Menu

มะขามป้อม

ชื่อเครื่องยา

มะขามป้อม

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ผล

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะขามป้อม

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กันโตด(เขมร), กำทวด(ราชบุรี), มั่งลู่, สันยาส่า(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus emblica L.

ชื่อพ้อง

Cicca emblica (L.) Kurz, Diasperus emblica (L.) Kuntze, Dichelactina nodicaulis Hance, Emblica arborea Raf., E. officinalis Gaertn., Phyllanthus mairei H.Lév., P. mimosifolius Salisb., P. taxifolius

ชื่อวงศ์

Euphorbiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลสดกลม มีเนื้อ ผิวเรียบ ใส ฉ่ำน้ำ เมื่อดิบสีเขียวออกเหลือง ผลสุกสีเหลืองออกน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร มีเส้นพาดตามความยาวของลูก 6 เส้น เมล็ดกลมแข็งมี 1 เมล็ด เนื้อผลมีรสฝาด เปรี้ยว ขม หวาน รับประทานเป็นอาหารได้ ทำให้ชุ่มคอ รับประทานน้ำตามไป ทำให้มีรสหวานดีขึ้น

 

เครื่องยา มะขามป้อม

 

เครื่องยา มะขามป้อม

 

เครื่องยา มะขามป้อม

 

มะขามป้อม(ผลสด)

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           เครื่องยาที่เป็นผลแห้ง ปริมาณความชื้นไม่เกิน 9% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 4.0% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 16% w/w  ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 26% w/w ปริมาณแทนนิน ไม่น้อยกว่า 20% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เนื้อผลแห้ง รสเปรี้ยวฝาดขม ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวง แก้บิด ท้องเสีย ใช้ควบกับธาตุเหล็ก แก้โรคดีซ่าน และช่วยย่อยอาหาร  ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม  ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาแก้ไอ

           ตำรับยาแผนโบราณ: ผลอ่อน รสเปรี้ยวหวานฝาดขม บำรุงเนื้อหนังให้บริบูรณ์ กัดเสมหะในคอ ทำให้เสียงเพราะ แก้มังสังให้บริบูรณ์ แก้พรรดึก(ท้องผูก) แก้พยาธิ ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาดขมเผ็ด แก้ไข้เจือลม แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้ลักปิดลักเปิด มีวิตามินซีมากกว่าส้ม 20 เท่า (เมื่อเทียบในปริมาณเท่ากัน)
           ตำรายาไทย: มะขามป้อมจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง มี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฎฐาน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
           1.ใช้เนื้อผลสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง
           2.ผลสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดจิ้มเกลือรับประทาน
           3.ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ

องค์ประกอบทางเคมี:
           มีวิตามินซีสูง (ในผลมะขามป้อม 1 ผลมีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากับส้ม 2 ลูก) นอกจากนี้ยังพบ rutin, mucic acid, gallic acid, phyllemblic acid สารกลุ่มแทนนิน เบนซินอยด์ เทอร์ปีน ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ คูมาริน เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านไวรัส (ไข้หวัดใหญ่, ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase) แก้ไอ ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ปกป้องตับ หัวใจและหลอดเลือด

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การศึกษาพิษเฉียบพลัน สารสกัดจากมะขามป้อมเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้และเมียมีค่า LD50 เท่ากับ 145และ 288 มก./กก นน.ตัวตามลำดับ พิษกึ่งเรื้อรัง ทดลองในหนูถีบจักรโดยป้อนสารสกัดขนาด 100 และ 500 มก./กก. นน.ตัว นาน 10 สัปดาห์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักหัวใจ ปอด ตับ และเอนไซม์ที่ตับ

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะขามป้อม

...

Other Related มะขามป้อม

ข้อมูล มะขามป้อม จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


มะขามป้อม พืช ผล สถานะการอนุรักษ์ ความเสี่ยงต่ำ  (IUCN 3.1)[ 1] การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ โดเมน: ยูแคริโอต Eukaryota อาณาจักร: พืช Plantae เคลด: พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes เคลด: พืชดอก Angiosperms เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots เคลด: โรสิด Rosids อันดับ: อันดับโนรา Malpighiales วงศ์: วงศ์มะขามป้อม Phyllanthaceae สกุล: สกุลมะขามป้อม Phyllanthus L.[ 2] สปีชีส์: Phyllanthus emblica ชื่อทวินาม Phyllanthus emblica L.[ 2] ชื่อพ้อง[ 3] [ 4] Cicca emblica (L.) Kurz Diasperus emblica (L.) Kuntze Dichelactina nodicaulis Hance Emblica arborea Raf. Emblica officinalis Gaertn. Phyllanthus glomeratus Roxb. ex Wall. nom. inval. Phyllanthus mairei H.Lév. Phyllanthus mimosifolius Salisb. Phyllanthus taxifolius D.Don มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)[ 5] มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ เพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า ถิ่นกำเนิด[ แก้ ] มะขามป้อมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และในเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีสังกา บังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[ แก้ ] เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด[ 5] การใช้ประโยชน์[ แก้ ] ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้[ 6] มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้ ชาวกะเหรี่ยงจะใช้เพื่อย้อมผ้าให้เป็นสีเทา[ 7] อ้างอิง[ แก้ ] ↑ Roland, C. (2020). "Phyllanthus emblica". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T149444430A149548926. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T149444430A149548926.en . สืบค้นเมื่อ 19 November 2021 . ↑ "Phyllanthus emblica". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2008-03-06 . ↑ "Phyllanthus emblica L." World Flora Online. World Flora Consortium. 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023 . ↑ "Phyllanthus emblica L." Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanical Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022 . ↑ 5.0 5.1 มะขามป้อม เก็บถาวร 2010-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ ↑ DO-ME เก็บถาวร 2018-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประโยชน์ของIndian Gooseberry ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แหล่งข้อมูลอื่น[ แก้ ] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Phyllanthus emblica ดคกพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ภาคเหนือ กาซะลองคำ (เชียงราย) ทองกวาว (เชียงใหม่) กำลังเสือโคร่ง (น่าน) สารภี (พะเยา) ยมหิน (แพร่) จั่น (แม่ฮ่องสอน) กระเชา (ลำปาง) ก้ามปู (ลำพูน) สัก (อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะหาด (กาฬสินธุ์) กัลปพฤกษ์ (ขอนแก่น) ขี้เหล็ก (ชัยภูมิ) กันเกรา (นครพนม) สาธร (นครราชสีมา) กาฬพฤกษ์ (บุรีรัมย์) พฤกษ์ (มหาสารคาม) ตานเหลือง (มุกดาหาร) กระบาก (ยโสธร) กระบก (ร้อยเอ็ด) สนสามใบ (เลย) ลำดวน (ศรีสะเกษ) อินทนิล (สกลนคร) มะค่าแต้ (สุรินทร์) ชิงชัน (หนองคาย) พะยูง (หนองบัวลำภู) ตะเคียนหิน (อำนาจเจริญ) รัง (อุดรธานี) ยางนา (อุบลราชธานี) ภาคกลาง ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพมหานคร) สีเสียดแก่น (กำแพงเพชร) มะตูม (ชัยนาท) สุพรรณิการ์ (นครนายก) จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (นครปฐม) เสลา (นครสวรรค์) นนทรี (นนทบุรี) ทองหลางลาย (ปทุมธานี) หมัน (พระนครศรีอยุธยา) บุนนาค (พิจิตร) ปีบ (พิษณุโลก) มะขาม (เพชรบูรณ์) พิกุล (ลพบุรี) โพทะเล (สมุทรปราการ) จิกเล (สมุทรสงคราม) พญาสัตบรรณ (สมุทรสาคร) ตะแบกนา (สระบุรี) มะกล่ำตาช้าง (สิงห์บุรี) มะค่า (สุโขทัย) มะเกลือ (สุพรรณบุรี) มะพลับ (อ่างทอง) สะเดา (อุทัยธานี) ภาคตะวันออก จัน (จันทบุรี) อะราง (ฉะเชิงเทรา) ประดู่ (ชลบุรี) หูกวาง (ตราด) โพ (ปราจีนบุรี) กระทิง (ระยอง) มะขามป้อม (สระแก้ว) ภาคตะวันตก ขานาง (กาญจนบุรี) แดง (ตาก) เกด (ประจวบคีรีขันธ์) หว้า (เพชรบุรี) โมกมัน (ราชบุรี) ภาคใต้ ทุ้งฟ้า (กระบี่) มะเดื่ออุทุมพร (ชุมพร) ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia (ตรัง) แซะ (นครศรีธรรมราช) ตะเคียนชันตาแมว (นราธิวาส) ตะเคียน (ปัตตานี) เทพทาโร (พังงา) พะยอม (พัทลุง) ประดู่บ้าน (ภูเก็ต) อโศกเหลือง (ยะลา) อบเชย (ระนอง) สะเดาเทียม (สงขลา) กระซิก (สตูล) เคี่ยม (สุราษฎร์ธานี) ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือจัน  · ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์คือแปะ  · ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธรคือยางนา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัยคือตาล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์คือกันเกรา  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล  · ต้นไม้ประจำจังหวัดระยองคือประดู่  · จังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือสิรินธรวัลลี การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน Wikidata: Q310050 Wikispecies: Phyllanthus emblica BOLD: 210519 EoL: 1153040 EPPO: PYLEM FNA: 200012600 FoC: 200012600 GBIF: 5381660 GRIN: 28119 iNaturalist: 68666 IPNI: 353838-1 IRMNG: 10926864 ITIS: 504352 IUCN: 149444430 NCBI: 296036 Plant List: kew-153790 PLANTS: PHEM2 POWO: urn:lsid:ipni.org:names:353838-1 Tropicos: 12800411 WCSP: 153790 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะขามป้อม&oldid=10849263"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ มะขามป้อม

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

522

ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกันการศึกษาผลของตำรับยาแผนโบราณที่มีส่วนประกอบของใบกะเพรา รากชะเอมเทศ และผลมะขามป้อม ที่มีชื่อตำรับยาว่า CIM-Candy เพื่อต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยใช้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายเป็นแอนติเจนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำการศึกษาในหนูเม้าส์จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (vehicle control) ป้อนน้ำกลั่น 10 มล./กก. กลุ่มที่ 2-4 ป้อน CIM-Candy ขนาด 1, 10 และ 100 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (positive contro...

512

ผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กที่ถูกทำลายด้วยยา
ผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexateการศึกษาผลของตำรับยาตรีผลาในการป้องกันลำไส้เล็กของหนูแรทที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexate ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งที่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้ลำไส้อักเสบ ระบบการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ โดยป้อนหนูด้วยตำรับยาตรีผลา 2 สูตร คือ สูตรที่ผสมผลสมอไทย ผล สมอภิเภก และผลมะขามป้อม ในอัตราส่วนที่เท่ากัน (1:1:1) และไม่เท่ากัน (1:2:4) ขนาด 540 มก./กก./วัน 8 วันก่อน จึงเริ่มให้ยา methotrexate ขนาด 12 มก./กก. ควบคู่ไปกับตรีผลา เป็นเวลา 3 วัน เปรียบเ...

403

สารสกัดจากผลมะขามป้อมป้องกันโรคมะเร็งตับ
สารสกัดจากผลมะขามป้อมป้องกันโรคมะเร็งตับการป้อนสารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเมทานอล ขนาด 100 และ 200 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก. ทุกวันเว้นวันในหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเนื้องอกด้วยการฉีดสาร diethylnitrosoamime (DEN)เข้าช่องท้องขนาด 200 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก. และได้รับสาร 2-acethylaminofiourine (2-AAF) 0.02 % w/w ในอาหาร ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ทำการตัดชิ้นเนื้อตับบางส่วนมาตรวจในวันที่ 21 พบว่า การให้สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเมทานอล (ขนาด 100 และ 200 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลทำให้พยาธิสภาพของโรคตั...

130

ฤทธิ์ป้องกันเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันของผลมะขามป้อม
ฤทธิ์ป้องกันเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันของผลมะขามป้อม ผลมะขามป้องมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรง จึงอาจจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทดลองโดยใช้ chromium ซึ่งกดภูมิคุ้มกัน เป็นพิษต่อเซลล์ เกิดอนุมูลอิสระ และการเกิด lipid peroxidation ลด glutathione peroxidase และ glutathione พบว่าเมื่อให้สารสกัดผลมะขามป้อม จะสามารถยับยั้งพิษต่างๆ ข้างต้นที่เกิดจาก chromium ลดการทำลายเซลล์ และ DNA จึงนับว่าสารสกัดจากมะขามป้อมมีประโยชน์ J Ethnopharmacol 2002;81(1):5-10 ข้อมูลอ้างอิงจาก :...

390

บอระเพ็ดและมะขามป้อมป้องกันการทำลายตับเนื่องจากยา
บอระเพ็ดและมะขามป้อมป้องกันการทำลายตับเนื่องจากยาเมื่อแบ่งหนูขาวออกเป็น 7 กลุ่ม (A-G) ป้อนยารักษาวัณโรค (ATT) ประกอบด้วย isoniazid 31.5 มก./กก., rifampicin 54 มก./กก. และ pyrazinamide 189 มก./กก. ทุกวัน นาน 90 วัน ทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่ม A (กลุ่ม A จะได้รับ 0.5% carboxymethylcellulose) 1 ชม.หลังได้รับสารของทุกวัน กลุ่ม A และ B จะได้รับน้ำกลั่น กลุ่ม C จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากลำต้นบอระเพ็ด (Tc) 100 มก./กก. กลุ่ม D จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากผลมะขามป้อม (Pe) 300 มก./กก. กลุ่ม E จะได้รับ Tc 100 มก....

1199

ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารจากมะขามป้อม
ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารจากมะขามป้อมเมื่อนำสารสกัด 70% เอทานอลจากรากมะขามป้อม มาทำการแยกเพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าประกอบด้วยสารใหม่กลุ่ม highly oxygenated bisabolanesesquiterpenoid glycosides 14 ชนิด ได้แก่ phyllaemblicins H1-H14, สารphyllaemblicins B, C และ glochicoccinoside D ในการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของสารที่แยกได้ต่อเชื้อไวรัส 4 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2, เชื้อไวรัสโรคเริม ชนิดที่ 1 (herpes simplex virustype 1, HSV-1), เชื้อเอนเทอโรไวรัส71 (enterovirus71, EV71)และเชื้...

932

สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทย
สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้พื้นเมืองของไทย 3 ชนิด ที่เก็บรวบรวมจากพื้นที่อนุรักษ์ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ มะขามป้อม มะเม่า และมะกอก ในแง่ของสารอาหาร สารสำคัญ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), Ferric reducing antioxidant power (FPAP) และ Oxygen radical absorbance capacity (ORAC) พบว่ามะขามป้อมจะมีปริมาณของวิตามินซี สารฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ขณะที่มะเม่าจะมีปริมาณของสารอาหาร คาโร...

1140

ประโยชน์ของมะขามป้อมในการเสริมการรักษาโรคด่างขาว
ประโยชน์ของมะขามป้อมในการเสริมการรักษาโรคด่างขาวการทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยโรคด่างขาว โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 65 คน กลุ่มแรกให้รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดมะขามป้อม 100 มก. วิตามินอี 10 มก. และแคโรทีนอยด์ 4.7 มก. 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 6 เดือน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งทดสอบควบคู่กับการรักษาด้วยการใช้ยาภายนอกหรือการรักษาด้วยแสง (phototherapy) ผลการทดสอบพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ของกลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมมะขามป้อมมีเม็ดสีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยบริเวณศีรษะ คอ และลำตัว เปรียบเทีย...

1314

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานมะระขี้นกและมะขามป้อมต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานมะระขี้นกและมะขามป้อมต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2Annals of Phytomedicine 2016;5(1):40-2. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

773

ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อม
ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อมการศึกษาฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของสารฟีนอลิกจากผลมะขามป้อม ได้แก่ สาร geraniin, quercetin 3-β-D-glucopyranoside, kaempferol 3-β-D-glucopyranoside, isocorilagin, quercetin และ kaempferol โดยทดสอบด้วยวิธีการวัดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้าม (splenocyte) ของหนู เซลล์ human breast cancer (MCF-7) และเซลล์ human embryonic lung fibroblast (HELF) พบว่าสารฟีนอลิกจากมะขามป้อม มีผลเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้ามตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่...

109

ฤทธิ์ต้านมะเร็งของมะขามป้อม
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของมะขามป้อม สารสกัดน้ำจากผลมะขามป้อม ( Emblica officinalis   Gaertn. ) ขนาด 1.25 ก./กก. นน.ตัวมีผลยืดอายุหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งช่องท้อง (ascites tumor) ได้ 20% การศึกษาทำโดยการฉีดเซลล์มะเร็งชนิด Daltons lymphoma ascites cell (DLA) เข้าช่องท้อง หลังจากนั้น 24 ชม. ให้สารสกัดผลมะขามป้อมทางปาก 5 วัน โดยให้วันเว้นวัน การศึกษาผลต่อขนาดของก้อนมะเร็งทำโดยฉีดเซลล์มะเร็งชนิด DLA เข้าใต้ผิวหนังที่ข...

1666

การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพร
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพรการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแผ่นปิดสิวอักเสบที่พัฒนาจากสมุนไพร (novel water-soluble herbal acne patch: WHAP) ซึ่งมีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ สารสกัดจากใบบัวบก (4.5%w/w) สารสกัดดอกดาวเรืองหม้อ (4.5%w/w) และสารสกัดจากผลมะขามป้อม (2.5%w/w) เปรียบเทียบกับแผ่นปิดสิวอักเสบที่เตรียมจากสารไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid acne patch: HAP) ทำการศึกษาแบบ randomized, assessor-blind controlled ในอาสาสมัครที่มีความรุนแรงของสิวอักเสบระดั...

สมุนไพรอื่นๆ

120

ลิเภา
ลิเภา ชื่อเครื่องยาลิเภา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเถา ใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาลิเภา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์Lygodium polystachyum Wall.ex Moore ...

51

ชะลูด
ชะลูด ชื่อเครื่องยาชะลูด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาชะลูด ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ลูด(ปัตตานี) ชะนูด(สุราษฎร์ธานี) นูด(ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น, ต้นธูป(อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Alyxia reinwardtii Blume var. lucida Markgr. ชื่อพ้องAlyxia nitens Kerr. หรืออาจได้จาก Alyxia schlechteri ชื่อวงศ์Apocynaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เป็นไม้เถา เนื้อแข็...

27

โกฐเขมา
โกฐเขมา ชื่อเครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้าแห้ง ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาโกฐเขมา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกฐหอม, ซังตุ๊ก, ชางจู๋ ชื่อวิทยาศาสตร์Atractylodes lancea (Thunb.) DC. ชื่อพ้องAcarna chinensis Bunge, Atractylis chinensis (Bunge) DC., Atractylis erosodentata (Koidz.) Arènes, Atractylis lancea Thunb., Atractylis lyrata (Siebold & Zucc.) Hand.-Mazz., Atractylis separata L.H.Bailey, Atractylodes chinensis (Bunge) Koidz., Atractylodes er...

15

กวาวเครือขาว
กวาวเครือขาว ชื่อเครื่องยากวาวเครือขาว ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากหัว ราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว ชื่อวิทยาศาสตร์Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่...

130

ส้มโอมือ
ส้มโอมือ ชื่อเครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาส้มมือ ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอมือ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus medica L. ชื่อพ้องAurantium medicum (L.) M. Gómez, Citrus alata (Tanaka) Yu.Tanaka, , C. balotina Poit. & Turpin, C. bicolor Poit. & Turpin, C. bigena Poit. & Turpin, C. cedra Link, C. cedrata Raf., C. crassa Hassk., C. fragrans Salisb., C. gongra Raf., C. hassaku Yu.Tanaka, C. hiroshimana Yu.Tanaka, C. kizu Yu.Tanak...

43

คูน
คูน ชื่อเครื่องยาคูน ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อในฝักแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาเนื้อในฝักแก่ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula L. ชื่อพ้องBactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius ชื่อวงศ์Legumonosae-Caesalpi...

148

หัวร้อยรู
หัวร้อยรู ชื่อเครื่องยาหัวร้อยรู ชื่ออื่นๆของเครื่องยากระเช้าผีมด ได้จากหัว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาหัวร้อยรู ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ร้อยรู ปุ่มฟ้า ดาลูบูตาลิมา ชื่อวิทยาศาสตร์Hydnophytum formicarium Jack. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Rubiaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เป็นพืชจำพวกหัว ที่อาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ต้นแก่มีหัวกลมโตขนาดเท่าลูกมะพร้าวห้าว ภายในหัวเป็นรูย้อนขึ้น ย้อนลง พรุนไปทั่ว เมื่...

192

ย่านาง
ย่านาง ชื่อเครื่องยาย่านาง ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากราก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาย่านาง ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี ชื่อวิทยาศาสตร์Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ชื่อพ้องCocculus triandrus Colebr., Limacia triandra ชื่อวงศ์Menispermaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:        &n...

112

ยาดำ
ยาดำ ชื่อเครื่องยายาดำ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเคี่ยวน้ำยางสีเหลืองจากใบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาว่านหางจระเข้ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ว่านหางตะเข้ ว่านไฟไหม้ ชื่อวิทยาศาสตร์Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้องAloe barbadensis Mill., A. chinensis Steud. ex Baker, A. elongata Murray, A. flava Pers., A. indica Royle, A. lanzae Tod., A. perfoliata var. barbadensis (Mill.) Aiton, A. perfoliata var. vera L., A. rubescens DC., A. vulgaris ชื่อวงศ์Aloaceae ...

14 ประโยชน์ มะขามป้อม สมุนไพรมากสรรพคุณ สมุนไพรริมรั้ว

14 ประโยชน์ มะขามป้อม สมุนไพรมากสรรพคุณ สมุนไพรริมรั้ว

14 ประโยชน์ มะขามป้อม สมุนไพรมากสรรพคุณ สมุนไพรริมรั้ว

View
ไม่รู้มาก่อน !! เพียงแค่กินมะขามป้อม ประโยชน์มาก ห้ามพลาด | Indian Gooseberry | พี่ปลา Healthy Fish

ไม่รู้มาก่อน !! เพียงแค่กินมะขามป้อม ประโยชน์มาก ห้ามพลาด | Indian Gooseberry | พี่ปลา Healthy Fish

ไม่รู้มาก่อน !! เพียงแค่กินมะขามป้อม ประโยชน์มาก ห้ามพลาด | Indian Gooseberry | พี่ปลา Healthy Fish

View
สมุนไพรน่ารู้ ตอน มะขามป้อม

สมุนไพรน่ารู้ ตอน มะขามป้อม

สมุนไพรน่ารู้ ตอน มะขามป้อม

View
น้ำมะขามป้อม รีวิวน้ำมะขามป้อมเข้มข้น เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพรแก้ไอ Healthy food

น้ำมะขามป้อม รีวิวน้ำมะขามป้อมเข้มข้น เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพรแก้ไอ Healthy food

น้ำมะขามป้อม รีวิวน้ำมะขามป้อมเข้มข้น เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพรแก้ไอ Healthy food

View
สมุนไพรมะขามป้อม - รวมผลิตภัณฑ์ สมุนไพรมะขามป้อม EP.  03 มะขามป้อม

สมุนไพรมะขามป้อม - รวมผลิตภัณฑ์ สมุนไพรมะขามป้อม EP. 03 มะขามป้อม

สมุนไพรมะขามป้อม - รวมผลิตภัณฑ์ สมุนไพรมะขามป้อม EP. 03 มะขามป้อม

View
ชัวร์ก่อนแชร์ : มะขามป้อมวิตามินซีสูงบำรุงตับต้านมะเร็ง จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : มะขามป้อมวิตามินซีสูงบำรุงตับต้านมะเร็ง จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : มะขามป้อมวิตามินซีสูงบำรุงตับต้านมะเร็ง จริงหรือ ?

View
Ep.133 บรรเทาอาการไอ ชุ่มคอ ชื่นใจ มะขามป้อม ช่วยได้ ต้องลอง!! I หลงเกาะ ชาแนล

Ep.133 บรรเทาอาการไอ ชุ่มคอ ชื่นใจ มะขามป้อม ช่วยได้ ต้องลอง!! I หลงเกาะ ชาแนล

Ep.133 บรรเทาอาการไอ ชุ่มคอ ชื่นใจ มะขามป้อม ช่วยได้ ต้องลอง!! I หลงเกาะ ชาแนล

View
สมุนไพรไทย มะขามป้อม

สมุนไพรไทย มะขามป้อม

สมุนไพรไทย มะขามป้อม

View
โครงการพัฒนาวัตถุดิบและสารสกัดจากสมุนไพรมะขามป้อม

โครงการพัฒนาวัตถุดิบและสารสกัดจากสมุนไพรมะขามป้อม

โครงการพัฒนาวัตถุดิบและสารสกัดจากสมุนไพรมะขามป้อม

View
สมุนไพร มะขามป้อม

สมุนไพร มะขามป้อม

สมุนไพร มะขามป้อม

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะขามป้อม
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่