อเครื่องยายอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยายอบ้าน ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยายอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะตาเสือ แยใหญ่ ยอบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifolia Linn. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปกลม หรือรูปทรงกระบอกมน ขนาด 3-10 ซม. เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวไม่เรียบ มีตาเป็นตุ่มๆ รอบผล ผลสดแก่สีขาวอมเขียว หรือออกเหลือง เมื่อแก่จัดมีสีขาวและมีกลิ่นเหม็น...

195

มะนาว
มะนาว ชื่อเครื่องยามะนาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะนาว ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ส้มมะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคใต้) โกรยซะม้า(เขมร-สุรินทร์) หมากฟ้า(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle ชื่อพ้องCitrus × acida Pers., C. × davaoensis (Wester) Yu.Tanaka, C. depressa var. voangasay Bory, C. × excelsa Wester, C. hystrix subsp. acida Engl., C. × javanica Blume, C. × lima Macfad., C. × limettioides Yu....

63

เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง ชื่อเครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเถาวัลย์เปรียงขาว ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา ชื่อวิทยาศาสตร์Derris scandens (Roxb.) Benth ชื่อพ้องBrachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia tim...

166

สารส้ม
สารส้ม ชื่อเครื่องยาสารส้ม ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหินส้ม ได้จากธาตุวัตถุ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์ ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             ผลึกก้อนใส หรือสีขาว มัวเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก หากสะตุแล้ว จะเป็นผงสีขาว (วิธีสะตุ นำสารส้มมาบดให้ละเอียด นำมาใส่หม้อดิน เอาตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี จึงยกลงจากไฟ นำไปปรุงยาได้) &nbs...

รางจืด สมุนไพรล้างพิษ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

รางจืด สมุนไพรล้างพิษ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

รางจืด สมุนไพรล้างพิษ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

View
วิธีต้มน้ำ รางจืด และการใช้อย่างถูกวิธี

วิธีต้มน้ำ รางจืด และการใช้อย่างถูกวิธี

วิธีต้มน้ำ รางจืด และการใช้อย่างถูกวิธี

View
อย่ากินรางจืด..!! หากยังไม่รู้เรื่องนี้ สมุนไพร“ล้างพิษ” ใครบ้าง?ไม่ควรกิน  | Nava DIY

อย่ากินรางจืด..!! หากยังไม่รู้เรื่องนี้ สมุนไพร“ล้างพิษ” ใครบ้าง?ไม่ควรกิน | Nava DIY

อย่ากินรางจืด..!! หากยังไม่รู้เรื่องนี้ สมุนไพร“ล้างพิษ” ใครบ้าง?ไม่ควรกิน | Nava DIY

View
ล้างสารพิษตกค้าง ในเลือด ตับ ไต ไส้ พุง ! "รางจืด" สุดเจ๋ง ยาถอนพิษชั้นยอดจากธรรมชาติ | Nava DIY

ล้างสารพิษตกค้าง ในเลือด ตับ ไต ไส้ พุง ! "รางจืด" สุดเจ๋ง ยาถอนพิษชั้นยอดจากธรรมชาติ | Nava DIY

ล้างสารพิษตกค้าง ในเลือด ตับ ไต ไส้ พุง ! "รางจืด" สุดเจ๋ง ยาถอนพิษชั้นยอดจากธรรมชาติ | Nava DIY

View
"รางจืด" สุดยอดสมุนไพรล้างพิษ : สรรพคุณและข้อควรระวัง

"รางจืด" สุดยอดสมุนไพรล้างพิษ : สรรพคุณและข้อควรระวัง

"รางจืด" สุดยอดสมุนไพรล้างพิษ : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
ใบรางจืดสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ

ใบรางจืดสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ

ใบรางจืดสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ

View
สมุนไพร "รางจืด" มีคุณสมบัติในการรักษา COVID-19 หรือไม่ : ไขข้อข้องใจ ภัยโควิด-19

สมุนไพร "รางจืด" มีคุณสมบัติในการรักษา COVID-19 หรือไม่ : ไขข้อข้องใจ ภัยโควิด-19

สมุนไพร "รางจืด" มีคุณสมบัติในการรักษา COVID-19 หรือไม่ : ไขข้อข้องใจ ภัยโควิด-19

View
สมุนไพรพื้นบ้านขับสารเสพติดพิษสุราเรื้อรังได้ดีมาก

สมุนไพรพื้นบ้านขับสารเสพติดพิษสุราเรื้อรังได้ดีมาก

สมุนไพรพื้นบ้านขับสารเสพติดพิษสุราเรื้อรังได้ดีมาก

View
เช็คด่วน!! รับประทาน"รางจืด"ประจำ ต้องระวัง คนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องนี้..| Nava DIY

เช็คด่วน!! รับประทาน"รางจืด"ประจำ ต้องระวัง คนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องนี้..| Nava DIY

เช็คด่วน!! รับประทาน"รางจืด"ประจำ ต้องระวัง คนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องนี้..| Nava DIY

View
7 อาการ เอาอยู่!! รีบหารางจืดมากิน ได้ผลเกิดคาด..ยอดสมุนไพรล้างพิษ| Nava DIY

7 อาการ เอาอยู่!! รีบหารางจืดมากิน ได้ผลเกิดคาด..ยอดสมุนไพรล้างพิษ| Nava DIY

7 อาการ เอาอยู่!! รีบหารางจืดมากิน ได้ผลเกิดคาด..ยอดสมุนไพรล้างพิษ| Nava DIY

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับรางจืด
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่