-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของแคลลัสและสารสกัดใบรางจืด
การศึกษาเปรียบเทียบสารสำคัญและฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) ของสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (callus culture) ของใบรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) และสารสกัดใบรางจืดด้วยน้ำเดือด เมทานอล และ 80% เมทานอล ทำการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ด้วยการบ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหนูแรท (rat skeleton muscle: L6 cell) ร่วมกับสารสกัดจากใบรางจืด ความเข้มข้น 100-400 มคก./มล. เป็นเวลา 24 ชม. ผลพบว่าสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสรางจืดมีฤทธิ์ดีที่สุดในการกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ โดยชักนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพิ่มขึ้น 28.25-58.27% และมีผลเพิ่มการแสดงออกของ AMPK-α2 และ GLUT4 mRNA ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ รองลงมาคือสารสกัดเมทานอลจากใบรางจืด สารสกัด 80% เมทานอล และสารสกัดน้ำเดือดจากใบ ตามลำดับ สอดคล้องจากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยวิธี HPLC ที่พบว่าสารสกัดเมทานอลจากแคลลัสมีปริมาณสารสำคัญในกลุ่มกรดฟีนอลลิก (caffeic acid, rosmarinic acid) และสารฟลาโวนอยด์ (rutin, apigenin) มากที่สุด โดยเฉพาะสาร rosmarinic acid พบถึง 11.50 มก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งสูงกว่าสารสกัดเมทานอลจากใบถึง 96 เท่า และไม่พบสารนี้ในสกัดจากน้ำเดือด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแคลลัสที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารสำคัญที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลมากกว่าใบรางจืดที่พบตามธรรมชาติ
J Food Process Preserv. 2021;45:e15434.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของผักเสี้ยนผีทั้งต้น ไปทดสอบในหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการบีบตัว และขับเคลื่อนของเสียออกจากร่างกายอย่างแรง จึงเป็นไปได้ว่าสารสกัดผักเสียนผีมีฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียได้จริงตามที่มีการใช้ในยาแผนโบราณ Phytomedicine 2002;9:739-2 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
สาร
สาร capsaicin จากพริกหยวกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระการศึกษาในหนูถีบจักร โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำมันมะกอกตลอดการทดลอง กลุ่มที่ 2 ได้รับ Benzo (a) pyrene ขนาด 50 มก./กก. ละลายในน้ำมันมะกอก ป้อนทางสายยางให้อาหารทางปากวันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ซึ่งขนาดของ Benzo (a) pyrene ที่ 50 มก./กก. จะเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งปอด กลุ่มที่ 3 ได้รับสาร capsaicin ขนาด 10 มก./กก. ละลายในน้ำมันมะกอกแล้วฉีดเข้าช่องท้องของหนูวันละ 1 ครั้ง นาน 14 สัปดาห์ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่ม...
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger จากเหง้าว่านน้ำการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ ใบ Birch-Leaved Cat Tail (Acalypha fruticose), ใบตำแยแมว (Acalypha indica), ใบมะตูม (Aegle marmelos), ใบเสนียด (Adhatoda vasica), ใบรัก (Calotropis gigantean), ใบทองหลางลาย (Erythrina indica), ใบคนทีเขมา (Vitex negundo), ใบยี่โถ (Nerium oleander), ใบมะขามเทศ (Pithecellobium dulce), เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus) และน้ำมันหอมระเหยของว่านน้ำ (ได้จากการสกัดเหง้าว่านน้ำด้วยวิธีกลั่นด้วยน้ำ) โดยนำมาสก...
สารสกัดบัวบกสามารถลดระดับ
สารสกัดบัวบกสามารถลดระดับ amyloid beta ในสมองส่วน hippocampus ของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์การศึกษาของสารสกัดบัวบกในการลดระดับ amyloid beta ในสมองส่วน hippocampus ในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ (PSAPP, mice Presenilin amyloid precursor protein) โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงสั้น ระยะเวลาในการทดลอง 60-120 วัน ใช้สารสกัดบัวบกขนาด 2.5 และ 5.0 ก./กก./วัน ป้อนให้กับหนู PSAPP อายุ 60 วัน นาน 60-120 วัน ในขณะที่ช่วงยาวป้อนสารสกัดบัวบกนาน 240-300 วัน และเปรียบเทียบกั...
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืด
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืดการศึกษาผลของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ต่อหนูเม้าส์ที่ถูกเนี่ยวนำให้เป็นโรคหอบหืด โดยการฉีดโปรตีนจากไข่ขาว (Ovalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เข้าทางช่องท้อง 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 14 ของการทดลอง ด้วยขนาด 20 มคก. ของ Ovalbumin ที่ดูดซับอยู่ใน albumin hydroxide 1.0 มก. ในวันที่ 20-22 ของการทดลอง หนูเม้าส์จะได้รับการฉีดสารสกัดจากโสมเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ขนาด 20 มก./กก. และในวันที่ 20-22 หลังจากฉีดสารสกัดจากโสม 10 นาที หนูเม...
ฤทธิ์ป้องกันแสงแดดและต้านอนุมูลอิสระของตะลิงปลิง
ฤทธิ์ป้องกันแสงแดดและต้านอนุมูลอิสระของตะลิงปลิงการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของสารสกัดเอทานอลจากใบตะลิงปลิงพบว่า ประกอบด้วยสารฟีนอลิค 42.22±0.44 มก. GAE/ก. และฟลาโวนอยด์ 41.38±1.31 มก. RE/ก. การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด พบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบตะลิงปลิงเข้มข้น 100, 200 และ 300 ppm มีค่า SPF (sun protection factor) เท่ากับ 3.98±0.16, 7.26±0.22 และ 10.64±0.66 ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การเกิดผื่นแดง (% erythema transmission) และการเกิดเม็ดสี (% pigmentation transmission)...
ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Entamoeba histolytica ของขลู่สาร R/J/3 (2-(prop-1-ynyl)-5(5,6-dihydroxyhexa-1,3-diynl)-thiophene) แยกได้จากสารสกัดด้วยเมทานอลจากรากขลู่ (Pluchea indica ) ที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อปรสิต Entamoeba histolytica ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หลังจากเชื้อปรสิตสัมผัสกับสาร R/J/3 นาน 2 ชั่วโมง จะเกิดแกรนูลในเซลล์ปรสิตระยะ tropozoites ตามมาด้วยการแตกของเซลล์ และเซลล์จะแตกเกือบหมดในเวลา 4 ชั่วโมง ในขณะที่ยา metronidaz...
ฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของอินทผลัม
ฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของอินทผลัม (Phoenix dactylifera )ศึกษาฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของสารสกัดน้ำจากเมล็ดอินทผลัม ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับเสียหายจากการฉีดสาร carbon tetrachloride (CCl44) 2 ครั้ง/สัปดาห์ ในกลุ่มที่ 3 ป้อนสาร silymarin ขนาดวันละ 50 มก./กก. น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 4 ป้อนสารสกัดน้ำเมล็ดอินทผลัมขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว และในกลุ่มที่ 5 ป้อนสารสกัดน้ำเมล็ดอิทผลัมที่ผ่านการคั่วแล้วขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว นาน 4 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างเลือดหนูเพื่อนำมาตรวจ...
ผลของชาใบรางจืดต่อความสมดุลของกลูโคสในร่างกายของอาสาสมัครสุขภาพดี
ผลของชาใบรางจืดต่อความสมดุลของกลูโคสในร่างกายของอาสาสมัครสุขภาพดีการศึกษาผลต่อสมดุลของกลูโคส (glucose homeostasis) ในร่างกาย และความปลอดภัยในการใช้ของชาใบรางจืดในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 20 คน อายุ 20-60 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ให้อาสาสมัคร จำนวน 10 คน ดื่มชาใบรางจืด ขนาด 9 ก./วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ชา 1 ถุง ประกอบด้วยผงใบรางจืด 1 ก.) หลังจากนั้นให้อาสาสมัครอีก 10 คนที่เหลือ ดื่มชาใบรางจืด ขนาด 12 ก./วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร พบว่าการดื่มชาใบรางจืดทั้ง ...