-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดประจำเดือนจากน้ำมันหอมระเหยของเทียนข้าวเปลือก
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดประจำเดือนจากน้ำมันหอมระเหยของเทียนข้าวเปลือก
การศึกษาทางคลินิกแบบ randomized parallel-group clinical trial เปรียบเทียบฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือก (Fennel drop 2%) และยาแก้ปวดประจำเดือน mefenamic acid ในเด็กนักเรียนหญิงจำนวน 59 คน อายุระหว่าง 18 - 25 ปี และมีอาการปวดประจำเดือนในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (n = 29) รับประทาน Fennel drop 2% จำนวน 25 หยด (1 มล. มีสาร anethole 15.5 มก.) และกลุ่มที่ 2 (n = 30) รับประทานยา mefenamic acid ขนาด 250 มก. ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับสารทดสอบทุกๆ 6 ชม. โดยนักเรียนจะเริ่มได้รับสารทดสอบเมื่อมีอาการปวดประจำเดือน และการทดสอบจะใช้ระยะเวลาในช่วงที่อาสาสมัครมีรอบเดือน จำนวน 2 รอบ จากผลการทดลองพบว่ายา mefenamic acid และ Fennel drop 2% มีประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดไม่แตกต่างกัน แต่มีการรายงานเรื่องกลิ่นและรสชาติที่ไม่น่ายอมรับของน้ำมันหอมระเหยจากนักเรียนจำนวน 20 คน และมี 1 คนรายงานว่ามีประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ แสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือกมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน แต่อาจต้องได้รับการพัฒนาในเรื่องของกลิ่นและรสชาติต่อไป
Iran J Nurs Midwifery Res 2013;18(2):128-32.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ป้องกันตับเสียหายจากแอลกอฮอล์ของสารซาโปนิน
ฤทธิ์ป้องกันตับเสียหายจากแอลกอฮอล์ของสารซาโปนิน (saponin) จากโสมจีนศึกษาฤทธิ์ปกป้องกันตับของสารซาโปนินจากโสมจีน (Panax notoginseng ) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับเกิดความเสียหายด้วยการป้อนเอทานอล 36% พบว่าการป้อนสารซาโปนินขนาดวันละ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 4 สัปดาห์ มีผลลดระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ ได้แก่ alanine aminotransferse (ALT) และ aspartate aminotransferase (AST) ลดระดับ malondialdehyde (MDA) และ reactive oxygen species (ROS) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการเกิดอนุมูลอิสระ...
ผลของสารสกัดมะละกอดิบและมะละกอสุกต่อการหายของแผลและผลต่อหนูที่ตั้งครรภ์
ผลของสารสกัดมะละกอดิบและมะละกอสุกต่อการหายของแผลและผลต่อหนูที่ตั้งครรภ์เมื่อทาสารสกัดน้ำผงแห้ง (freeze-dried powder) ของผนังผลมะละกอดิบ (Green papaya epicarp : GPE) และมะละกอสุก (Ripe papaya epicarp : RPE) ผสมกับน้ำสะอาด (Sterile deionized water) ขนาด 5 มก./มล. ให้กับหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่หลังขนาด 6 มม. โดยใช้ปริมาณ 10 มคล./วัน ทาที่แผล 2 ครั้ง/วัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมให้ทาแผลด้วยน้ำสะอาด (sterile deionized water) และอีกกลุ่มให้ทาด้วยยา solcoseryl ointment และทำการวัดขนาดแผลทุกๆ 72 ชม....
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดภาวะตับแข็งจากการอุดตันของทางเดินน้ำดีของกาแฟ
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดภาวะตับแข็งจากการอุดตันของทางเดินน้ำดีของกาแฟการทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับของกาแฟและสารคาเฟอีนในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับแข็งจากการอุดตันของทางเดินน้ำดี (secondary biliary cirrhosis) ด้วยการผูกท่อน้ำดี (model of chronic bile duct ligation; BDL) เป็นเวลา 28 วัน จากนั้นป้อนสารทางปากคือ กาแฟธรรมดา (conventional coffee) 200 มก./กก./วัน, กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน (decaffeinated coffee) 200 มก./กก./วัน หรือสารคาเฟอีน (caffeine) 50 มก./กก./วัน ติดต่อกันทุกวันนาน 28 วัน ผลการทดลองพบว่า ...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของชิงช้าชาลี
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของชิงช้าชาลี เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำจากรากชิงช้าชาลี (Tinospora cordifolia (D.C.) Miers) แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan ในขนาด 2.5 และ 5 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว โดยให้กินติดต่อกันนาน 42 วัน เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับสารสกัดพบว่า สารสกัดรากชิงช้าชาลีมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะหนู ลดระดับโคเลสเตอรอล กรดไขมันอิสระ และฟอสโฟไลปิดในสมอง เพิ่มระดับฮีโมโกลบิ...
ผลของสาร
ผลของสาร EGCG จากชาเขียวกับการป้องกันโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานทำลายตัวเอง(autoimmune)Life Sciences 2008;83:581-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเอสโตรเจนและฤทธิ์ต้านการอักเสบของพริกหาง
ฤทธิ์ต้านเอสโตรเจนและฤทธิ์ต้านการอักเสบของพริกหาง การทดสอบฤทธิ์ของสาร P9605 ซึ่งเป็นสารสกัดเอทานอลจากพริกหาง ( Piper cubeba ) พบว่ามีฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน โดยสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์ชนิด MCF-7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วยสารเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ aromatase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสารแอนโดรเจน ไปเป็นสารเอสโตร-เจน โดยที่สาร P9605 มีกลไกเข้าแย่งจับกับ estrogen receptor ทั้งชนิดอัลฟาและเบต้า สาร P9605 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยสารดังกล่าวย...
ผลของชาเขียวต่อการรักษาโรคอ้วน
ผลของชาเขียวต่อการรักษาโรคอ้วน โรคอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลระหว่างการได้รับพลังงานและการใช้พลังงาน ซึ่งมีสาเหตุต่างๆ ได้แก่ กรรมพันธุ์ การเผาผลาญพลังงาน ระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติหรือผลรวมๆ หรืออาจจะเกิดจากรับประทานมากเกินไป การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีการจำกัดปริมาณอาหาไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงมีการศึกษาเพื่อหายารักษา ผู้วิจัยกลุ่มนี้ได้ทดลองนำเอา สารสกัดชาเขียวด้วยเอทานอล (80%) ซึ่งมี catechin อยู่ 25% (คำนวณ...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลี (Triticum aestivum) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับยารักษาเบาหวาน metformin และกลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับเมล็ดข้าวสาลี ทำการทดสอบเป็นเวลา 28 วัน หลังจากนั้นเก็บเลือดเพื่อวัดค่าน้ำตาล ทำให้หนูตายแล้วผ่าเพื่อดูอวัยวะภายใน ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดข้าวสาลีมีผลในลดระดับน้ำตาลในเลือด และค่า alb...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดความดันของมันฝรั่งสีม่วง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดความดันของมันฝรั่งสีม่วงการศึกษาแบบให้ครั้งเดียว (single-dose study) ในอาสาสมัคร 8 คน แบ่งให้รับประทานมันฝรั่งสีม่วงอบทั้งเปลือก จำนวน 6-8 ชิ้น (น้ำหนักรวม 138 กรัม) เทียบการรับประทานคุ้กกี้ที่มีแป้งในปริมาณที่เท่ากัน พบว่าการรับประทานมันฝรั่งอบช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนูมูลอิสระดีทั้งในเลือดและในปัสสาวะ ในขณะที่การรับประทานคุ๊กกี้กลับมีผลลดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าว และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบในผู้ป่วยโรคความดันสูงจำนวน 18 คน โดยให้ผู้ป่วยรับประทานมันฝรั่งสีม่วงอบ...