-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์
จากการทดลองพบว่า การให้กลีเซอไรซิน กับหนูขาวชนิด Std ddY ทำให้ลดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทานอาหารได้ จึงทำการทดสอบประเมินผลการรักษาเบาหวานในระยะยาวของ Grz โดยทดสอบในหนูขาว (KK-Ay) ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินทางกรรมพันธุ์ แบ่งสัตว์ทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มให้อาหารที่มี Grz 0.27 % และ 0.41% (ในอาหาร 1กก. มี Grz 2.7 และ 4.1 กรัม ตามลำดับ) หลังจากให้อาหารที่มี Grz นาน 7 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ให้ Grz 0.41% มีผลลดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด ในขณะที่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ให้ Grz 0.27 % ไม่ให้ผล หนูกลุ่มที่ได้รับ Grz 0.27 % และกลุ่มควบคุมกินน้ำปริมาณมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับ Grz 0.41% มีการกินน้ำปกติ Grz มีผลลดระดับอินซูลินในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ ตลอดการทดลองการให้ Grz ไม่มีผลกระทบต่อการกินอาหาร หรือน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม นอกจากนี้ หนูที่ได้รับ Grz 0.41%ยังทำให้เพิ่มความทนทานต่อการให้กลูโคสทางปากในปริมาณมากได้ตลอด 9 สัปดาห์ ของการทดลอง การศึกษานี้แสดงว่า Grz มีฤทธิ์ต้านเบาหวานในแบบจำลองหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
Biol.Pharm.Bull.2001; 24(5): 484-7ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกันการศึกษาผลของตำรับยาแผนโบราณที่มีส่วนประกอบของใบกะเพรา รากชะเอมเทศ และผลมะขามป้อม ที่มีชื่อตำรับยาว่า CIM-Candy เพื่อต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยใช้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายเป็นแอนติเจนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำการศึกษาในหนูเม้าส์จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (vehicle control) ป้อนน้ำกลั่น 10 มล./กก. กลุ่มที่ 2-4 ป้อน CIM-Candy ขนาด 1, 10 และ 100 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (positive contro...
ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อย
ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อยสารสกัดน้ำจากใบอ้อย ความเข้มข้น 1 - 10 มก./แผ่น มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 ที่เหนี่ยวนำด้วยสารก่อกลายพันธุ์ benzo[a]-pyrene และ N-methyl-N′-nitrosoguanidine ได้ สารสกัดที่ความเข้มข้น 0.05 - 0.4 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดโดยดูจากการจับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide) และไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ความสามารถในการรีดิวซ์ (reducing power) ของสารสกัด และการต้านการเกิด lipid pe...
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงของสารสกัดน้ำจากเมล็ดเทียนขาว
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงของสารสกัดน้ำจากเมล็ดเทียนขาวสารสกัดน้ำของเมล็ดเทียนขาว (Cuminum cyminum ) มีฤทธิ์ต้านภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อทดสอบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วยวิธี two-kidney one-clip (2K/1C) โดยให้หนูกินสารสกัดในขนาด 200 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่าสารกัดสามารถยับยั้งการลดลงของ nitric oxide และทำให้ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure; SBP) ลดลง นอกจากนี้ยังทำให้การแสดงออกของยีน endothelial nitric-oxide synthase (eNOS), Bcl-2,...
ผลของสารกัด
ผลของสารกัด EGb 761 จากแป๊ะก๊วยต่อประสิทธิภาพของกระบวนการคิดและการรับรู้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการคิดและการรับรู้ (cognitive function) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน 120 คน (เพศชาย 50 คน และเพศหญิง 70 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 54.87 ± 6.35 ปี) ด้วยวิธี minimental scale examination (MMSE), montreal Cognitive Assessment (MoCa) และ Trial Making Test (TMT) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 85 มีประสิทธิภาพในการคิดและการเรียนรู้ในด้านความสนใจ ระบบความจำระยะสั้น และความรวดเร็...
ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล
ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอดิโพเนคติน ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่ายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 กก./ตรม. แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเซซามินชนิดแคปซูลขนาด 200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาหลอกในขนาด 200 มก./วัน เช่นกัน นาน 8 สัปดาห์ และทำการเจาะเลือดก่อนและหลังการศึกษาเพื่อดูระดับน้ำตาลในเ...
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ จากการทดลองฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ ( Pimpinella anisum Linn. )โดยใช้หลอดลมของหนูที่ถูกทำให้ตีบตัวด้วย methacholineเมื่อให้สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล น้ำมันหอมระเหยและtheophylline ( 1mM ) จะแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมอย่างมีนัยสำคัญ โดยน้ำมันหอมระเหยแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมได้น้อยกว่า theophylline ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ theophylline กลไกในการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องก...
ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของสารสกัดเหง้าขิง
ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของสารสกัดเหง้าขิงการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเหง้าขิงด้วยเอทานอล 70% ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้ข้ออักเสบด้วยการฉีดคอลลาเจน Type 2 (ซึ่งสกัดจากกระดูกอ่อนข้อต่อของวัว) ขนาด 0.1 มล. บริเวณปลายหาง หลังจากนั้น 7 วัน ฉีดสารสกัดจากเหง้าขิงขนาด 50, 100 และ 200 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน เข้าช่องท้องหนูแรททุกวัน เป็นเวลา 25 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงขนาดสูงกว่า 50 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน สามารถทำให้ระดับ Clinical scores ดีขึ้น อุบัติการณ์เกิดโรคข้ออักเสบ, อุณหภูมิภายใ...
ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อม
ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อมการศึกษาฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของสารฟีนอลิกจากผลมะขามป้อม ได้แก่ สาร geraniin, quercetin 3-β-D-glucopyranoside, kaempferol 3-β-D-glucopyranoside, isocorilagin, quercetin และ kaempferol โดยทดสอบด้วยวิธีการวัดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้าม (splenocyte) ของหนู เซลล์ human breast cancer (MCF-7) และเซลล์ human embryonic lung fibroblast (HELF) พบว่าสารฟีนอลิกจากมะขามป้อม มีผลเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้ามตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานและความสามารถในการปกป้องความเสียหายของเม็ดเลือดแดงจาก
ฤทธิ์ต้านเบาหวานและความสามารถในการปกป้องความเสียหายของเม็ดเลือดแดงจาก การเกิดออกซิเดชันของเชอร์รี่หวานจากการศึกษาชนิดและปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกของสารสกัด 70% เอทนอลจากผลของเชอร์รี่หวาน (Prunus aviumจากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ต้านเบาหวาน และฤทธิ์ปกป้องเม็ดเลือดแดงของสารสกัด พบว่าความแรงของฤทธิ์ต่างๆ ขึ้นกับความเข้มข้นของสารสกัด ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันโดยการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (DPPH) และไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) เปรียบเทียบกับวิตามินซีซึ่งเป็นสา...