-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara )
การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ขนาดวันละ 100 มก. / กก. และ 200 มก. / กก. เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มก. / กก. นาน 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่ม เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล โคเลสเตอรอล LDL-C (Low density lipoprotein cholesterol) HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ถูกป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ทั้งสองขนาด และหนูที่ถูกป้อนด้วยยา glibenclamide มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL-C ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย nicotinamide-streptozotocin อย่างไรก็ตามการป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ glibenclamide มีผลเพิ่มปริมาณ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากต้นประทัดใหญ่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้
Phytother Res. 2011; 25: 1806-12ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อระบบประสาทของสาร
ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อระบบประสาทของสาร panaxatriol saponins จากโสมจีน การศึกษาฤทธิ์ของสาร ginsenoside Rg1, R1 และ Re ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม panaxatriol saponins (PTS) ที่แยกได้จากโสมจีน (Panax notoginseng ) ต่อหนูเม้าส์ และเซลล์จากต่อมหมวกไตของหนูแรท (PC12) ซึ่งเซลล์ดังกล่าวเป็นเซลล์ที่ทำให้หยุดการแบ่งตัว แล้วนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพ (differentiate) ด้วย nerve growth factor จนได้เซลล์ที่เป็นรูปแบบของเซลล์ประสาท (neuronal differentiation) เพื่อใช้ทดสอบผลของสารต่างๆ ต่อเซลล์สมอง จากผลการศึกษ...
ผลต่อระดับไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวของสารสกัดหญ้าหนวดแมว
ผลต่อระดับไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวของสารสกัดหญ้าหนวดแมวการทดสอบในหนูเม้าส์ที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูง โดยป้อนสารสกัดเอทานอลจากหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon stamineus Benth.) ขนาด 200 และ 400 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือสาร rosmarinic acid สารสำคัญที่พบในหญ้าหนวดแมว ขนาด 10 มก./กก. ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดเอทานอลจากหญ้าหนวดแมวทั้งสองขนาดมีผลลดน้ำหนักของสัตว์ทดลองอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีผลต่อปริมาณการกินอาหาร แต่กลุ่มที่ได้รับ rosmarinic acid มีน้ำหนักตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรี...
ลูกซัดกับโรคพาร์กินสัน
ลูกซัดกับโรคพาร์กินสันการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองฝ่าย เทียบกับยาหลอก (Double-blind placebo-controlled clinical study) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดมาตรฐานของลูกซัด (Trigonella foenum-graecum Phytother Res 2014;28:172-8. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด
สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด และต้านการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ที่สูบบุหรี่การศึกษาในผู้ชายที่สูบบุหรี่จำนวน 30 คน ที่มีประวัติในการสูบบุหรี่ 20 มวน/วัน นาน 1 ปี หรือมากกว่า และมีสุขภาพดีไม่เป็นโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับเครื่องดื่มที่ไม่มีสารคาทีชิน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับกลาง (80 มก./วัน) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับสูง (580 มก...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของใบมะตูม
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของใบมะตูมศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากใบมะตูม (Aegle marmelosInt J of Res in Pharmacology & Pharmacotherapeutics. 2019;8(1):16-22. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ยับยั้งการซึมของขมิ้น
ฤทธิ์ยับยั้งการซึมของขมิ้น เมื่อทดลองให้สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำในขนาด 140-560 มก./กก. เป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการซึมของหนู และในขนาด 560 มก./กก. มีฤทธิ์แรงกว่า ยาต้านการซึม fluoxetine กระบวนการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการยับยั้ง monoamine oxidase A แต่ขนาดสูง 560 มก./กก. ยับยั้ง monoamine oxidase B แต่ทั้งสารสกัด และ fluoxetine ไม่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำมาใช้ในการลดการซึมในอนาคต J Ethnopharmacol 2002;83:161-5 ข้...
ผลของน้ำมันจากเซนต์จอห์นเวิร์ตในการดูแลและรักษาแผลกดทับ
ผลของน้ำมันจากเซนต์จอห์นเวิร์ตในการดูแลและรักษาแผลกดทับการศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 82 ปี ที่นอนรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู และเกิดแผลกดทับบริเวณกระเบนเหน็บและก้นกบ (sacro-coccygeal area) โดยใช้สารสกัดที่ได้จากการหมักส่วนเหนือดินของต้นเซนต์จอห์นเวิร์ต (Hypericum perforatum L.) ที่กำลังออกดอก ทาบริเวณที่เป็นแผล วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 40 วัน วัดผลการศึกษาจากขนาดของแผลและลักษณะทางพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อ พบว่าน้ำมันจากดอกเซนต์จอห์นเวิร์ต ทำให้แผลมีขนาดลดลง เซลล์เยื่อบุผิว (squamous cells) มีจำนวนและขนาดเพ...
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในตับอ่อนของมะระ
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในตับอ่อนของมะระการศึกษากลไกการออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดน้ำจากผลมะระ (Momordica charantia ) ในตับอ่อนที่แยกได้จากหนูแรท ซึ่งอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีน้ำตาลกลูโคส 3.3 และ16.7 มิลลิโมลาร์ พบว่าประสิทธิภาพในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดจะขึ้นกับขนาดที่ให้ โดยสารสกัดไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของเซลล์ (cell integrity) จึงคาดว่าการออกฤทธิ์ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane integrity) การทดสอบโดยการเติมสาร dizoxide และ nimodipi...
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาผลของการรับประทานโสมแดงต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในอาสาสมัครหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี จำนวน 72 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม (กลุ่มละ 36 คน) กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลโสมแดง 500 มก. (ประกอบด้วยสารสกัด ginsenosides 10 มก.) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดที่...