Menu

มะนาว

ชื่อเครื่องยา

มะนาว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เปลือกผล น้ำในผล เมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะนาว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ส้มมะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคใต้) โกรยซะม้า(เขมร-สุรินทร์) หมากฟ้า(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle

ชื่อพ้อง

Citrus × acida Pers., C. × davaoensis (Wester) Yu.Tanaka, C. depressa var. voangasay Bory, C. × excelsa Wester, C. hystrix subsp. acida Engl., C. × javanica Blume, C. × lima Macfad., C. × limettioides Yu.Tanaka, C. × limonellus Hassk., C. × macrophylla Wester, C. medica var. acida Brandis, C. medica f. aurantiifolium (Christm.) M.Hiroe, C. × montana (Wester) Yu.Tanaka, C. × nipis Michel, C. × notissima Blanco, C. × papaya Hassk., C. × pseudolimonum Wester, C. × spinosissima G.Mey., C. × voangasay (Bory) Bojer, C. × webberi var. montana Wester, Limonia × aurantiifolia Christm.

ชื่อวงศ์

Rutaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลกลม สด ฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5-5 ซม. เปลือกบาง เรียบ สีเขียวเป็นมัน  มีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไปที่ผิวผล  เมื่อสุกสีเหลือง ภายในผลแบ่งเป็นห้องแบบรัศมีมีถุงเป็นเยื่อบาง ๆ รูปยาวเรียวขนาดเล็กจำนวนมาก ภายในมีน้ำรสเปรี้ยวบรรจุอยู่ เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด น้ำจากผลมะนาวที่โตเต็มที่  มีรสเปรี้ยวจัด เปลือกผลมีรสขม

 

เครื่องยา ผิวมะนาว

 

ผลมะนาว

 

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว ช่วยลดอาการไอ  ขับเสมหะ เนื่องจากในน้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด  มีรสเปรี้ยวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลาย  ทำให้ชุ่มคอ  จึงช่วยลดอาการไอได้  และรสเปรี้ยวยังช่วยกัดเสมหะให้หลุดออกมาด้วย ใช้เป็นน้ำกระสายยาผสมยากวาดคอเด็กแก้ไข้หวัด  น้ำมะนาวนำมาผสมกับเกลือและน้ำตาลทรายแดง จิบเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ กินเป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน กัดเถาดานในท้อง ล้างเสมหะในคอ ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย ดับกลิ่นเหล้า กลิ่นรักแร้ ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง เป็นยาบำรุง แก้น้ำกัดเท้า แก้สิวฝ้า ใส่แผลสดห้ามเลือด ป้องกันการเป็นหวัด ทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทำให้ชุ่มคอ ชื่นใจ ช่วยระบาย นอกจากสรรพคุณทางโภชนาการ ยังสามารถใช้อย่างอื่นๆ เช่น คั้นเอาน้ำชโลมหลังจากสระผมด้วยแชมพู ทำให้ผมดำสลวยเป็นเงางามแล้ว หากผ่าซีก ถูใบหน้า ลำคอเบาๆทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก เมื่อทำบ่อยๆ จะทำให้ใบหน้าอ่อนนุ่ม สดใส และป้องกันสิว ผลสดคั้นเอาน้ำทาบริเวณถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัดจะลดอาการอักเสบของแผล  ผิวผล สีเขียวสด ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ลมเวียน แก้ปวดท้อง จุกเสียดแน่น เป็นยาขับเสมหะ แก้เบื่ออาหาร  ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ  น้ำมันระเหยง่ายจากผิวผลมะนาว ใช้แต่งกลิ่น เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหาร เป็นยากระตุ้น ผิวผลสดใช้ขยี้สูดดม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ผลดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
           ตำรายาไทยผิวมะนาวจัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มโอ ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะกรูด และผิวมะนาว (หรือผิวส้มโอมือ) มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผิวมะนาว ในยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของผิวมะนาว อยู่ใน ”เปลือกส้ม 8 ประการ” ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           อาการไอ  ระคายคอจากเสมหะ      
                   ใช้น้ำจากผลที่โตเต็มที่  เติมเกลือเล็กน้อย  จิบบ่อย ๆ หรือ จะทำน้ำมะนาวเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย
           อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด       
                   ใช้เปลือกผลสด 1/2-1 ผล ฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำขณะมีอาการ หรือหลังอาหาร 3 เวลา

องค์ประกอบทางเคมี:
           น้ำจากผลมีกรด citric acid, malic acid, ascorbic acid,  ผิวมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่มาจากการกลั่นผิวผล ร้อยละ 0.3-0.4 ประกอบด้วยสารต่าง ๆ ได้แก่  d-limonene (42-64%), alpha-berpineol (6.81%), bergamotene ผสมกับ terpinen-4-ol (3%),  alpha-pinene (1.69%), geraniol (0.31%), linalool, terpineol, camphene, bergapten (furanocoumarin)

           เมล็ดมะนาว พบองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ limonin, limonexic acid, isolimonexic acid, β-sitosterol glucoside, limonin glucoside

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:    

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

      การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมทานอลจากผิวผล และใบมะนาว ใช้การทดสอบในหลอดทดลองด้วยวิธีทางเคมี ในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) radical scavenging assay และ ABTS•+ ( 2,2'-azino-bis(3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) radical cation, วิธี β-carotene bleaching test (เพื่อดูการปกป้อง β-carotene จากอนุมูล linoleate ของสารทดสอบซึ่งแสดงถึงการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของไขมันได้) และ วิธี ferric reducing ability power assay (FRAP) เพื่อศึกษาสมบัติในการรีดิวส์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ผลการทดสอบด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดเมทานอลจากใบมะนาว และผิวผลมะนาวจาก 3 แหล่งในประเทศอิตาลี สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า IC50 ของสารสกัดใบ และผิวผลอยู่ระหว่าง 75.4±1.5 ถึง 89.7±2.7 และ 78.3±1.8 ถึง 93.8±2.5 µg/mL ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี ABTS assay พบว่าการสกัดใบ และผิวผลมะนาวด้วยเมทานอล มีค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS โดยมีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 21.9±1.8 ถึง 28.8±2.5 และ 18.7±1.1 ถึง 41.4±1.5 µg/mL ตามลำดับ (สารมาตรฐาน ascorbic acid มีค่า IC50 ในการยับยั้ง DPPH และ ABTS เท่ากับ 5.0±0.8 และ 0.96±0.03 µg/mL ตามลำดับ)  การทดสอบด้วยวิธี β-carotene bleaching test พบว่าสารสกัดที่ออกฤทธิ์ดีคือ สารสกัดใบด้วยเฮกเซน และสารสกัดผิวผลด้วยเฮกเซน โดยสามารถยับยั้งการการฟอกจางสี β-carotene  ที่เวลา 30 นาที (แสดงถึงการมีฤทธิ์ปกป้อง β-carotene จากการทำลายของอนุมูลอิสระได้) มีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 8.5±0.5 ถึง 15.4±0.9 และ 9.7±0.7 ถึง 12.7±0.4 µg/mLตามลำดับ (สารมาตรฐาน propyl gallate มีค่า IC50 เท่ากับ 1.0±0.04µg/mL)  การทดสอบด้วยวิธี FRAP (การ reduce Fe3+เป็น Fe2+)  พบว่าสารสกัดเฮกเซนออกฤทธิ์ได้ดีกว่า โดยสารสกัดเฮกเซนจากผิวผลและใบ, สารสกัดเมทานอลจากผิวผลและใบ และสารมาตรฐาน BHT มีปริมาณของ Fe2+ ที่เกิดจากการรีดิวส์อยู่ในช่วง 159.2±3.8 ถึง 205.4±4.0, 112.1±2.2 ถึง 146.0±3.5 และ 63.2±4.5 µg/mL ตามลำดับ (Loizzo, et al., 2012)  โดยสรุปสารสกัดเมทานอลจากใบ และผิวผลมะนาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในทุกการทดสอบ

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส

      ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ที่เกี่ยวข้องกับความจำ เอนไซม์นี้ มี 2 ชนิดหลัก คือ AChE และ BChE  โดย BChE จะพบมากในระยะท้ายของโรคอัลไซเมอร์ การยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส  จะทำให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับความจำในสมองดีขึ้น และเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์) ทำการทดสอบในหลอดทดลองด้วยวิธีทางเคมี คือ Ellman’s method ผลการทดสอบการยับยั้ง AChE พบว่าสารสกัดเฮกเซนจากผิวผลออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 91.4±1.4 µg/mL การยับยั้ง BChE พบว่าสารสกัดเฮกเซนจากใบออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 84.0±2.9 µg/mL (สารมาตรฐาน physostigmine มีค่า IC50ในการยับยั้ง AChE และ BChE เท่ากับ 0.2±0.02 และ 2.4±0.04 µg/mLตามลำดับ) (Loizzo, et al., 2012)  

ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่

      รายงานการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี จากผิวผลมะนาวพบว่ามีน้ำมันหอมระเหยอย่างน้อย 22 ชนิด โดยมีองค์ประกอบหลัก คือ limonene (30%) และ dihydrocarvone (31%)  ทดสอบสารสกัดจากมะนาวขนาด 100 µg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ SW-480 ได้ร้อยละ 78 ภายหลังจาก 48 ชั่วโมง ที่สัมผัสกับสารทดสอบ และทำให้ DNA แตกหักเสียหาย จากการศึกษาต่อเนื่องได้ค้นพบสารกลุ่มคูมาริน จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 5-geranyloxy-7-methoxycoumarin, limettin และ isopimpinellin เมื่อทดสอบในขนาด 25 μM พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ SW-480 ได้ร้อยละ 67 ภายหลังจาก 72 ชั่วโมง ที่สัมผัสกับสารทดสอบ (Narang and Jiraungkoorskul, 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งตับอ่อน

       รายงานการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในน้ำมะนาว พบว่ามี rutin, neohesperidin, hesperidin, hesperetin และสารกลุ่ม limonoid ได้แก่ limonexic acid, isolimonexic acid และ limonin การทดสอบน้ำมะนาวในขนาด 100 µg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับอ่อน Panc-28 cancer ได้ร้อยละ 73-89 ภายหลังจาก 96 ชั่วโมงที่สัมผัสกับสารทดสอบ  จากการศึกษาต่อเนื่องได้ค้นพบองค์ประกอบทางเคมีจากเมล็ดมะนาว ได้แก่ limonin, limonexic acid, isolimonexic acid, β-sitosterol glucoside และ limonin glucoside การทดสอบสารที่แยกได้จากมะนาวพบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับอ่อน Panc-28 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 18–42µMภายหลังจาก 72 ชั่วโมง ที่สัมผัสกับสารทดสอบ (Narang and Jiraungkoorskul, 2016)

ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเต้านม

       รายงานการศึกษาน้ำมะนาวในขนาดความเข้มข้น 125–500 µg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม MDA-MB-453 ได้ ภายหลังจาก 24 ชั่วโมง ที่สัมผัสกับสารทดสอบ  การศึกษาสารสกัดจากผิวมะนาว ขนาด 6 และ 15 µg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 ในระยะ G1 และ G2/M ได้ภายหลังจาก 48 ชั่วโมงที่สัมผัสกับสารทดสอบ (Narang and Jiraungkoorskul, 2016)

ฤทธิ์ต้านมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

        มีรายงานว่าสาร limonin ที่แยกได้จากเมล็ดมะนาวสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง L5178Y lymphoma cells ได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 8.5–9.0 µg/ml (Narang and Jiraungkoorskul, 2016)

ฤทธิ์ต้านเชื้อกลุ่มสแตปฟิโลคอคไคที่แยกได้จากสุนัข

       การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมะนาว และน้ำมะกรูด ต่อเชื้อกลุ่มสแตปฟิโลคอคไค ที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบ โคแอคกุเลสที่เป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคผิวหนังอักเสบในสุนัข จำนวน 15 ไอโซเลต (isolates) โดยมี S. aureus ATCC 25923 สายพันธุ์มาตรฐานเป็นเชื้อควบคุม ทำการทดสอบควบคู่ไปด้วยโดยวิธีเจือจางในอาหารเหลว ใน 96 wellU-shape plate ผลการทดสอบพบว่าน้ำมะนาว และน้ำมะกรูด มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อในกลุ่มนี้ อยู่ที่1.60 % (v/v) และ 1.34-1.74 % (v/v) ตามลำดับ ส่วนความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อนี้ อยู่ที่ 1.87-3.33 % (v/v) และ 3.10 % (v/v) ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่าน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดมีฤทธิ์ในการยับยั้ง และฆ่าเชื้อสแตปฟิโลคอคไค ที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบโคแอคกุเลสจากการทดสอบในหลอดทดลอง  (โคแอคกุเลส เป็นน้ำย่อยที่เชื้อกลุ่มสแตปฟิโลคอคไคสร้างขึ้น ทำให้พลาสมาของคนหรือสัตว์ เกิดการตกตะกอน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ใช้กำหนดว่าเชื้อสเตรนใดที่เป็นตัวก่อโรค) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปพิจารณาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทางการค้า ที่ใช้สำหรับสัตว์ต่อไป เพื่อลดการติดเชื้อทางผิวหนัง อย่างไรก็ตาม ควรมีการทดลองในการใช้กับสัตว์โดยตรงก่อน เพื่อศึกษาผลข้างเคียงอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการยับยั้งเชื้อ และผลต่อตัวสัตว์ (พิทยา และคณะ, 2551)

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การใช้น้ำมันหอมระเหยกับผิวหนังในปริมาณที่มากกว่า 0.7% ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เนื่องจากน้ำมันที่ได้จากการบีบผิวผล อาจทำให้เกิดพิษเมื่อสัมผัสกับแสงได้ และเกิดมีสารสีเกินที่ผิวหนัง บริเวณใบหน้า และลำคอ เพราะมีสาร furanocoumarin แต่น้ำมันจากผิวผลที่ได้จากการกลั่นไม่มีสารนี้

 

เอกสารอ้างอิง:

1. พิทยา ภาภิรมย์, อรุณี บุตรตาสี, วชิราภรณ์ กัมปนาวราวรรณ. ฤทธิ์ของน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดต่อเชื้อสแตปฟิโลคอคไค ที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบโคแอคกุเลส ที่แยกได้จากสุนัข. วารสารวิจัย มข. 2551;13(7):866-872.

2. Loizzo MR, Tundis R, Bonesi M, Menichini F, Luca D, Colica C, et al. Evaluation of Citrus aurantifolia peel and leaves extracts for their chemical composition, antioxidant and anti-cholinesterase activities. J Sci Food Agric. 2012;92(15):2960-2967.

3. Narang N, Jiraungkoorskul W. Anticancer activity of key lime, Citrus aurantifolia. Pharmacogn Rev. 2016;10(20):118-122.



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะนาว

...

Other Related มะนาว

ข้อมูล มะนาว จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก ระวังสับสนกับ เลมอน มะนาว มะนาว การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae หมวด: Magnoliophyta ชั้น: Magnoliopsida อันดับ: Sapindales วงศ์: Rutaceae สกุล: Citrus สปีชีส์: C.  aurantifolia ชื่อทวินาม Citrus aurantifolia Swing. มะนาว เป็นพืชชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยว จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งเป็นกลีบ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย ลักษณะทั่วไป

ดอก ใบ และผลมะนาว ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 เซนติเมตร ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีใบดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าแล้ง จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จัก และใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19) ก็คือ การป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักเดินเรือมาช้านาน ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol) ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิก (Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อม ๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง ชื่อของมะนาว

มะนาวก็เหมือนกับส้มทั้งหลาย ที่มีปัญหาในการจัดหมวดหมู่และแยกแยะทางอนุกรมวิธาน สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ที่คุ้นเคยของมะนาว ก็คือ Citrus aurantifolia Swingle หรือ "Citrus aurantifolia" ( Christm & Panz ) Swing." แต่ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก ดังนี้ C. acida Roxb. C. lima Lunan C. medica var. ácida Brandis และ Limonia aurantifolia Christm สำหรับชื่อสามัญนั้น ในหลายภาษาก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ในภาษาอังกฤษ เรียก Mexica lime, West Indian lime, และ Key lime หรือเรียก lime สั้น ๆ ก็ได้ สาเหตุที่มีหลายชื่ออาจเป็นเพราะเป็นพืชต่างถิ่น จึงไม่มีชื่อดั้งเดิมในภาษานั้น ๆ ทำให้เกิดการเสนอชื่ออื่น ๆ มาหลายชื่อก็เป็นได้ ส่วนในประเทศไทยยังเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โกรยชะม้า, ปะนอเกล, ปะโหน่งกลยาน, มะนอเกละ, มะเน้าด์เล, มะลิ่ว, ส้มมะนาว, ลีมานีปีห์, หมากฟ้า อนึ่ง คำว่า เลมอน (lemon) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผลส้มอีกชนิดหนึ่ง ที่หัวท้ายมน ไม่ใช่ผลกลมอย่างมะนาวที่เรารู้จักกันดี สำหรับ มะนาวเทศ (Triphasia trifolia) นั้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกัน (Rutaceae) กับมะนาว แต่ต่างสกุล ส่วน มะนาวควาย หรือ ส้มซ่า (Citrus medica Linn. Var. Linetta.) เป็นพืชสกุลส้มเช่นเดียวกัน แต่ต่างชนิด (สปีชีส์) กัน ส้มนาวเป็นภาษาใต้ที่ใช้เรียกมะนาว เช่นเดียวกับทางภาคอีสานเรียกผลไม้บางอย่างว่า"บัก"ในการขึ้นต้น เช่นบักม่วงที่หมายถึงมะม่วง คำว่าส้มในภาษาใต้จะใช้เรียกผลไม้บางชนิดที่มีรสเปรี้ยว อย่าง ส้มนาว ส้มขาม เป็นต้น พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพ พันธุ์แป้นรำไพ2 พันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย[1] มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน มะนาวพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ มะนาวตาฮิติ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น (มะนาวบางพันธุ์อาจเรียกได้หลายชื่อ แต่ในที่นี้ไม่ได้สืบค้นเพื่อจำแนกเอาไว้) สรรพคุณทางยา

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิก วิตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีวิตามินเอและซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม สำนวนเกี่ยวกับมะนาว

มะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง พูดไม่น่าฟัง ไม่ไพเราะ ไม่รื่นหู ห้วน ๆ ขาดความนุ่มนวล องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน (จากนิทานอีสป แต่ใช้กันมานาน จนรู้สึกราวกับเป็นสำนวนไทยแท้) หมายถึง เลี่ยงที่จะยอมรับในสิ่งที่ตนต้องการ เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นไปไม่ได้ และยอมรับสิ่งที่ไม่ต้องการแทน นอกจากนี้ยังมีการเล่นของเด็ก เรียกว่า "ซักส้าว" ที่มีเนื้อร้องกล่าวถึง "มะนาว" ดังนี้ ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง จะเล่นซักส้าว มือใครยาวสาวได้สาวเอา มือใครสั้นเอาเถาวัลย์ต่อเข้า อ้างอิง

↑ "การปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบ (เดลินิวส์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01 . ดูเพิ่ม

เลมอน และ มะกรูด พืชที่ใกล้เคียงกับมะนาว แหล่งข้อมูลอื่น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Citrus aurantifolia ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Citrus aurantiifolia ที่วิกิสปีชีส์ เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะนาว&oldid=10958101"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ มะนาว

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

1502

การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่
การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่สาร sulforaphane เป็นสารสารสำคัญที่พบได้ในพืชผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) โดยเฉพาะในต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย อย่างไรก็ตามมีรายงานการวิจัยบางส่วนระบุว่าสาร sulforaphane มีฤทธิ์กระตุ้น transcription factor ชนิด Nrf2 ที่ส่งผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ซึ่งการได้รับสารดังกล่าวเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของโรค hypo...

901

สาร
สาร Carandinol สารกลุ่ม Isohopane triterpene ชนิดแรกจากใบของต้นมะนาวไม่รู้โห่และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ในการต้านเซลล์มะเร็งสาร Carandinol เป็นสารกลุ่ม triterpene ชนิดใหม่ที่แยกได้จากใบของต้นมะนาวไม่รู้โห่ ร่วมด้วยสารประกอบอีก 5 ชนิดที่เคยมีรายงานไว้ได้แก่ betulinicacid, b-sitosterol-3-O-b-D-glucopyranoside, oleanolic acid, ursolic acid และ 4-hydroxybenzoic acid ลักษณะโครงสร้างของสาร Carandinol คือ 3β,21α-adihydroxyisohopane ซึ่งวิเคราะห์อย่างละเอียดด้วย Spectroscopic สำหรับสาร...

464

ผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากในผู้ป่วยเอดส์
ผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากในผู้ป่วยเอดส์ศึกษาผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากของผู้ป่วยเอดส์ เปรียบเทียบกับสารละลายเยนเชี่ยนไวโอเล็ต 0.5% โดยแบ่งผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 90 คน เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ทาสารละลายเยนเชี่ยนไวโอเล็ต 0.5% ที่ปาก 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 10 วัน กลุ่มที่ 2 ให้กลั้วปากด้วยน้ำมะนาวที่เจือจางด้วยน้ำ (น้ำมะนาวคั้น 20 มล. ผสมน้ำ 10 มล.) แล้วบ้วนทิ้ง รอ 5 นาที จากนั้นอมน้ำมะนาวเจือจางให้นานเท่าที่ทำได้แล้วกลืนลงไป และให้หยดน้ำมะนาวคั้น 2 - 3 หยด 3 ...

46

ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Vibrio cholerae ของมะนาวฝรั่ง การทดลองฤทธิ์ของมะนาวฝรั่ง ( Citrus limon ( L. ) Burm.F. ) ต่อเชื้ออหิวาต์ ( Vibrio cholerae 01 biotype Eltor serotype Inaba tox+ ) โดยใช้ความเข้มข้นของเชื้อขนาด 102 , 104 , 106 และ 108 CFU/mL พบว่าน้ำมะนาวเข้มข้นและน้ำมันหอมระเหยสามารถยับยั้งเชื้อได้ในทุกขนาดความเข้มข้นของเชื้อ เปลือกผลสดและแห้งสามารถยับยั้งเชื้อในขนาด 102 , 104 และ 106 CFU/mL เมื่อทดลองโดยใช้เชื้อขนาด 108 CFU/mL พบว่าน้ำค...

771

ผลของน้ำมะนาวในการกำจัดเชื้อมาลาเรีย
ผลของน้ำมะนาวในการกำจัดเชื้อมาลาเรียการศึกษาทางคลินิกในเด็กจำนวน 111 คน (ชาย 61 คน และหญิง 50 คน) อายุระหว่าง 5 เดือน ถึง 13 ปี ซึ่งมีอาการติดเชื้อมาลาเรียแบบไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านมาลาเรียที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ (ACT; ยา artemether + ยา camoquine) ร่วมกับการได้รับน้ำคั้นจากมะนาว (Citrus aurantifolia  Swingle) วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 - 15 มล. หรือให้ได้รับยา ACT เพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 3 วัน จากผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ทำให้เชื้อในร่างกายลดลง >7...

1179

ไซรัปจากน้ำมะนาวควายช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรน
ไซรัปจากน้ำมะนาวควายช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรนการศึกษาแบบ Double blind randomized placebo-controlled clinical trial ในผู้ป่วยไมเกรน จำนวน 90 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกให้รับประทานไซรัปจากน้ำมะนาวควาย (Citrus medica L.) 15 มล. กลุ่มที่สองได้รับยาหลอกไซรัป และกลุ่มที่ 3 ให้รับประทานยารักษาไมเกรนโพรพราโนลอล (propranolol) ขนาด 20 มก. โดยรับประทานวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ แล้วทำการประเมินความถี่ ระยะเวลา และระดับความปวดในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับไซรัปจา...

424

ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาว
ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาวการศึกษาผลของน้ำมะนาวในการป้องกันการเกิดนิ่วในไตของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วโดยให้ดื่มน้ำที่ผสม 075% ethylene glycol และ 2% ammonium chloride จากนั้นป้อนด้วยน้ำมะนาว ความเข้มข้น 100%, 75% และ 50% ในขนาด 6 มคล./ก. เป็นเวลา 10 วัน เปรียบเทียบผลที่ได้กับหนูในกลุ่มควบคุมที่เป็นนิ่วแต่ไม่ได้รับน้ำมะนาว พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับน้ำมะนาว จะมีระดับของ urea, creatinine, calcium และ phosphorus ในเลือด และระดับของ calcium ในไตต่ำกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อตรวจดูลักษณะของเนื้...

1487

อันตรกิริยาของขิงกับยาต้านมะเร็ง
อันตรกิริยาของขิงกับยาต้านมะเร็ง crizotinibขิงเป็นสมุนไพรที่มีรายงานการใช้เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นจากการใช้ยาเคมีบำบัด ในกรณีของยาต้านมะเร็ง crizotinib มีรายงานในหญิง 1 ราย อายุ 48 ปี ที่ใช้ยา crizotinib ขนาด 250 มก. วันละ 2 ครั้ง ในการรักษามะเร็งปอด เกิดอาการตับอักเสบอย่างรุนแรง (severe hepatic cytolysis) ซึ่งมีค่าเอนไซม์ alanine aminotransferase สูงมากกว่า 20 เท่าของค่าปกติ โดยพบว่าผู้ป่วยได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของขิง น้ำผึ้ง และน้ำมะนาวอย่างต่อ...

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

1553

การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
การใช้ผงมะนาวเป็นอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะศึกษาผลของการใช้ผงมะนาว (Citrus aurantifolia) เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยบรรเทาอาการผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (urolithiasis) จำนวน 74 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยทำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม และปกปิด 2 ทาง (randomized and double-blind clinical trial)แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (36 คน, อายุเฉลี่ย 46.4±10.5 ปี) ให้รับประทานผงมะนาวเป็นอาหารเสริมวันละ 5 ก. [ประกอบด้วย ซิเตรต/กรดซิตริก...

466

การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง
การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง ชาชงตะไคร้และยาป้ายปาก gentian violetการศึกษาแบบ randomized control trial ในผู้ป่วยเอดส์ 90 คน อายุน้อยกว่า 34 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ที่ในปากเป็นฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อ Candida albicans   โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 30 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับยาป้ายปากด้วย 0.5% Gentian violet aqueous วันละ 3 ครั้ง นาน 2-10 วัน กลุ่มที่ 2 ให้อมกลั้วปากด้วยน้ำมะนาวฝรั่งนาน 5 นาที แล้วค่อยกลืน จากนั้นให้หยดน้ำมะนาวฝรั่ง 2-3 หยด วันละ 3 ครั้ง/ว...

สมุนไพรอื่นๆ

38

ข้าวเย็น
ข้าวเย็น ชื่อเครื่องยาข้าวเย็น ชื่ออื่นๆของเครื่องยาหัวยาข้าวเย็น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ได้จากเหง้าใต้ดิน ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข้าวเย็น ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ยาหัวข้อ ข้าวเย็นโคกแดง ข้าวเย็นโคกขาว เขือง เข้าเย็นเหนือ เข้าเย็นใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์Smilax spp. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Smilacaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดินมีลักษณะยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ยาวราว ...

119

ลำดวน
ลำดวน ชื่อเครื่องยาลำดวน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลำดวน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หอมนวล (ภาคเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Annonaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกว...

77

บัวขม
บัวขม ชื่อเครื่องยาบัวขม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากดอกบัวขม ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาบัวขม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Nymphaea lotus L. var. pubescens Hook.f. & Th. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Nymphaeaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ดอกสีขาว เมื่ออบแห้งแล้วมีสีน้ำตาล กลีบเลี้ยง ยาว 4-5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 19 กลีบ รูปหอกกลับ ชั้นเกสรตัวผู้มีลักษณะแบน 60 อัน เกสรตัวผู้ยาว 2 เซนต...

17

กระทือ
กระทือ ชื่อเครื่องยากระทือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแก่สด หรือแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระทือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กระทือ (ภาคกลาง) กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน แม่ฮ่องสอน) เฮียวดำ เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ชื่อพ้องAmomum silvestre Poir., A. spurium (J.Koenig) J.F.Gmel., A. zerumbet L., Cardamomum spurium (J.Koenig) Kuntze, Diete...

96

ไพล
ไพล ชื่อเครื่องยาไพล ชื่ออื่นๆของเครื่องยาไพลเหลือง ได้จากเหง้าสดแก่จัด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาไพล ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง(ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ(ภาคกลาง) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber cassumunar Roxb. ชื่อพ้องAmomum cassumunar (Roxb.) Donn, Amomum montanum J.Koenig, Amomum xanthorhiza Roxb. ex Steud., Cassumunar roxburghii Colla, Jaegera montana (J.Koenig) Giseke, Zingiber anthorrhiza Horan., Zingiber cli...

87

โป๊ยกั๊ก
โป๊ยกั๊ก ชื่อเครื่องยาโป๊ยกั๊ก ชื่ออื่นๆของเครื่องยาจันทร์แปดกลีบ (Chinese star anise) ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโป๊ยกั๊ก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Illicium verum Hook. f. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Illiciaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           ผลเป็นกลีบโดยรอบ ทำให้มองเห็นเป็นรูปดาว มี 5-13 พู แต่ที่พบมากมักเป็น 8 พู ผลแห้งมีกลีบหนาแข็ง สีน้ำตาลเข้ม กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-2 เ...

183

สะค้าน
สะค้าน ชื่อเครื่องยาสะค้าน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาสะค้าน ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ตะค้านเล็ก ตะค้านหยวก ชื่อวิทยาศาสตร์1. Piper interruptum Opiz , 2. Piper ribesioides Wall. 3. Piper wallichii (Miq.) Hand.-Mazz. ชื่อพ้อง- ชื่อวงศ์Piperaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:           เถาแห้งสีน้ำตาล ทรงกระบอก ผิวขรุขระ มีข้อปล้อง หน้าตัดตามขวงมีลายเส้นเป็นแนวรัศมี เปลือกค่...

81

ปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกน้อย ชื่อเครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาปลาไหลเผือกน้อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาว ตรึงบาดาล หยิกบ่ถอง ชื่อวิทยาศาสตร์Eurycoma harmandiana Pierre ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวน...

63

เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง ชื่อเครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่นๆของเครื่องยาเถาวัลย์เปรียงขาว ได้จากเถา ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเถาวัลย์เปรียง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา ชื่อวิทยาศาสตร์Derris scandens (Roxb.) Benth ชื่อพ้องBrachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia tim...

EP172 : 5 สุดยอดประโยชน์ของน้ำมะนาว

EP172 : 5 สุดยอดประโยชน์ของน้ำมะนาว

EP172 : 5 สุดยอดประโยชน์ของน้ำมะนาว

View
สรรพคุณทางยาจากน้ำมะนาว (14 ธ.ค. 61)

สรรพคุณทางยาจากน้ำมะนาว (14 ธ.ค. 61)

สรรพคุณทางยาจากน้ำมะนาว (14 ธ.ค. 61)

View
มะนาวมีฤทธิ์ทำลายโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (12 ม.ค. 64)

มะนาวมีฤทธิ์ทำลายโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (12 ม.ค. 64)

มะนาวมีฤทธิ์ทำลายโควิด-19 ? : ชัวร์หรือมั่ว (12 ม.ค. 64)

View
สูตรง่าย​ๆ น้ำมะนาว​ แก้หวัด​ แก้ไอ​ ขับเสมหะ​

สูตรง่าย​ๆ น้ำมะนาว​ แก้หวัด​ แก้ไอ​ ขับเสมหะ​

สูตรง่าย​ๆ น้ำมะนาว​ แก้หวัด​ แก้ไอ​ ขับเสมหะ​

View
10 โรค ทำแบบนี้.. แทบไม่พึ่งยา สรรพคุณของมะนาวที่หลายคนคิดไม่ถึง | Nava DIY

10 โรค ทำแบบนี้.. แทบไม่พึ่งยา สรรพคุณของมะนาวที่หลายคนคิดไม่ถึง | Nava DIY

10 โรค ทำแบบนี้.. แทบไม่พึ่งยา สรรพคุณของมะนาวที่หลายคนคิดไม่ถึง | Nava DIY

View
รู้หรือไม่ !! 7 กลุ่มนี้ ไม่ควรดื่มน้ำขิงมะนาว | Ginger lemon juice | พี่ปลา Healthy Fish

รู้หรือไม่ !! 7 กลุ่มนี้ ไม่ควรดื่มน้ำขิงมะนาว | Ginger lemon juice | พี่ปลา Healthy Fish

รู้หรือไม่ !! 7 กลุ่มนี้ ไม่ควรดื่มน้ำขิงมะนาว | Ginger lemon juice | พี่ปลา Healthy Fish

View
น้ำขิงมะนาวกระเทียม ลดไขมันในเลือด แก้วิงเวียน ลดความดัน สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ

น้ำขิงมะนาวกระเทียม ลดไขมันในเลือด แก้วิงเวียน ลดความดัน สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ

น้ำขิงมะนาวกระเทียม ลดไขมันในเลือด แก้วิงเวียน ลดความดัน สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ

View
มะนาว ขับนิ่วยาอายุวัฒนะ

มะนาว ขับนิ่วยาอายุวัฒนะ

มะนาว ขับนิ่วยาอายุวัฒนะ

View
เครื่องดื่มสมุนไพรรอบตัว ชาใบมะนาว

เครื่องดื่มสมุนไพรรอบตัว ชาใบมะนาว

เครื่องดื่มสมุนไพรรอบตัว ชาใบมะนาว

View
น้ำขิงมะนาว ขิง สมุนไพรไทย ต้านโควิดลดน้ำหนักได้ บำรุงผิวพรรณ ที่ผู้หญิงทุกคนควรดิ่มวันละ 1 แก้ว

น้ำขิงมะนาว ขิง สมุนไพรไทย ต้านโควิดลดน้ำหนักได้ บำรุงผิวพรรณ ที่ผู้หญิงทุกคนควรดิ่มวันละ 1 แก้ว

น้ำขิงมะนาว ขิง สมุนไพรไทย ต้านโควิดลดน้ำหนักได้ บำรุงผิวพรรณ ที่ผู้หญิงทุกคนควรดิ่มวันละ 1 แก้ว

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะนาว
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่