Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การใช้เมล็ดลินินร่วมกับสาร hesperidin ช่วยบรรเทาภาวะไขมันพอกตับ

การศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม มีกลุ่มควบคุมคู่ขนาน และไม่ปกปิด ( randomized, parallel controlled, open-label clinical trial) เพื่อศึกษาผลของการใช้เมล็ดลินิน (Linum usitatissimum) ร่วมกับสาร hesperidin (สารกลุ่ม flavonoid พบได้มากในพืชตระกูลส้ม) ในการรักษาภาวะไขมันพอกตับ ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) จำนวน 100 คน โดยสุ่มแยกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน กลุ่มที่ 1 เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (lifestyle modification program) (กลุ่มวบคุม) กลุ่มที่ 2 เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและรับประทานผงเมล็ดลินิน 30 ก./วัน กลุ่มที่ 3 เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและรับประทานสาร hesperidin 1 ก./วัน และกลุ่มที่ 4 เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและรับประทานผงเมล็ดลินิน 30 ก./วันร่วมกับสาร hesperidin 1 ก./วัน ทำการศึกษานาน 12 สัปดาห์ ประเมินผลโดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของขนาดร่างกาย (anthropometric parameters), การเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน (metabolic profiles of glucose and lipids), ตัวชี้วัดการอักเสบในร่างกาย (inflammatory biomarkers), การสะสมไขมันและการเกิดพังผืดภายในตับ (hepatic steatosis and fibrosis) หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า ทุกกลุ่มมีค่าดัชนีมวลกาย, ค่าน้ำตาลในเลือด, และการสะสมไขมันในตับลดลงอย่างชัดเจน กลุ่มที่ได้รับเมล็ดลินินและ/หรือสาร hesperidin มีระดับ alanine aminotransferase, ความดื้อต่ออินซูลิน, ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร และดัชนีการเกิดภาวะไขมันพอกตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองทำให้สรุปได้ว่า เมล็ดลินินและสาร hesperidin สามารถช่วยให้การเผาผลาญน้ำตาลและไขมันของผู้ป่วย NAFLD ดีขึ้น รวมทั้งช่วยลดการอักเสบและการสะสมไขมันในตับ และการให้เมล็ดลินินร่วมกับสาร hesperidin จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ดีขึ้น และให้ผลดีกว่าการใช้เมล็ดลินินหรือสาร hesperidin เพียงอย่างเดียว

Eur J Clin Nutr. 2021;75:99-111.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

94

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์ จากการทดลองพบว่า การให้กลีเซอไรซิน กับหนูขาวชนิด Std ddY ทำให้ลดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทานอาหารได้ จึงทำการทดสอบประเมินผลการรักษาเบาหวานในระยะยาวของ Grz โดยทดสอบในหนูขาว (KK-Ay) ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินทางกรรมพันธุ์ แบ่งสัตว์ทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มให้อาหารที่มี Grz 0.27 % และ 0.41% (ในอาหาร 1กก. มี Grz 2.7 และ 4.1 กรัม ตามลำดับ) หลังจากให้อาหารที่มี Grz ...

60

ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของโสม
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของโสม สารประกอบ acetylenic 16 ชนิด ได้แก่ panaxynol , panaxydol , panaxydol chlorohydrin , panaxytriol , panaxyne epoxide , ginsenoynes A , C , D, E , H , I , J , K , panaxynol linoleate , panaxydol linoleate , ginsenoyne A linoleate ซึ่งแยกได้จากรากโสม ( Panax ginseng CA. Meyer ) แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของหนูและคนในหลอดทดลอง ( in vitro ) และพบว่าสาร panaxydol มีฤทธิ์แรงกว่า 5-fluorourasil และ ci...

1345

อันตรกิริยาของขมิ้นชันกับยากดภูมิคุ้มกันในการยับยั้งเอนไซม์
อันตรกิริยาของขมิ้นชันกับยากดภูมิคุ้มกันในการยับยั้งเอนไซม์ calcineurin มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษที่ไตรายงาน case report ของชายไทยอายุ 56 ปี ที่มีประวัติทำการปลูกถ่ายตับ และได้รับยา tacrolimus ขนาด 0.5 mg. รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้ร่างกายปฏิเสธการเปลี่ยนถ่ายตับ ซึ่งหลังจากเปลี่ยนถ่ายตับเสร็จจนอาการปลอดภัยแล้ว แพทย์ได้ให้ผู้ป่วยกลับบ้าน โดยได้เจาะเลือดดูระดับ tacrolimus ในเลือด มีค่าเท่ากับ 9.7 ng./ml. ซึ่งอยู่ในระดับปกติ และระดับครีเอตินิน (creatinine) ...

202

Carotenoids
Carotenoids จากพริกหยวก (Capsicum annuum) ป้องกันตับจากการถูกทำลายด้วย Carbon tetrachloride การทดลองคาโรตินอยด์กับเซลล์ตับหนู ที่เหนี่ยวนำให้อักเสบด้วย carbon tetrachloride พบว่า คาโรตินอยด์ และสารสกัดจากพริกหยวก สามารถลดระดับของ glutamic pyruvic transaminase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ปล่อยออกมาเมื่อตับเป็นพิษได้ นอกจากนี้พบว่าหลังจากหนูได้รับ carbon tetrachloride ปริมาณของ aminotransterase และ lipid peroside ในตับจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากนั้นเมื่อให้ capsanthin และ beta-cryptoxanthin ...

1261

พิษต่อเซลล์มะเร็งของสาร
พิษต่อเซลล์มะเร็งของสาร kazinol A จากปอกระสา (Broussonetia papyrifera)การศึกษาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะคนชนิด T24 และ T24R2 (เซลล์ที่ดื้อต่อยา cisplatin) ของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ kazinol A, broussochalcone B, flavonol, papyriflavonol A, และ 3-(3-methylbut-2-enyl)-3,4,7-trihydroxy flavane ที่แยกได้จากรากปอกระสา พบว่าสาร kazinol A ที่ความเข้มข้น 20 ไมโครโมลาร์ มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิดมากที่สุด และกลไกการออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสาร kazinol A คือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในระยะ...

989

เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล
เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล (Bioavailability) ของสารเคอร์คูมินเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งสารเคอร์คูมินจากขมิ้นมีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อการรักษาโรคและอาการต่างๆ แต่ชีวประสิทธิผล (bioavailability) หรือสัดส่วนของสารที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งจะเป็นตัวพาสารไปสู่บริเวณที่ออกฤทธิ์ ของสารเคอร์คูมินยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ เนื่องจากสารเคอร์คูมินมีความสามารถในการละลายในน้ำที่ต่ำ การศึกษาครั้งนี้จึงทดสอบนำสารเคอร์คูมินรวมตัวกับอนุภาคนาโนซิลิกาเพื่อปรับปรุงให้มีการละลายดีขึ้นส่งผลให้สารที่จะเ...

1454

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่า
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับข่าส่วนใหญ่นิยมศึกษาส่วนเหง้าเพราะเป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยาหรืออาหาร แต่ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาสารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่า (Alpinia galanga) พบว่าดอกข่ามีพฤกษเคมีที่แตกต่างจากส่วนเหง้าอย่างชัดเจน สารที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากส่วนดอกเป็นส่วนใหญ่คือสาร pentadecane และ α-humulene และพบว่าสาร 1′-acetoxyeugenol acetate เป็นสารที่พบได้มากที่สุดในส่วนสกัดเมทานอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ดี โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามาร...

1566

การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมัน
การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันการศึกษาผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่ง (Pisidium guajava L.; guava) ต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันบนใบหน้า (anti sebum) โดยคัดเลือกสูตรโทนเนอร์พื้นฐานที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการประเมินความชอบ (preference test) ด้วยค่าความพึงพอใจ 83.20 ± 1.85% มาพัฒนาเป็นตำรับโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมสารสกัดใบฝรั่ง 3% 4.5% และ 6% พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีและไม่ก่ออาการระคายเคืองในอาสาสมัคร และการศึกษาทาง...

622

ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ
ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen)สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของน้ำเชื้อและปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชายชาวเดนมาร์ค 2554 คน ในปี ค.ศ. 2001-2005 โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ และขอเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคคาเฟอีนปริมาณขนาดปานกลาง (101-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และบริโภคเครื่องดื่มโคล่าไม่เกิน 14 ขวดต่อสัปดาห์ (ขวดขนาด 0.5 ลิตร) เปรียบเทียบกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณน้อย (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน)...