ย่านางแดง
ชื่อเครื่องยา | ย่านางแดง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เถา ราก ใบ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ย่านางแดง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Bauhinia strychnifolia Craib. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ไม้เถาเนื้อแข็ง เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง ผิวเถาสีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง รากมีผิวขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เถา รากและใบ มีรสฝาด หวาน เย็น
เครื่องยา เถาและรากย่านางแดง
เครื่องยา ใบย่านางแดง
เครื่องยา รากและเถาย่านางแดง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ ใบ เถา และราก สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า และใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม ใบและเถา ต้มน้ำดื่ม ช่วยลดพิษยาฆ่าแมลง
ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี: ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี