-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม
การศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทางและมีการสุ่ม (randomized, double-blind clinical trial) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินิน (Linum usitatissimium) ในการบรรเทาความผิดปกติของเต้านม ในผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 20-50 ปี จำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเต้านม (mastalgia) ในระดับปานกลางถึงรุนแรง (ค่าระดับความปวดซึ่งวัดด้วย visual analog scale (VAS) มากกว่า 4) ร่วมกับการมีก้อนหรือถุงน้ำขนาดเล็กในเต้านม (breast fibrocystic and nodularity) โดยสุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะได้รับวิตามินอีขนาด 200 IU วันละ 2 ครั้ง และกลุ่มที่ 2 จะได้รับน้ำมันเมล็ดลินินขนาด 1,000 มก. (ประกอบด้วย α-linolenic acid 350 มก.) วันละ 2 ครั้ง โดยจะรับประทานหลังอาหาร ทำการทดสอบนาน 2 เดือน โดยประเมินความปวดด้วย Cardiff chart และ VAS ทุก 2 สัปดาห์ และประเมินการกระจายตัวของก้อนในเต้านมด้วย Lucknow-Cardiff scale ที่ระยะเวลา 0, 1, และ 2 เดือน พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีความปวดลดลง โดยค่าเฉลี่ยความปวดไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ความปวดในช่วงที่มีรอบเดือนทั้ง 4 ระยะคือ menstruation phase, follicular phase, สัปดาห์แรกของ luteal phase, และสัปดาห์ที่ 2 ของ luteal phase ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน การกระจายตัวของก้อนในเต้านม (breast nodularity) ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มลดลง และให้ผลไม่แตกต่างกัน การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (86%) ไม่เกิดความผิดปกติใดๆ แต่มีการรายงานว่าผู้ป่วยกลุ่มละ 5 คน เกิดภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วย 3 คน เกิดอาการแพ้เล็กน้อย และผู้ป่วย 1 คน เกิดอาการคลื่นไส้และท้องเสีย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า วิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเต้านมและลดการกระจายตัวของก้อนในเต้านมได้ โดยการใช้ในขนาดและระยะเวลาดังกล่าว วิตามินอีและน้ำมันเมล็ดลินินมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน
J Pharm Health Care Sci. 2021;7:4ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากเมล็ดลูกซัด(Trigonella foenum graceum) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการป้อนยา indomethacin ขนาด 20 มก./กก.) แบ่งหนูแรทเป็นกลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 200, 400 มก./กก. และกลุ่มที่ป้อนยา rantidine ขนาด 30 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุมที่เป็นหนูปกติ และหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารแต่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าห...
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดเทียนดำในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดเทียนดำในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาทางคลินิกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 45-60 ปี ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มแรก จำนวน 19 คน ให้รับประทานแคปซูลผงเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa ) ขนาด 1 กรัม หลังอาหารเช้าทุกวัน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 18 คน ให้รับประทานยาหลอก ทดสอบเป็นเวลา 2 เดือน ทำการวัดระดับไขมันในเลือดก่อนเริ่มการทดสอบ ช่วงระหว่างการทดสอบ 1 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดสอบ และหลังจากสิ้นสุดการทดสอบ 1 เดือน ผลการทดสอบพบว่า เทียนดำช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไตร...
เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน
เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน ในตำรายาแผนโบราณทั่วโลกโดยเฉพาะตุรกีมีการใช้ใบเทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่ง (parsley) รักษาโรคเบาหวาน จากการศึกษาทางพฤกษเคมีพบว่าเทียนเยาวพานีมีสารสำคัญคือ flavanoids, ascorbic acid, น้ำมันหอมระเหย, coumarines, phthalides, furanocoumarins และ sesquiterpenes เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในระยะยาวมักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจรวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ ในการศึกษานี้จึงนำสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำร้อนของเที...
ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์
ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์แม้การบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเพียงพอ ซึ่งผู้บริโภคอาจไม่ทราบถึงผลต่อร่างกายจากการบริโภคชาเขียว มีรายงานว่าในชาเขียวพบสารโพลีฟีนอล Epigallocatechin 3-gallat (EGCG) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแต่การบริโภคในปริมาณสูงก็อาจส่งผลเสียต่อตับได้ การศึกษาเพื่อทดสอบผลของสารสกัดชาเขียวในหนูเม้าส์ ทั้งในหนูปกติและหนูที่ถูกชักนำให้เป็นไข้ด้วยสาร lipopolysaccharide (LPS) และส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (health...
สารสกัดเมล็ดลูกซัดช่วยลดอาการหมดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี
สารสกัดเมล็ดลูกซัดช่วยลดอาการหมดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี< 0.001) โดยประเมินจากปัจจัย 4 ด้าน คือ การเกิดอาการร้อนวูบวาบ จิตวิทยาทางสังคม (psychosocial) ด้านกายภาพ (physical) อาการเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (sexual symptoms) ซึ่งทั้ง 4 ด้าน มีอาการดีขึ้นอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นพบว่ากลุ่มที่รับประทานสารสกัดเมล็ดลูกซัด โดยพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลดลงของอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางวัน (daytime hot flushes) กับการลดลงของภาวะเหงื่ออกมากในตอนกลางคืน หลังรับประทาน...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องตับของสาร
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องตับของสาร procyanidins จากเปลือกอัลมอนด์สาร procyanidins ที่สกัดได้จากเปลือกอัลมอนด์ (almond skins) ความเข้มข้น 10, 25 และ 50 มคก./มล. มีฤทธิ์เพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษและการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย (phase II detoxifying and antioxidant enzymes) ได้แก่ NAD(P)H:quinoneoxidoreductase 1, catalase, glutathione peroxidase, และ superoxide dismutase เพิ่มการแสดงออกของยีนของ nuclear factor-E2-related factor 2 (Nrf2) และ antioxidant response elem...
สาร
สาร zerumbone จากเหง้ากระทือสามารถยับยั้งการเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และปอดการศึกษาแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ใช้หนูเม้าส์เพศผู้ 85 ตัว แบ่งหนูออกเป็น 8 กลุ่ม โดยหนูจะได้รับสาร azoxymethane (AOM) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วน colon ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว ฉีดเข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 7 วัน ให้กินน้ำที่มีส่วนผสมของ dextran sulphate sodium (DSS) 1.5% (w/v) นาน 7 วัน หลังจากนั้นอีก 7 วัน ให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone จากเหง้ากระทือ นาน 17 สัปดาห์ ซึ่งกลุ่มที่ 1 (20 ...
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ (Xanthium strumarium )J Ethnopharmacol. 2014; 155(1): 248-55 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของสาร
ผลของสาร sulforaphane ในบร็อคโคลี่กับการป้องกันผิวจากรังสี UVศึกษาผลป้องกันผิวจากรังสี UV ในหนูถีบจักรของสารสกัดน้ำจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ (ที่มีปริมาณของ sulforaphane 0.5 ไมโครโมล) โดยทาสารสกัด ขนาด 100 นาโนโมล/ตร.ซม. ที่ผิวด้านหลังของหนูถีบจักร ติดต่อกันนาน 3 วัน ก่อนฉายรังสี UVB ความเข้มข้น 700 mJ/ cm2 นาน 24 ชม. พบว่าสารสกัดมีผลลดอาการบวมและอักเสบที่ผิวหนังของหนู นอกจากนี้สาร sulforaphane บริสุทธิ์ และสารสกัดจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ ยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ myeloperoxidase ที่เพิ่มขึ้นเมื่อ...