Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบสะเดาต่อยาต้านมาลาเรีย artesunate

การศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดน้ำจากใบสะเดา (Azadirachta indica A.Juss.) ก่อนการได้รับยาต้านมาลาเรีย artesunate โดยป้อนด้วยสารสกัดน้ำจากใบสะเดา ขนาด 100 และ 200 มก./กก. ตามลำดับ ให้แก่หนูเม้าส์เพศผู้ ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นป้อนด้วยยา artesunate ขนาด 10 มก./กก. ต่ออีก 5 วัน ผลการศึกษาพบว่าระดับค่าชีวเคมีในเลือดที่บ่งถึงความผิดปกติของตับและไต ได้แก่ alanine aminotransferase, gamma glutamyltransferase, urea, creatinine, interleukin 1β และ tumor necrosis factor α ในสัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดจากใบสะเดาก่อนการได้รับยามีค่าเพิ่มขึ้น 16.5, 21.7, 9.2, 6.9, 9.1 และ 9.1% ตามลำดับ ระดับของ malondialdehye เพิ่มขึ้น 57.8% ในขณะที่กลูต้าไธโอนซึ่งทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระในตับมีค่าลดลง 13.4% นอกจากนี้ผลจากการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของตับ พบการคั่งของเลือดและเกิดเซลล์ตายแบบ necrosis ในเนื้อเยื่อตับเฉพาะในสัตว์ทดลองกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากใบสะเดาร่วมกับยา artesunate การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดน้ำจากใบสะเดาก่อนการได้รับยาต้านมาลาเรีย artesunate ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับและไต และอาจเป็นประโยชน์ในการการจัดลำดับของการรับประทานสมุนไพรและยาในอนาคต

Toxicol Res Appl. 2021:5;1-10.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

823

ผลของการรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดตรในภาวะที่เป็นโรคเบาหวาน
ผลของการรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดตรในภาวะที่เป็นโรคเบาหวานศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด lophenol (Lo) และ Cycloartanol (Cy) จากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยทำการทดลองเลี้ยงหนูแรท 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ทุกกลุ่มให้อาหารที่มีไขมันสูง (high-fat diet containing 60kcal %fat) ตลอดการทดลอง ในสัปดาห์ที่ 3 ของการเลี้ยง หนูกลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนด้วยสารสกัด Lo และ Cy ขนาดวันละ 1 มล. (25 มค./กก.วัน) ตามลำดับ...

1564

ยาสีฟันผสมสารสกัดโรสแมรีต่อสุขภาพช่องปาก
ยาสีฟันผสมสารสกัดโรสแมรีต่อสุขภาพช่องปากการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครจำนวน 110 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารสกัดเอทานอลของโรสแมรี (Rosmarinus officinalis; rosemary) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาสีฟันตามท้องตลาดทั่วไป เป็นระยะเวลา 30 วัน ทำการประเมินสภาวะโรคเหงือกอักเสบโดยใชดัชนีเหงือกอักเสบ (gingival bleeding index; GBI) และดัชนีคราบจุลินทรีย์ (plaque index) ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโรสแมรีสามารถลดความเสี่ยงของอาการเลือดออกบริเวณเหงือกได้...

1283

ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ
ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ การต้านออกซิเดชัน และการต้านการอักเสบการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครสุขภาพดี 45 คน อายุ 56.0±11.6 ปี ที่มีค่าการทำงานของตับ transaminase ระหว่าง 20-40 UI/L โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และ 2 ให้รับประทานสารสกัดมาตรฐานของบ๊วย (Prunus mume) ขนาด 150 และ 300 มก./วัน ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดบ๊วยมีฤทธิ์ปกป้องตับโดยลดปริมาณของ alanine aminotransferase (ALT) ร้อยละ 47...

234

ผลของ
ผลของ mangiferin ต่อการป้องกันรังสี หนูถีบจักรที่ได้รับสาร mangiferin จากมะม่วง ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 1, 2, 5, 10, 17.5, 25, 50, 75 และ 100 มก./กก. ก่อนได้รับรังสีแกมม่า 10 Gy จะช่วยป้องกันการเกิดอาการเจ็บป่วยและตายเนื่องจากรังสีได้ ที่ความเข้มข้น 2 มก./กก. จะให้ผลในการป้องกันสูงที่สุด และจะลดลงเมื่อความเข้มข้นสูงขึ้น และสารความเข้มข้น 2 มก./กก. จะเท่ากับ 1/200 ของความเข้มข้นของสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% คือ 400 มก./กก. Phytomedicine 2005;12:209-15 ข้อมูลอ้างอิงจา...

1222

ฤทธิ์ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของแตงกวา
ฤทธิ์ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของแตงกวาทดลองให้หนูแรทกินผงแตงกวาที่ได้จากการนำน้ำคั้นของแตงกวา (Cucumis sativus L.) ไปผ่านความร้อนอุณหภูมิ 80°C เป็นเวลา 40 นาที แล้วทำให้เป็นผงแห้งที่อุณหภูมิ -20°C ขนาด 10, 100 และ 500 มก./กก. ทั้งในช่วงก่อน, หลัง และระหว่างที่ป้อนแอลกอฮอล์เข้มข้น 22% ให้แก่หนูแรท ผลการทดลองพบว่า การกินผงแตงกวาทุกขนาดในช่วงก่อนป้อนแอลกอฮอล์ 30 นาที มีผลลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหนูลงในชั่วโมงที่ 7 ของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีผลเพิ่มการทำงานของเอนไ...

91

สารสกัดลูกใต้ใบยืดอายุหนูที่เป็นมะเร็งตับ
สารสกัดลูกใต้ใบยืดอายุหนูที่เป็นมะเร็งตับ หลังจากทำให้หนูขาวเป็นมะเร็งตับด้วยการให้กินสาร เอน-ไนโตรโซไดเอทิลเอมีน (N-nitrosodiethylamine, NDEA) นาน 20 สัปดาห์แล้ว จึงให้สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดิบลูกใต้ใบ ( Phyllanthus amarus Schum. ) ในขนาด 150 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 54 สัปดาห์ หรือจนสัตว์ทดลองตาย พบว่าสารสกัดลูกใต้ใบสามารถยืดอายุสัตว์ทดลองที่เป็นมะเร็งตับโดยมีอายุเฉลี่ย 52.2 + 2.3 สัปดาห์ ในขณะที่สัตว์ทดลองกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดมีอายุเ...

1572

การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติ
การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติการศึกษาทางคลินิก (controlled acute, cross-over clinical study) ผลของการรับประทานกากองุ่น (Vitis vinifera L., cv Tempranillo; grape) และทับทิม (Punica granatum L., cv Mollar de Elche; pomegranate) ต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 20 คน อายุ 40-60 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test; OGTT) 75 กรัม หลังจากรับประทานกากองุ่นและ...

99

คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ ผู้ป่วยโรคลมชักมักมีปัญหาการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง และจากยาที่ใช้รักษา การทดลองให้ยารักษาโรคลมชัก เฟนิโตอิน (phenytoin) แก่หนูถีบจักรในขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 14 วัน มีผลลดการเรียนรู้และความจำ แต่เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์จากพรมมิ (Bacopa monnieri Pennell) ร่วมด้วยทุกวันในขนาด 40 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยให้ตลอดสัปดาห์ที่สองของการให้ยาเฟนิโตอิน...

622

ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ
ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen)สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของน้ำเชื้อและปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชายชาวเดนมาร์ค 2554 คน ในปี ค.ศ. 2001-2005 โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ และขอเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคคาเฟอีนปริมาณขนาดปานกลาง (101-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และบริโภคเครื่องดื่มโคล่าไม่เกิน 14 ขวดต่อสัปดาห์ (ขวดขนาด 0.5 ลิตร) เปรียบเทียบกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณน้อย (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน)...