Menu

กระวานไทย

ชื่อเครื่องยา

กระวานไทย

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี, เมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กระวานไทย

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Amomum krervanh Pierre ex Gagnep

ชื่อพ้อง

Amomum verum

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลกลม ติดเป็นพวงราว 10-20 ผล เปลือกผิวเกลี้ยง มองเห็นเป็นพู แห้งและแข็ง ผิวเปลือกมีริ้วตามยาว เรียงตัวจากฐานไปยอด มีสีขาวนวล ขนาดผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร หัวท้ายผลมีจุก แบ่งเป็นพู 3 พู ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 12-18 เมล็ด เมล็ดแก่มีสีน้ำตาลไหม้ มีเยื่อบางๆกั้น ทั้งผล และเมล็ด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลิ่นคล้ายการบูร รสเผ็ด เย็น

 

เครื่องยา กระวานไทย

 

เครื่องยา กระวานไทย

 

เครื่องยา กระวานไทย

 

เครื่องยา กระวานไทย

 

 

ช่อผล กระวานไทย

 

 

 

ช่อผล กระวานไทย


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ความชื้นไม่เกิน 11% w/w  ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 1 % w/w  ปริมาณน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 5 % w/w  เภสัชตำรับจีนระบุปริมาณสาร cineol ไม่น้อยกว่า 3 % w/w  
       
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ผลแก่ รสเผ็ดร้อน  กลิ่นหอม  ใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลม และบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงกำลัง ขับโลหิต  แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ  แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ  แก้ลมในลำไส้ เจริญอาหาร  รักษาโรครำมะนาด  แก้ลมสันนิบาต  แก้สะอึก แก้อัมพาตรักษาอาการเบื่ออาหาร  คลื่นไส้  อาเจียน เมล็ด  แก้ธาตุพิการ  อุจจาระพิการ  บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง (คลื่นไส้อาเจียน)   เช่น  มะขามแขก
           พิกัดยาไทย ที่มีกระวานเป็นส่วนประกอบ คือ พิกัดตรีธาตุ ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้  พิกัดตรีทุราวสา ประกอบด้วย ผลกระวาน ผลโหระพาเทศ ผลราชดัด เป็นยาแก้เสมหะ แก้ลม บำรุงน้ำดี แก้พิษตานซาง

           บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผลกระวานไทย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตำรับยา ยาธาตุบรรจบ” ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ขับลม  แก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง
           ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล (0.6-2 กรัม) ตากแห้งบดเป็นผง  รับประทาน  ครั้งละ 1-3 ช้อนชา  โดยนำไปต้มกับน้ำ  1 ถ้วยแก้ว  เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว  รับประทานครั้งเดียว หรือนำไปชงกับน้ำอุ่นดื่ม

องค์ประกอบทางเคมี:
           ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (essential oil)  5-9%  ซึ่งมีองค์ประกอบ  camphor, myrcene, limonene, linalool, cineol , bornyl  acetate , 1,8-cineol, beta-pinene, alpha-pinene, p-cymene, car-3-ene, terpinen-4-ol, alpha-terpineol, thujone, (E)-nuciferol, alpha-santalol, farnesol isomer, alpha-bisabolol, cinnamaldehyde, (Z)-alpha-trans- bergamotol, safrole, cis-laceol, alpha-curcumene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

           ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย

           การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย ของสารบริสุทธิ์ 7 ชนิดที่แยกได้จากเมล็ดกระวานไทยซึ่งเป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีน 4 ชนิด ฟลาโวนอยด์ 1 ชนิด และคาดว่าเป็นสารประเภทไดเทอร์ปีน 2 ชนิด (ยังไม่ทราบโครงสร้างที่แน่นอน) พบว่าโมโนเทอร์ปีน 3 ชนิด คือ เมอร์ทีนาล เมอร์ทีนอล และ ทราน-ไพโนคาร์วีออล สารดังกล่าวข้างต้น (ยกเว้นฟลาโวนอยด์) ให้ค่า EC50(ความเข้มข้นของยาที่สามารถฆ่าเชื้อได้ 50%) อยู่ในช่วง 10 -5- 10 –8 กรัมต่อมิลลิลิตร (จงดี, 1993)

          ฤทธิ์ยับยั้งภูมิคุ้มกัน

          การทดสอบสารสกัดน้ำของผลกระวาน ในการยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์  (การทำงานของคอมพลีเมนต์นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิดพยาธิสภาพในผู้ป่วยโรคภูมิต้านทานตนเอง การทดลองนี้จึงสนใจที่จะศึกษาสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์ในการทำให้เม็ดเลือดแดงแกะแตก) โดยนำสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำ จำนวน 53 ชนิด รวมทั้งกระวาน นำพืชมาทำให้แห้งแล้วบดละเอียด น้ำหนัก 1 กรัม ผสมกับน้ำกลั่น 20 มล. ต้มให้เดือดจนกระทั่งเหลือปริมาตรประมาณ 4 มล. นำไปกรอง และปั่นเอาน้ำใสส่วนบนไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อนใช้   แล้วทำการทดสอบโดยผสมสารสกัดสมุนไพรกับซีรัม (คอมพลีเมนต์) แล้วเติมเม็ดเลือดแดงแกะที่ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีแล้ว ดูผลการแตกของเม็ดเลือดแดงแกะ พบว่ากระวานสามารถยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์ได้ 95% (กานต์ธีรา, 1998)

 

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบความเป็นพิษ  พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1)  เข้าใต้ผิวหนังหรือป้อนหนูถีบจักร  ในขนาด 10 ก/กก (ขนาดที่ทดลองเป็น 16,667 เท่า ของที่ใช้ในตำรับยา) ไม่พบพิษ  (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

           การศึกษาความเป็นพิษของเมล็ดกระวานไทย พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดเมล็ดกระวานไทยซึ่่งสกัดด้วย diluted alcohol:glycerol (95:5) ในขนาดความเข้มข้นของสารสกัด 0.5 ก./มล. แก่หนูขาวและหนูถีบจักรทั้งสองเพศในขนาดสูงถึง 10 มก./กก. ครั้งเดียว ไม่มีสัตว์ทดลองตาย หนูขาวที่ป้อนด้วยสารสกัดขนาด 2 มก./กก./วัน นาน 30 วัน ไม่พบความผิดปกติใดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนความเป็นพิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเมล็ดกระวานไทยเมื่อป้อนให้หนูถีบจักรได้ค่าความเข้มข้นที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 2.14 มล./กก. หรือเทียบได้กับเมล็ดกระวานไทย 43 ก./กก. จากผลการทดลองที่ได้แสดงว่าเมล็ดกระวานไทยค่อนข้างปลอดภัย (สมใจ และคณะ, 1995)

 

เอกสารอ้างอิง:

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.

2. กานต์ธีรา สิงห์คำ.การศึกษาสมุนไพรยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์. โครงการพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.1998.

3. จงดี นิละนนท์. การค้นคว้าสารต้านมาลาเรียจากเมล็ดกระวานขาวไทย.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 1993.

4. สมใจ นครชัย, ยุวดี วงษ์กระจ่าง, ปราณี ใจอาจ, พิสมัย ทิพย์ธนทรัพย์, ปัญญา เต็มเจริญ.พิษวิทยาของเมล็ดกระวานไทย.วารสารสมุนไพร 1995;2(1) :7-11

 

ข้อมูลตำรับยาธาตุบรรจบ : www.thai-remedy.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ กระวานไทย

...

Other Related กระวานไทย

ข้อมูล กระวานไทย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


กระวานไทย การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ชั้น: Liliopsida อันดับ: Zingiberales วงศ์: Zingiberaceae สกุล: Amomum สปีชีส์: A.  testaceum ชื่อทวินาม Amomum testaceum Ridl. ชื่อพ้อง Amomum krervanh Pierre ex Gagnep. กระวานไทย หรือ กระวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amomum testaceum) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันท์[1] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15–25 เซนติเมตร ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6–15 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 5–15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ ช่อดอกกระวานจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเล็กน้อย และเจริญเติบโตเป็นผลลักษณะเป็นพวง เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง ผลกลมเปลือกเกลี้ยงเป็นพู ผลมีสีขาวนวล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่จำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์

เมล็ดกระวานตัดขวางจะพบชั้นอีพิเดอร์มิสของเปลือกหุ้มเมล็ด ถัดเข้ามาเป็นชั้นเซลล์ที่มีรงควัตถุ เซลล์ที่มีน้ำมันและพาเรงไคมา พบสเคลอเรนไคมาแถวเดียวโดยมีซิลิกาสะสม ชั้นเพอริสเปิร์มมีเม็ดแป้งขนาดเล็กปนอยู่กับผลึกแคลเซียมออกซาเลต การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทย พบกระวานขึ้นอยู่ตามป่าที่มีความชื้นสูงและมีไม้ใหญ่ปกคลุม เช่น แถบเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ในที่อื่น ๆ เช่น บ้านปากทวาร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประวัติ

ชาวยุโรปรู้จักกระวานไทยมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ในนามของ Amomum มีรายงานว่ากรุงเทพมหานครเป็นแหล่งใหญ่ของกระวาน มีการส่งกระวานเป็นสินค้าส่งออกทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1857 ได้มีการซื้อขายกระวานที่ตลาดที่กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1871 มีการส่งกระวานจากไทยไปยังจีนและสิงคโปร์ น้ำหนักถึง 623,733 ปอนด์ กระวานไทยได้เข้าไปอยู่ในตำรายา French Codex และ Dublin Pharmacopeia นอกจากนี้มีรายงานว่ากระวานที่ส่งออกไปจากประเทศไทยใช้ชื่อ 2 ชื่อ คือ Bastard Cardamoms (เร่ว) และ Best Cardamoms (กระวาน) ผลผลิตในชื่อหลังได้จากต้นกระวานที่ปลูกที่ภูเขาของจังหวัดจันทบุรีและตราด คือ A. testaceum การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ความชื้นลดลง การเพาะปลูกกระวานก็ลดลงด้วย การนำไปใช้ประโยชน์

สมุนไพร

ผลแก่ รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ตำรายาไทยใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลมและบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงกำลัง ขับโลหิต แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมในลำไส้ เจริญอาหาร รักษาโรครำมะนาด แก้ลมสันนิบาต แก้สะอึก แก้อัมพาต รักษาอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน กระวานไทยเป็นส่วนประกอบในพิกัดยาไทย คือ พิกัดตรีธาตุ เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้ พิกัดตรีทุราวสา เป็นยาแก้เสมหะ แก้ลม บำรุงน้ำดี แก้พิษตานซาง[1] ราก แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ เหง้าอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย หัวและหน่อ ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง ใบ แก้ลมสันนิบาด ขับผายลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม จุกเสียด บำรุงกำลัง สารเคมีที่พบ

ผลกระวานไทยมีกลิ่นหอมคล้ายการบูรและพิมเสน เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 4.5 ประกอบด้วย Camphor, α-Pinene, Myrcene, Limonene, Linalool, Borneol และ α-Terpineol Limonene, Myrcene เป็นองค์ประกอบในปริมาณสูงกว่าชนิดอื่น น้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ 1:1 สารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอล มีผลลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ซึ่งพบว่าสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ cineole น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa สารกลุ่มเทอร์พีน และ diterpene peroxide ที่แยกบริสุทธิ์จากสารสกัดเฮกเซน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum[1] ด้านอื่น ๆ

ผลกระวานไทยใช้แต่งกลิ่นอาหารได้หลายชนิด โดยใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริกแกงเผ็ด แกงกะหรี่ มัสมั่น ใช้แต่งกลิ่นเหล้า ทางจังหวัดจันทบุรีใส่หน่อและใบลงในแกงป่า เพิ่มรสซ่า เผ็ดร้อน และกลิ่นหอม หั่นหน่อใส่ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดกบ[2] สารสกัดน้ำ-เอทานอลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยมีผลกระตุ้นการดูดกลับของกลูโคส และเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน สารสกัดจากผลและเมล็ดที่สกัดด้วยเอทานอลให้ยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[3] อ้างอิง

↑ 1.0 1.1 1.2 กระวานไทย ↑ แกงป่า-ผัดเผ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550 ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428 http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99 เก็บถาวร 2011-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_1.htm นิจศิริ เรืองรังษี. 2542. เครื่องเทศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 126 หน้า. เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กระวานไทย&oldid=9612959"
.

สมุนไพรอื่นๆ

140

หนาด
หนาด ชื่อเครื่องยาหนาด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหนาด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์Blumea balsamifera (L.) DC. ชื่อพ้องBlumea grandis DC., Baccharis salvia ชื่อวงศ์Asteraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม กว...

81

ปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกน้อย ชื่อเครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาว ตรึงบาดาล หยิกบ่ถอง ชื่อวิทยาศาสตร์Eurycoma harmandiana Pierre ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวน...

6

กระดังงาไทย
กระดังงาไทย ชื่อเครื่องยากระดังงาไทย ชื่ออื่นๆของเครื่องยากระดังงา ได้จากดอกแก่จัด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระดังงาไทย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ กระดังงอ สะบันงาต้น สะบานงา ชื่อวิทยาศาสตร์Cananga odorata (Lam.) Hook. f.& Thomson ชื่อพ้องCananga mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King, Canangium mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King , Fitzgeral...

130

ส้มโอมือ
ส้มโอมือ ชื่อเครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มมือ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus medica L. ชื่อพ้องAurantium medicum (L.) M. Gómez, Citrus alata (Tanaka) Yu.Tanaka, , C. balotina Poit. & Turpin, C. bicolor Poit. & Turpin, C. bigena Poit. & Turpin, C. cedra Link, C. cedrata Raf., C. crassa Hassk., C. fragrans Salisb., C. gongra Raf., C. hassaku Yu.Tanaka, C. hiroshimana Yu.Tanaka, C. kizu Yu.Tanak...

151

ขมิ้นอ้อย
ขมิ้นอ้อย ชื่อเครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาขมิ้นอ้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ขมิ้นอ้อย (กลาง),ขมิ้นขึ้น (เหนือ),แฮ้วดำ (เชียงใหม่), ละเมียด (เขมร) ขมิ้นเจดีย์ ว่านเหลือง ขมิ้นหัวขึ้น สากกะเบือละว้า ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe ชื่อพ้องAmomum latifolium Lam., Amomum zedoaria Christm., Costus luteus Blanco, Costus nigricans Blanco, Curcuma malabarica Velay., Amalraj & Mural., Curcuma pallida Lou...

143

หมาก
หมาก ชื่อเครื่องยาหมาก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหมากเมีย ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหมาก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หมากเมีย มะ เค็ด สะลา พลา ปีแน สีซะ ชื่อวิทยาศาสตร์Areca catechu L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Palmae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปไข่หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ภายในมีเมล็ดเดียว หมากดิบหรือหมากสด เปลือกผลมีสีเขียวเข้มและเมล็ดนิ่มถึงค่อนข้างแข็ง หมากแห้ง ...

27

โกฐเขมา
โกฐเขมา ชื่อเครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐหอม, ซังตุ๊ก, ชางจู๋ ชื่อวิทยาศาสตร์Atractylodes lancea (Thunb.) DC. ชื่อพ้องAcarna chinensis Bunge, Atractylis chinensis (Bunge) DC., Atractylis erosodentata (Koidz.) Arènes, Atractylis lancea Thunb., Atractylis lyrata (Siebold & Zucc.) Hand.-Mazz., Atractylis separata L.H.Bailey, Atractylodes chinensis (Bunge) Koidz., Atractylodes er...

123

โลดทะนงแดง
โลดทะนงแดง ชื่อเครื่องยาโลดทะนงแดง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จาก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโลดทะนงแดง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์); ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี); ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา); ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์); นางแซง (อุบลราชธานี); โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์);หนาดคำ (เหนือ) หัวยาเข้าเย็นเนิน ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ชื่อวิทยาศาสตร์Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Euphorbiaceae ...

74

น้อยหน่า
น้อยหน่า ชื่อเครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเมล็ดจากผลสุก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาน้อยหน่า ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง ชื่อวิทยาศาสตร์Annona squamosa L. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ ...

กระวานไทย กระวานเทศ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ขับลม สมุนไพรราคาแพง

กระวานไทย กระวานเทศ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ขับลม สมุนไพรราคาแพง

กระวานไทย กระวานเทศ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ขับลม สมุนไพรราคาแพง

View
ประโยชน์ของกระวาน | Best cardamom | กินผักเป็นยา

ประโยชน์ของกระวาน | Best cardamom | กินผักเป็นยา

ประโยชน์ของกระวาน | Best cardamom | กินผักเป็นยา

View
ปลูกกระวานในสวนยาง : ชุมชนทั่วไทย (22 ส.ค. 62)

ปลูกกระวานในสวนยาง : ชุมชนทั่วไทย (22 ส.ค. 62)

ปลูกกระวานในสวนยาง : ชุมชนทั่วไทย (22 ส.ค. 62)

View
สมุนไพรดอกกระวานตำนาน 200ปี

สมุนไพรดอกกระวานตำนาน 200ปี

สมุนไพรดอกกระวานตำนาน 200ปี

View
กระวานไทย สมุนไพรไทย | มหัศจรรย์สมุนไพร | สมุนไพรใกล้ตัว

กระวานไทย สมุนไพรไทย | มหัศจรรย์สมุนไพร | สมุนไพรใกล้ตัว

กระวานไทย สมุนไพรไทย | มหัศจรรย์สมุนไพร | สมุนไพรใกล้ตัว

View
เริ่มรับประทานกานพลู  2 กลีบต่อวัน ดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ

เริ่มรับประทานกานพลู 2 กลีบต่อวัน ดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ

เริ่มรับประทานกานพลู 2 กลีบต่อวัน ดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ

View
มหัศจรรย์สมุนไพร ตอน 5 กระวานไทย

มหัศจรรย์สมุนไพร ตอน 5 กระวานไทย

มหัศจรรย์สมุนไพร ตอน 5 กระวานไทย

View
กระวานไทย [EP.1]

กระวานไทย [EP.1]

กระวานไทย [EP.1]

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับกระวานไทย
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่