Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของการรับประทานเมล็ดลินินต่อการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ

การศึกษาทางคลินิกแบบไม่ปกปิด มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (open-labelled randomised controlled trial) เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเมล็ดลินิน (Linum usitatissimum L.) ต่อการอักเสบของผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ (ulcerative colitis; UC) ในระดับอ่อนถึงระดับปานกลาง (mild-to-moderate UC) จำนวน 90 คน โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับเมล็ดลินินบด (grounded flaxseed) 30 ก./วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำมันเมล็ดลินิน (flaxseed oil) 10 ก./วัน และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับลินินทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับ high sensitivity C-reactive protein (hs-CRP; เป็นตัวบ่งชี้การเกิดการอักเสบในร่างกาย) และค่า Mayo score (เป็นตัวชี้วัดความรุนแรงของภาวะลำไส้อักเสบ) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) ในขณะที่คะแนนในแบบประเมินคุณภาพชีวิต (IBDQ-9 score) ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับลินินทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับ interleukin-10 (IL-10; เป็นสารต้านการอักเสบในร่างกาย) ในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการศึกษา แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและได้รับลินิน ค่า Mayo score จะลดลงมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และในระยะเวลที่ทำการทดสอบ (12 สัปดาห์) สารทดสอบทุกกลุ่มไม่มีผลต่อระดับ mRNA ของ Toll-like receptor-4 (TLR-4; เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบในผู้ป่วย UC) จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การรับประทานเมล็ดลินินบดหรือน้ำมันเมล็ดลินิน อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบได้

Int J Clin Pract. 2021;75:e14035.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1165

กลไกการออกฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดจากดอกบัว
กลไกการออกฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดจากดอกบัว3) ของดอกบัว (Nelumbo nucifera Geartn.) โดยทำการแยกสารสำคัญต่างๆ ออกมาด้วยวิธีทางเคมีพบว่ามีสารในกลุ่ม aporphines 3 ชนิด คือ nuciferine, N-nor-nuciferine, asimilobine, สารในกลุ่ม benzyltetrahydroisoquinoline (BTIQ) 5 ชนิด คือ armepavine, O-methylcoclaurine, N-methylcoclaurine, coclaurine, neferine และกรดไขมันที่ผสมกันระหว่าง linoleic และ palmitic acids อัตราส่วน 1:1 การศึกษาในหลอดทดลองเพื่อดูการเข้าจับกับตัวรับ cannabinoid (CB1, CB2) และ opioid delta [...

503

ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดี
ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดีการศึกษาในอาสาสมัครผู้ชายที่มีสุขภาพดี จำนวน 20 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 37.3 ± 6.8 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 23.7 ± 3.7 กก./ม2 อาสาสมัครทุกคนรับประทานสารสกัดเมล็ดคำฝอยชนิดแคปซูลวันละ 2 ครั้งๆ ละ 5 แคปซูล โดยให้รับประทานภายหลังอาหารเช้า - เย็น 30 นาที ภายใน 1 วัน จะได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอยทั้งหมด 2.1 กรัม (210 มก./แคปซูล) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุพันธ์ของสาร serotonin 290 มก./วัน นาน 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุดพ...

1549

สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิ
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิการศึกษาความเป็นพิษต่ออสุจิของสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya) โดยเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิจากอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 35 คน จากนั้นนำมาบ่มในหลอดทดลองร่วมกับอาหารเลี้ยง human tubular fluid และ 1% bovine serum albumin ซึ่งมีสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอความเข้มข้น 0, 0.025, 0.25, 2.5, 25, 250 และ 2,500 มคก./มล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง และวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยเครื่อง Sperm Class Analyzer (SCA, version 4.1...

1566

การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมัน
การศึกษาทางคลินิกผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่งต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันการศึกษาผลของโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบฝรั่ง (Pisidium guajava L.; guava) ต่อการยับยั้งน้ำมันจากต่อมไขมันบนใบหน้า (anti sebum) โดยคัดเลือกสูตรโทนเนอร์พื้นฐานที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการประเมินความชอบ (preference test) ด้วยค่าความพึงพอใจ 83.20 ± 1.85% มาพัฒนาเป็นตำรับโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมสารสกัดใบฝรั่ง 3% 4.5% และ 6% พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีและไม่ก่ออาการระคายเคืองในอาสาสมัคร และการศึกษาทาง...

1601

ฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบจากรากมะเดื่อหอม
ฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบจากรากมะเดื่อหอมการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบของสาร ficuside A และสาร methyl 2-hydroxybenzoate-2-O-β-D-apiofuranosyl-(1 → 2)-O-β-D-glucopyranoside ซึ่งแยกได้จากรากมะเดื่อหอม (Ficus hirta Vahl.) ในเซลล์ไมโครเกลีย (microglia cell) ชนิด BV2 พบว่า สารทั้ง 2 ชนิดสามารถยับยั้งกระบวนการ phosphorylation ของ AKT, JNK, และ ERK1/2 ได้ นอกจากนี้ สาร methyl 2-hydroxybenzoate-2-O-β-D-apiofuranosyl-(1 → 2)-O-β-D-glucopyranoside ยังสามารถยับยั้งกระบวนการ ...

858

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสำคัญจากขิง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสำคัญจากขิงการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร hexahydrocurcumin, 1-dehydro-[6]-gingerdione, 6-dehydroshogaol และ 6-shogaol ที่แยกได้จากขิง (Zingiber officinale ) พบว่า เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picyrlhydrazyl (DPPH) radical-scavenging และ trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) assays ลำดับความแรงของฤทธิ์ดังกล่าวเป็นดังนี้ 1-dehydro-[6]-gingerdione, hexahydrocurcumin > 6-shogaol > 6-dehydro...

6

ผลการยับยั้งเอนไซม์
ผลการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ของผักกาดน้ำ กรดเออโซลิก (Ursolic acid) เป็นสารต้านการอักเสบที่แยกได้จากผักกาดน้ำ (Plantago major Linn.) ให้ผลยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase COX-2 isoenzyme เมื่อทดลองในหลอดทดลอง มีค่า IC50 130mM ในขณะที่ IC50 สำหรับ COX-1 isoenzyme เท่ากับ 210 mM ค่าคงทนเฉพาะเจาะจง (selectivity) ต่อ COX-2 เท่ากับ 0.6 ใกล้เคียงกับ NS-398 ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ ความเฉพาะเจาะจงต่อการยับยั้ง COX-2 isoenzyme จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาใน...

335

ผลของโปรตีนจากถั่วเหลืองที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
ผลของโปรตีนจากถั่วเหลืองที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (ปริมาณ LDL ≥ 3.36 mmol/L) จำนวน 28 คน รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อ ไก่ ไข่ และนมวัว เปรียบเทียบกับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง แป้งถั่วเหลือง และนมถั่วเหลือง นาน 6 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มมีค่าความดันเลือด การทำงานของเยื่อบุหลอดเลือด ปริมาณ total cholesterol, VLDL-cholesterol, triglyceride,...

157

เปรียบเทียบสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก
เปรียบเทียบสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก alloxan มีการศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศอินเดียชนิดต่างๆ 30 ชนิดที่มีการใช้เพื่อลดน้ำตาลในเลือด ศึกษาโดยใช้สารสกัดเอทานอล 95% ทำให้แห้ง นำมาศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยใช้สารสกัดขนาด 250 มก./กก. 1 ครั้ง, 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้งต่อวันจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงจนถึงระดับปกติเมื่อสัตว์ทดลองอดอาหาร พบว่าสมุนไพร 24 ชนิดที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเรียงลำดับ...