Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

สารสำคัญในชะเอมจีนกับฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก

การสกัดชะเอมจีน (Glycyrrhiza uralensis ) ด้วยเทคนิค supercritical fluid extract ทำให้ได้สารในกลุ่ม isoflavonoids และ coumarins รวมทั้งสารใหม่อย่าง glycycarpan ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม pterocarpan และได้สาร isoflavan-quinones, licoriquinone A และ licoriquinone B ที่เกิดจากการเปลี่ยนสภาพของ licoricidin (1) และ licorisoflavan A (2) การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก พบว่าสาร 1 และ 2 มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ดี โดยมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Streptococcus mutans  และ Streptococcus sobrinus  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรฟันผุ รวมทั้งยับยั้งเชื้อ Porphyromonas gingivalis, Prevotella intermedia  และ Fusobacterium nucleatum  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหงือกด้วย

J Nat Prod 2011;74(12):2514-9

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

623

ผลของสารสกัดจากแปะก๊วยต่อภาวะสมองขาดเลือด
ผลของสารสกัดจากแปะก๊วยต่อภาวะสมองขาดเลือดการศึกษาผลของสารสกัด EGb 761 จากแปะก๊วย (Gingko biloba  ) ในหนูแรทเพศผู้ โดยให้หนูได้รับ EGb 761 ขนาด 100 มก./กก. ก่อนทำเกิดภาวะสมองขาดเลือดโดยการทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองส่วนกลางอุดตัน (middle cerebral artery occlusion) และหลังจากนั้นเป็นเวลา 24 ชม. จึงเก็บสมองในส่วน cerebral cortex มาทดสอบ ซึ่งก่อนหน้านี้พบว่า EGb 761 สามารถลดบริเวณของเนื้อตายและจำนวนของ TUNEL-positive cells (ตัวบ่งชี้ว่าเซลล์สมองถูกทำลาย) ใน cerebral cortex อันเนื่องมาจากกา...

592

ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อระบบประสาทของสาร
ฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อระบบประสาทของสาร panaxatriol saponins จากโสมจีน การศึกษาฤทธิ์ของสาร ginsenoside Rg1, R1 และ Re ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม panaxatriol saponins (PTS) ที่แยกได้จากโสมจีน (Panax notoginseng  ) ต่อหนูเม้าส์ และเซลล์จากต่อมหมวกไตของหนูแรท (PC12) ซึ่งเซลล์ดังกล่าวเป็นเซลล์ที่ทำให้หยุดการแบ่งตัว แล้วนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพ (differentiate) ด้วย nerve growth factor จนได้เซลล์ที่เป็นรูปแบบของเซลล์ประสาท (neuronal differentiation) เพื่อใช้ทดสอบผลของสารต่างๆ ต่อเซลล์สมอง จากผลการศึกษ...

620

ฤทธิ์ของสารสกัดและสารสำคัญจากบัวบกต่อการทำงานของเอ็นไซม์
ฤทธิ์ของสารสกัดและสารสำคัญจากบัวบกต่อการทำงานของเอ็นไซม์ Cytochrome P450การศึกษาผลของสารสำคัญ 3 ชนิดของบัวบกคือ asiaticoside, asiatic acid, medecassic acid และสารสกัดจากตัวทำละลาย 4 ชนิดคือ เอทานอล น้ำ ไดคลอโรมีเทนและ เฮกเซน ต่อการแสดงออกของ cytochrome P450 (CYP 450) ทั้ง 3 isoform (CYP2C9, CYP2D6 และ CYP3A4) พบว่า สารสกัดจากบัวบกด้วยเอทานอลและไดคลอโรมีเทนทำปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ CYP2C9 ได้ดีกว่า CYP2D6 และ CYP3A4 ส่วนสารสกัดด้วยน้ำและเฮกเซนไม่สามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ CYP450 ทั้ง 3 isoform...

275

ผลในการปกป้องตับของสารสกัดจากผลมะขามป้อม
ผลในการปกป้องตับของสารสกัดจากผลมะขามป้อมสารสกัด 50% เอทานอลจากผลมะขามป้อม ความเข้มข้น 0.5 และ 1 mg/ml เมื่อทดลองในเซลล์ตับของหนูขาวที่ถูกทำลายด้วยเอทานอล พบว่าสารสกัดสามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์การมีชีวิต (cell viability) ของเซลล์ และลดการปลดปล่อยเอนไซม์ alanine transaminase (ALT) ได้ เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษเฉียบพลันต่อตับ โดยการป้อนสารสกัดขนาด 25, 50 และ 75 mg/kg และ silymarin ขนาด 5 mg/kg ก่อนการให้เอทานอล (5g/kg) 4 ชม. พบว่าสารสกัดและ silymarin จะลดระดับของเอน...

1211

ฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมจากใบบร็อคโคลี่
ฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมจากใบบร็อคโคลี่การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมของส่วนสกัดคลอโรฟอร์มจากใบบร็อคโคลี่ (Brassica oleracea var. italica ; CBL) ในหลอดทดลองพบว่า CBL สามารถปกป้องเซลล์สมองและมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และการทดสอบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติต่อการเรียนรู้และความจำจากการได้รับสาร amyloid beta (Aβ) โดยทำการทดสอบด้วย Y-maze, passive avoidance และ Morris water maze tests พบว่า CBL สามารถยับยั้งความผิดปกติดังกล่าวได้ นอกจากนี้ CBL ยังมี...

280

สารสกัดกลีบดอกของหญ้าฝรั่นในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
สารสกัดกลีบดอกของหญ้าฝรั่นในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสารสกัดกลีบดอกหญ้าฝรั่นด้วย 80% เอทานอล ขนาด 15 มก./แคปซูล เมื่อนำมาทดสอบในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ทั้งเพศชาย-หญิง อายุระหว่าง 18-55 ปี จำนวน 40 คน ซึ่งไม่ได้รับยาที่รักษาโรคทางจิตมาก่อนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนทำการศึกษา โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดกลีบดอกหญ้าฝรั่น ขนาด 30 มก./วัน (รับประทานเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แคปซูล) ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (รับประทานเช้า-เย็น ครั้งละ ...

718

สารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งกับฤทธิ์ต้านเอนไซม์
สารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งกับฤทธิ์ต้านเอนไซม์ xanthine oxidaseการทดสอบสารสกัด 80%เอทานอลจากใบของมะกอกฝรั่ง (Olea europaea  L.) พบว่าสารในกลุ่ม phenolics ที่แยกได้มีฤทธิ์ต้าน xanthine oxidase (XO) ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเก๊าท์ โดยสาร flavone aglycone apigenin ออกฤทธิ์แรงที่สุดเมื่อเทียบกับยา allopurinol ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าท์ และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารสกัดที่ได้ประกอบด้วย phenolic secoiridoid oleuropein (24.8%), caffeic acid (1.89%), luteolin-7-O-β-D-gluc...

1608

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ตะไคร้ และพิมเสนต้นการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม (citronella oil), ตะไคร้ (lemongrass oil) และพิมเสนต้น (patchouli oil) ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว 2 ชนิด ได้แก่ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis พบว่าน้ำมันพิมเสนต้น มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และ S. epidermidis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 1.25-2.5 มก./มล. รอง...

1659

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านมการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทางและมีการสุ่ม (randomized, double-blind clinical trial) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินิน (Linum usitatissimium) ในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม ในผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 20-50 ปี จำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเต้านม (mastalgia) ในระดับปานกลางถึงรุนแรง (ค่าระดับความปวดซึ่งวัดด้วย visual analog scale (VAS) มากกว่า 4) ร่วมกับการมีก้อนหรือถุงน้ำขนาดเล็กในเต้านม (breas...