Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์คลายความกังวลของโสมอินเดีย

การศึกษาฤทธิ์คลายความกังวลของของสาร docosanyl ferulate (DF) จากรากโสมอินเดีย (Withania somnifera (WS) (L.) Dunal) ด้วยการฉีดสาร DF ขนาด 0.05, 0.25 และ 2 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังให้แก่หนูเม้าส์ เปรียบเทียบกับยา diazepam ขนาด 2 มก./กก. เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านความวิตกกังวลด้วยวิธี elevated plus maze ผลการทดสอบพบว่าสาร DF มีฤทธิ์คลายความกังวลและถูกยับยั้งได้โดยยา flumazenil ยากลุ่ม benzodiazepine antagonist ได้เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยา diazepam นอกจากนี้ยังสาร DF ไม่มีผลต่อการทรงตัว การเรียนรู้จดจำ และการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อทดสอบด้วยวิธี static rods, novel object recognition และ place conditioning รวมถึงไม่มีผลเสริมอาการซึมเศร้าจากการเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล (ethanol induced loss of righting reflex) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร docosanyl ferulate จากรากโสมอินเดียมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวลได้เช่นเดียวกับยากลุ่ม benzodiazepine โดยไม่พบอาอาการข้างเคียงต่อการทรงตัว ความสามารถในการจดจำ และภาวะจิตใจ และอาจใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรควิตกกังวลได้

J Psychopharmacol. 2021;1-8.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1564

ยาสีฟันผสมสารสกัดโรสแมรีต่อสุขภาพช่องปาก
ยาสีฟันผสมสารสกัดโรสแมรีต่อสุขภาพช่องปากการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครจำนวน 110 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารสกัดเอทานอลของโรสแมรี (Rosmarinus officinalis; rosemary) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาสีฟันตามท้องตลาดทั่วไป เป็นระยะเวลา 30 วัน ทำการประเมินสภาวะโรคเหงือกอักเสบโดยใชดัชนีเหงือกอักเสบ (gingival bleeding index; GBI) และดัชนีคราบจุลินทรีย์ (plaque index) ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโรสแมรีสามารถลดความเสี่ยงของอาการเลือดออกบริเวณเหงือกได้...

260

สารออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากมะระขี้นก
สารออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากมะระขี้นก เมื่อให้หนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan กินส่วนสกัดด้วยอีเทอร์และส่วนสกัดด้วย ethyl acetate จากสารสกัดเมทานอลของผลมะระขี้นก ขนาด 500 มก./กก. พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับยา glibenclamide ขนาด 200 มก./กก. และแยกส่วนสกัดทั้ง 2 ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟฟี จะได้สารออกฤทธิ์คือ 5b, 19-epoxy-3b, 25-dihydroxycucurbita-6,23(E)-diene และ 3b-7b,25-trihydroxycucurbita-5,23(E)-dien-19-al ซึ่งพบปริมาณสูงในส่วนสกัดทั้งสอง เมื่อให้...

855

สารสกัดชาเขียวสามารถลดความดันโลหิต
สารสกัดชาเขียวสามารถลดความดันโลหิต ต้านการอักเสบ ลดการเกิดออกซิเดชั่น และลดภาวะการต่อต้านอินซูลินในผู้ป่วยโรคอ้วน และความดันโลหิตสูงการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดทั้งสองฝ่ายเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน และมีความดันโลหิตสูง จำนวน 56 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดชาเขียว 1 แคปซูล/วัน มีสารสกัดชาเขียว 379 มก./แคปซูล กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก ในขนาดที่เท่ากัน นาน 3 เดือน หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดชาเขียวระดับความดันโลหิต (ทั้ง s...

224

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Piperine สาร piperine ที่พบในพริกขี้หนู มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหนูตะเภาที่เป็นมะเร็งปอด สาร piperine ขนาด 50 มก./กก. เมื่อให้หนูกินพร้อมกับสารก่อมะเร็ง Benzo(a)pyrene หรือให้กินหลังจากได้รับสารก่อมะเร็ง พบว่าสามารถลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันในไมโตคอนเดรีย และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione, reduced glutathione วิตามินซี และวิตามินอี ในไมโตคอนเดรียของปอดและตับ จึงเป็นไปได้ว่า piperine อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง (Phytomedicine 2004;11:8...

1067

ฤทธิ์แก้ปวดของอัญชัน
ฤทธิ์แก้ปวดของอัญชันศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของอัญชัน (Clitoria ternatea Linn.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยการฉีดกรด อะซีติก (acetic acid) เข้าทางช่องท้อง ในการทดลองแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ป้อนยาแก้ปวด diclofenac ขนาด 10 มก./กก. นาน 30 นาที ก่อนฉีดกรดอะซีติก กลุ่มที่ 4 และ 5 ป้อนสารสกัดเมทานอลใบอัญชันขนาด 200 และ 400 มก./กก. ตามลำดับ นาน 30 นาที ก่อนฉีดกรดอะซีติก จากนั้นสังเกตพฤติกรรมการบิดงอตัวของหนู ซึ่งเป็นอาการแสดงออกถึงความเจ็บปวด...

901

สาร
สาร Carandinol สารกลุ่ม Isohopane triterpene ชนิดแรกจากใบของต้นมะนาวไม่รู้โห่และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์ในการต้านเซลล์มะเร็งสาร Carandinol เป็นสารกลุ่ม triterpene ชนิดใหม่ที่แยกได้จากใบของต้นมะนาวไม่รู้โห่ ร่วมด้วยสารประกอบอีก 5 ชนิดที่เคยมีรายงานไว้ได้แก่ betulinicacid, b-sitosterol-3-O-b-D-glucopyranoside, oleanolic acid, ursolic acid และ 4-hydroxybenzoic acid ลักษณะโครงสร้างของสาร Carandinol คือ 3β,21α-adihydroxyisohopane ซึ่งวิเคราะห์อย่างละเอียดด้วย Spectroscopic สำหรับสาร...

1463

ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และฤทธิ์ต้านการอักเสบของเปปไทด์ที่แยกได้จากโปรตีนในถั่วเหลืองที่กำลังงอก
ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และฤทธิ์ต้านการอักเสบของเปปไทด์ที่แยกได้จากโปรตีนในถั่วเหลืองที่กำลังงอก ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1169

ฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผักปลัง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผักปลังการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ของสารสกัดน้ำจากใบของผักปลัง (Basella rubraAPJCP 2016;17:73-80 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1315

ผลของการรับประทานอัลมอนด์ต่อระดับกรดยูริกในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผลของการรับประทานอัลมอนด์ต่อระดับกรดยูริกในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 150 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 50 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับอัลมอนด์ กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานเมล็ดอัลมอนด์จากปากีสถาน กลุ่มที่ 3 ให้รับประทานเมล็ดอัลมอนด์จากอเมริกา ขนาด 10 กรัม/วัน โดยนำเมล็ดอัลมอนด์แช่น้ำ 1 คืน แล้วนำมารับประทานก่อนอาหารเช้าทุกวัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานเมล็ดอัลมอนด์ระดับกรดยูริก ลดลง โดยในสัปดาห์ที่ 6 ของการศึกษา กลุ่มที่ไ...