ม้ากระทืบโรง
ชื่อเครื่องยา | ม้ากระทืบโรง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เถา เนื้อไม้ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ม้ากระทืบโรง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) | เดื่อเครือ(เชียงใหม่) ม้าทะลายโรง(อีสาน) ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร(ระนอง) พญานอนหลับ(นครสวรรค์) มาดพรายโรง(โคราช) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ficus foveolata Wall. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Moraceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ไม้เถาขนาดใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลเทา เปลือกนอกสีน้ำตาลกลางอมเขียว มีตุ่มหนามมนจำนวนมาก เปลือกในสีขาวอมเหลือง มียางสีขาว เมื่อทิ้งไว้เนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มสลับขาวอมเหลือง เถา รสเย็นขื่น ทั้งต้นรสขมเล็กน้อย
เครื่องยา ม้ากระทืบโรง
เครื่องยา ม้ากระทืบโรง
เครื่องยา ม้ากระืทืบโรง
เครื่องยา ม้ากระทืบโรง
เครื่องยาม้ากระทืบโรง
เครื่องยา ม้ากระทืบโรง
เครื่องยา ม้ากระทืบโรง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เถา รสเย็นขื่น ดองสุราหรือต้มดื่มบำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว แก้ปวดฟัน บำรุงความกำหนัด บำรุงธาตุ แก้ประดงเลือด ที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย แก้ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด
ยาพื้นบ้าน: ใช้ ลำต้น ดองเหล้าดื่ม บำรุงกำลัง แก้เลือดเสีย เลือดค้าง ซูบซีด
ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นคุย ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ลำต้นพบสารกลุ่ม eudesmane sesquiterpene ได้แก่ foveolide A,foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol, 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol สารกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B, สารกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
สาร foveolide A จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้, เซลล์มะเร็งตับ, เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ 200 ไมโครโมลาร์
สาร foveolideB จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี