Menu

มะขามแขก

ชื่อเครื่องยา

มะขามแขก

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ ฝัก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะขามแขก

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia acutifolia Del. (Cassia senna L. Senna alexandrina P. Miller) C. angustifolia Vahl.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Caesalpiniaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. angustifolia มีสีเขียวอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวงรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.0-1.5 ซม.ยาว 2.5-5.0 ซม. มีขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองไม่เท่ากัน และมีขนนุ่มปกคลุม ส่วนใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. acutifolia มีรูปร่างป้อมและสั้นกว่าชนิดแรก โดยยาวไม่เกิน 4 ซม. และมักพบใบหักมากกว่าชนิดแรก ใบมะขามแขก มีกลิ่นเหม็นเขียว รสเปรี้ยว หวาน ชุ่ม

 

เครื่องยา ใบมะขามแขก

 

เครื่องยา ใบมะขามแขก

 

เครื่องยา ใบ และ ฝัก มะขามแขก

 

เครื่องยา  ฝักมะขามแขก

 

 

เครื่องยา  ฝักมะขามแขก


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
              ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 5% w/w, ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 12% w/w, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2% w/wใบมีปริมาณสาร sennosides รวม ไม่น้อยกว่า 1% (sennoside A และ sennoside B) (เภสัชตำรับเกาหลี)         

             ใบมีไฮดรอกซีแอนทราซีน กลัยโคไซด์ ไม่น้อยกว่า 2.5% และฝักไม่น้อยกว่า 2.2% (WHO)

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เป็นยาระบายท้อง แก้ท้องผูก ขับลมในลำไส้ ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายพิษไข้ ถ่ายโรคบุรุษ ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวงทวาร ใบทำให้ไซ้ท้องมากกว่าฝัก ควรใช้ร่วมกับตัวยาขับลม เช่นกระวาน หรือกานพลู เป็นต้น เหมาะกับคนที่กำลังน้อย หรือเด็ก และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใช้แก้อาการท้องผูกใช้ ใบแห้งวันละ 3-10 กรัม (1-2 ? กำมือ) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือฝัก 4-5 ฝัก ต้มกับน้ำจำนวนพอเหมาะ ดื่มก่อนนอน

องค์ประกอบทางเคมี:
           ใบ และฝัก มีสารกลุ่มไฮดรอกซีแอนทราซีน กลัยโคไซด์ ได้แก่ sennoside A, B, C, และ D , rhein, aloe emodin, emodin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ช่วยขับถ่ายอุจจาระ ต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านเชื้อแบคทีเรีย  

การศึกษาทางคลินิก:
           ช่วยขับถ่ายอุจจาระในผู้ป่วยท้องผูกได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน สารสกัด 50% เอทานอลจากส่วนเหนือดิน เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรมีค่า LD50 เท่ากับ 681 มก./กก. นน.ตัว สารสกัด 95% เอทานอล ส่วนเหนือดินเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรมีค่า LD50 เท่ากับ 500 มก/กก. นน.ตัว ไม่ปรากฏพิษ

ข้อควรระวัง:  
           1.อาจทำเกิดอาการไซ้ท้อง (ปวดมวนท้อง)
           2.ควรใช้รักษาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราว ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ลำไส้ชินต่อยา ต้องใช้ยาตลอดจึงจะถ่ายได้ จึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุ เช่น รับประทานผักหรืออาหารมีกากใย ดื่มน้ำเพียงพอ ออกกำลังกาย ขับถ่ายให้เป็นเวลา ใช้ยาเท่าที่จำเป็น และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์
           3.การใช้ยาติดต่อกันนานอาจทำให้ระดับอีเลคโตรไลต์ในเลือดต่ำ ร่างกายสูญเสียโปแตสเซียม เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ น้ำหนักลด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุและอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้
           4. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี สตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร สตรีมีประจำเดือน ผู้ป่วยที่เป็นโรคอุดตันในทางเดินอาหารและโรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภชัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทความสมุนไพร

บทความสมุนไพรที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับ มะขามแขก

...

Other Related มะขามแขก

ข้อมูล มะขามแขก จากสารานุกรมวิกิพีเดีย


มะขามแขก สถานะการอนุรักษ์ Not evaluated (IUCN 3.1) การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Fabales วงศ์: Fabaceae วงศ์ย่อย: Caesalpinioideae เผ่า: Cassieae สกุล: Senna สปีชีส์: S.  alexandrina ชื่อทวินาม Senna alexandrina Mill. มะขามแขก (อังกฤษ: Indian Senna,Tinnevelly Senna ) มีทรงต้นเป็นพุ่มหรือกอขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย จะสูงประมาณ 60-150 เซนติเมตร ใบเหมือนกับกับมะขามทั่วไป แต่จะยาวกว่า และที่ปลายใบแหลมกว่า ก้านใบมีใบย่อย ประมาณ 7 คู่ และ ใบมีสีเขียว มีรสเปรี้ยวหวานชุ่ม ยอดของกิ่งจะออกดอกเป็นช่อสีเหลือง จะมีกลีบที่รองดอกและกลีอดอกเกือบมีขนาดที่เท่ากันจำนวน 5 กลีบ ออกผลเป็นฝักลักษณะเหมือนกับถั่วลันเตา แต่จะแบนกว่า กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียวใสตอนยังอ่อน เมื่อแก่จะกลายเป็นสีดำ มีเมล็ดประมาณ 6 เมล็ด มีรสเปรี้ยว ลักษณะของดินและน้ำที่เหมาะสม

ดิน มะขามแขกชอบดินที่มีลักษณะร่อนอุดมสมบูรณ์ น้ำ มะขามแขกเป็นพืชทนแล้ง ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เมื่อเกิดการขังของน้ำจะทำให้รากของมะขามแขกเน่าได้ การปลูก

ใช้เมล็ดหยอดลงหลุม หรือ ใช้ต้นกล้า ไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ ช่วงแรกหมั่นดูแลรักษาให้ดินมีความชุ่มชื่นตลอด เมื่อมะขามแขกเริ่มใหญ่แล้วจากนั้นรดน้ำตามความเหมาะสม ช่วงที่นิยมปลูกเป็นช่วงปลายฤดูฝน ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว

การเก็บใบจะเริ่มการเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 50 วัน โดยตัดยอดเหนือใบแก่ รูดเอาแต่ใบย่อยใส่กระจาด เกลี่ยให้บาง ๆ แล้วนำไปผึ่งไว้ประมาณ 2-5 วัน การเก็บผลจะเก็บเมื่อผลมีอายุได้ประมาณ 20-23 วัน นำมาผึ่งในที่ร่ม โดยแผ่ออกบาง ๆ ผึ่งประมาณ 1-2 วัน แล้วนำไปผึ่งแดดอีกประมาณ 1 วันให้แห้งสนิท แล้วเก็บใสภาชนะที่สะอาดและมิดชิด ประโยชน์

ใบ ใช้ ระบายท้อง ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายพิษไข้ ถ่ายโรคบุรุษ ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวงทวาร ผล ใช้ แก้ท้องผูก แก้ริดสีดวงทวาร ถ่ายพิษไข้ ขับลมในลำไส้ มะขามแขกมีสรรพคุณเป็นยาระบาย เนื่องจากจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารจะเข้าไปย่อยสลายสารเซนโนไซด์เอและบีกลายเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่ไปกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ ทำให้รู้สึกปวดท้องอยากถ่าย แต่คนมักเข้าใจผิดจึงโหมกินยาระบายวันละหลาย ๆ รอบ เมื่อเสียน้ำจากการถ่ายมากๆ ร่างกายก็จะทรุดโทรมลง รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง อาจถึงช็อกจนเสียชีวิตได้ และถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมากๆ จะทำให้ลำไส้ใหญ่นั่นเคยชิน การกินสมุนไพรมะขามแขกในรูปของชาชง ชนิดเม็ด หรือชนิดแคปซูลนั้น ถ้ากินในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อช่วยแก้ปัญหาท้องผูกถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ากินในปริมาณที่มากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน และที่เราต้องทำความเข้าใจกันใหม่นั้นก็คือ ยาระบายเหล่านี้ไม่ช่วยให้ลดความอ้วนได้ เพราะสิ่งที่ถูกขับออกมานั้นเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันก็ยังวนเวียนอยู่ในตัวเราไม่ได้ถูกระบายไปพร้อมกับของเสีย มะขามแขกเป็นเพียงแค่ยาระบายเท่านั้นไม่สามารถนำมากินเพื่อที่จะลดความอ้วนได้ และถ้ากินในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ด้วย อ้างอิง

สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว หน้าที่ 198 โดย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดพิมพ์เนื่องในวานชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มะขามแขก&oldid=7870850"
.

บทความผลวิจัยสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับ มะขามแขก

ดูผลวิจัยสมุนไพรทั้งหมด Click ที่นี่

119

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสารสกัดฝักคูน การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดฝักคูนซึ่งได้จากวิธีชงในหนูถีบจักรพบว่า ขนาดที่ให้ผลในการเป็นยาระบายคือ 100-500 มก./กก./ครั้ง การทดสอบยังพบว่ามีผลต้าน การหดตัวของลำไส้หนูตะเภาที่ตัดแยกจากลำตัวซึ่งเหนี่ยวนำด้วยเฟนโตลามีน (phentolamine) ความเข้มข้น 10-8M การทดสอบความเป็นพิษพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 6.6 ก./กก. เมื่อตรวจสอบชิ้นเนื้อของตับ ไตและลูกอัณฑะ ไม่พบความผิดปกติ แ...

818

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...

สมุนไพรอื่นๆ

100

มะขามแขก
มะขามแขก ชื่อเครื่องยามะขามแขก ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากใบ ฝัก ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะขามแขก ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia acutifolia Del. (Cassia senna L. Senna alexandrina P. Miller) C. angustifolia Vahl. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Caesalpiniaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. angustifolia มีสีเขียวอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวง...

2

กระแจะ
กระแจะ ชื่อเครื่องยากระแจะ ชื่ออื่นๆของเครื่องยาพญายา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระแจะ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)พญายา(กลาง ราชบุรี) ขะแจะ (เหนือ) ตุมตัง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะนาว (มอญ)พุดไทร ชะแจะ กระแจะจัน พินิยา ฮางแกง ชื่อวิทยาศาสตร์Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem. ชื่อพ้องNaringi crenulata (Roxb.) Nicolson., Limonia crenulata ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:          &...

157

พิษนาศน์
พิษนาศน์ ชื่อเครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเหง้า ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาพิษนาศน์ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องSophora violacea var. pilosa ชื่อวงศ์Fabaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:             รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้น...

134

ส้มโอ
ส้มโอ ชื่อเครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเปลือกผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาส้มโอ ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus grandis (L.) Osbeck ชื่อพ้องC.maxima (Burm.f.) Merr., Citrus aurantium L. var. grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่า...

8

กระเทียม
กระเทียม ชื่อเครื่องยากระเทียม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากลำต้นใต้ดิน (หัว) หรือกลีบ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยากระเทียม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)หัวเทียม (ภาคใต้) กะเที้ยม (อีสาน) กระเทียม (ภาคกลาง) หอมขาว กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (ทั่วไป) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativum L. ชื่อพ้องAllium controversum Schrad. ex Willd., Allium longicuspis Regel, Allium ophioscorodon Link, Allium pek...

37

ข่อย
ข่อย ชื่อเครื่องยาข่อย ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากเนื้อไม้ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยาข่อย ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)กักไม้ฝอย ส้มพอ ส้มพล ส้มฝ่อ ซะโยเส่ สะนาย ตองขะแหน่ ขรอย ขันตา ชื่อวิทยาศาสตร์Streblus asper Lour. ชื่อพ้อง ชื่อวงศ์Moraceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เปลือกสีเทาอมเขียว เปลือกในสีขาวหนา ผิวเรียบบาง มักมีขนอยู่โดยทั่วไป มียางขาวข้น เปลือกต้น กระพี้ มีรสเมาฝาดขม เยื่อหุ้มก...

104

มะตูม
มะตูม ชื่อเครื่องยามะตูม ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยามะตูม ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)มะปิน(เหนือ), กะทันตาเถร (ปัตตานี), ตูม(ใต้), บักตูม(อีสาน), ตุ่มตัง (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (กลาง), มะปีส่า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr. ชื่อพ้องBelou marmelos (L.) Lyons, Bilacus marmelos (L.) Kuntze, Crateva marmelos L., Feronia pellucida ชื่อวงศ์Rutaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  &...

116

ราชดัด
ราชดัด ชื่อเครื่องยาราชดัด ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จากผลแก่ ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีคน (อุบลราชธานี) กะดัด ฉะดัด(ใต้) ดีคน(กลาง) กาจับหลัก ยาแก้ฮากขม(เชียงใหม่) พญาดาบหัก(ตราด) เพี้ยฟาน(นครราชสีมา ขอนแก่น) เพียะฟาน(นครศรีธรรมราช) มะลาคา(ปัตตานี) สอยดาว(จันทบุรี) เท้ายายม่อมน้อย มะขี้เหา มะดีควาย ชื่อวิทยาศาสตร์Brucea javanica (L.) Merr. ชื่อพ้องBrucea amarissima ชื่อวงศ์Simaroubaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:  ...

45

งา
งา ชื่อเครื่องยางา ชื่ออื่นๆของเครื่องยางาขาว งาดำ ได้จากเมล็ด ชื่อพืชที่ให้เครื่องยางา ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)งาขาว งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Sesamum indicum L. ชื่อพ้องSesamum orientale ชื่อวงศ์Pedaliaceae ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:            เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม  น้ำมัน รสฝาดร้อน &nbs...

มะขามแขก : สรรพคุณและข้อควรระวัง

มะขามแขก : สรรพคุณและข้อควรระวัง

มะขามแขก : สรรพคุณและข้อควรระวัง

View
สาระยา | มะขามแขก รู้ให้แหลกก่อนคิดใช้ | EP.133

สาระยา | มะขามแขก รู้ให้แหลกก่อนคิดใช้ | EP.133

สาระยา | มะขามแขก รู้ให้แหลกก่อนคิดใช้ | EP.133

View
กินมะขามแขก อันตรายถึงตายได้ งานวิจัยชี้ชัด

กินมะขามแขก อันตรายถึงตายได้ งานวิจัยชี้ชัด

กินมะขามแขก อันตรายถึงตายได้ งานวิจัยชี้ชัด

View
มะขามแขก

มะขามแขก

มะขามแขก

View
น้ำสมุนไพรไทย ต้มดื่มบำรุงกำลัง ทำความสะอาด ล้างลำไส้ มะขามแขก กระเจี๊ยบแดง พุทราจีน Thai herbs

น้ำสมุนไพรไทย ต้มดื่มบำรุงกำลัง ทำความสะอาด ล้างลำไส้ มะขามแขก กระเจี๊ยบแดง พุทราจีน Thai herbs

น้ำสมุนไพรไทย ต้มดื่มบำรุงกำลัง ทำความสะอาด ล้างลำไส้ มะขามแขก กระเจี๊ยบแดง พุทราจีน Thai herbs

View
มะขามแขก สมุนไพรไทย ประโยชน์มากมี

มะขามแขก สมุนไพรไทย ประโยชน์มากมี

มะขามแขก สมุนไพรไทย ประโยชน์มากมี

View
รีวิวยามะขามแขกในเซเว่น แก้ท้องผูก  ll HOW TO & REVIEW

รีวิวยามะขามแขกในเซเว่น แก้ท้องผูก ll HOW TO & REVIEW

รีวิวยามะขามแขกในเซเว่น แก้ท้องผูก ll HOW TO & REVIEW

View
ยาต้มตำรับ แก้ท้องผูก ถ่ายล้างลำไส้ ยาระบายเมือกมัน ช่วยลดน้ำหนักได้

ยาต้มตำรับ แก้ท้องผูก ถ่ายล้างลำไส้ ยาระบายเมือกมัน ช่วยลดน้ำหนักได้

ยาต้มตำรับ แก้ท้องผูก ถ่ายล้างลำไส้ ยาระบายเมือกมัน ช่วยลดน้ำหนักได้

View
EP12สรรคุณของมะขามแขกค่ะ

EP12สรรคุณของมะขามแขกค่ะ

EP12สรรคุณของมะขามแขกค่ะ

View
5 สรรพคุณสุดทึ่ง ของส้มแขก | Nava DIY

5 สรรพคุณสุดทึ่ง ของส้มแขก | Nava DIY

5 สรรพคุณสุดทึ่ง ของส้มแขก | Nava DIY

View

ถามตอบปัญหาสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับมะขามแขก
ดูถามตอบปัญหาสมุนไพรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Click ที่นี่