-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำ
การทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดกระชายดำที่มีสาร methoxyflavone ในปริมาณสูง (methoxyflavone-enriched extract of Kaempferia parviflora; MKE) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin เข้าทางช่องท้อง โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับ 0.2%sodium carboxymethylcellulose (CMC) กลุ่มที่ 3 และ 4 ได้รับ MKE ขนาด 150 และ 300 มก./กก./วัน ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 ได้รับยามาตรฐาน glibenclamide ขนาด 5 มก./กก./วัน ทำการทดสอบนาน 8 สัปดาห์ พบว่า MKE ทั้ง 2 ขนาดสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมทั้ง 2 กลุ่มอย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยา glibenclamide (MKE ทั้ง 2 ขนาดให้ผลใกล้เคียงกัน) MKE ช่วยปกป้อง Islets of Langerhans จากการถูกทำลาย โดยทำให้จำนวนเซลล์ของ Islets เพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้ความหนาแน่นของอินซูลิน (insulin density) ในตับอ่อนเพิ่มขึ้น ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide กลุ่มที่ได้รับ MKE และยา glibenclamide มีปริมาณ malondialdehyde (MDA) ในตับลดลง แต่ผลที่ได้มีความชัดเจนเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide นอกจากนี้ MKE ยังช่วยปกป้องไตจากภาวะของเบาหวานโดยทำให้ความเสียหายของท่อหน่วยไต (renal tubule) และการตายของเซลล์ (cell necrosis) ในไตลดลง แสดงให้เห็นว่าสารสกัดกระชายดำที่มีสาร methoxyflavone ในปริมาณสูงอาจมีฤทธิ์ต้านเบาหวานและช่วยป้องกันความผิดปกติของไตที่เกิดจากภาวะเบาหวานได้
Songklanakarin J Sci Technol. 2020;42(6):1239-47.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับของสารไดออสซิน
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับของสารไดออสซินสารไดออสซิน (Dioscin) เป็นสานในกลุ่มสเตียรอยด์ ซาโปนิน ที่พบได้ในพืชหลายชนิดโดยเฉพาะในพืชสกุลเดียวกับกลอย การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ในหลอดทดลองพบว่า สารไดออสซินสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ เซลล์มะเร็งตับชนิด Bel-7402 และ HepG2 ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และเมื่อศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับชนิด Bel-7402 ก็พบว่าสารไดออสซินทำให้เซลล์เกิดการตายแบบอะพอพโตซิส (apoptosis) ...
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิต
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิตเมื่อป้อนอาหารที่มีสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 0.5% ให้กับหนูขาวที่มีอายุมากและมีความดันโลหิตสูง (Spontaneously Hypertensive Rat) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักตับต่อน้ำหนัก ตัว 100 กรัม เพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 เท่า ขณะที่น้ำหนักตัวไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนและอัลบูมินในเลือด,ระดับ AST (aspartate aminotransferase)ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับ ALT (alanine aminotransferase) ในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.2 เท่า, ...
การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่
การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่สาร sulforaphane เป็นสารสารสำคัญที่พบได้ในพืชผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) โดยเฉพาะในต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย อย่างไรก็ตามมีรายงานการวิจัยบางส่วนระบุว่าสาร sulforaphane มีฤทธิ์กระตุ้น transcription factor ชนิด Nrf2 ที่ส่งผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ซึ่งการได้รับสารดังกล่าวเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของโรค hypo...
ผลของการรับประทานอาหารจากถั่วเหลืองสามารถลดความวิตกกังวลได้
ผลของการรับประทานอาหารจากถั่วเหลืองสามารถลดความวิตกกังวลได้ ทำการศึกษาในหนูถีบจักรเพศผู้ อายุ 5 สัปดาห์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และ 2 ให้กินอาหารสูตรควบคุม และสูตรที่ทำจากถั่วเหลือง ตามลำดับ นาน 28 วัน กลุ่มที่ 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารสูตรควบคุม และสูตรที่ทำจากถั่วเหลือง นาน 28 วัน และฉีดสาร m-chlorophenylpiperazine (m-CPP ขนาด 2.5 มก./กก. ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความเครียดวิตกกังวล) เข้าทางช่องท้อง ก่อนทำการวัดพฤติกรรมของหนู เป็นเวลา 30 นาที ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว...
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิ
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease; IBD) ของเห็ดออรินจิ (Pleurotus eryngii) ในหนูเม้าส์ โดยหนูจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ด้วย dextran-sodium-sulfate (DSS) จากนั้นจะได้รับอาหารมาตรฐาน AIN-93G ที่มีส่วนผสมของผงเห็ดออรินจิขนาด 0, 1.5%, หรือ 3% w/w (เทียบเท่าคนหนัก 60 กก.รับประทานเห็ดแห้งน้ำหนัก 5-15 ก./วัน) พบว่าผงเห็ดออรินจิสามารถบรรเทาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้ โดยสามารถลด disease index, เพิ่มความยาวของลำ...
ผลของการบริโภคน้ำมันมะพร้าวต่อค่าชีวเคมีและสัดส่วนของร่างกาย
ผลของการบริโภคน้ำมันมะพร้าวต่อค่าชีวเคมีและสัดส่วนของร่างกายการศึกษาแบบ Randomized, double-blind, clinical trial ในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันมะพร้าว วันละ 30 มล. ร่วมกับการรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำและการออกกำลังกายโดยการเดินวันละ 50 นาที เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อทำการวัดค่าชีวเคมีและสัดส่วนของอาสาสมัครหลังจบการทดลอง 1 สัปดาห์พบว่าทั้งสองกลุ่มมีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง แต่เฉ...
ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ
ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกร็ดเลือดของ adenineAdenine ซึ่งสกัดแยกได้จากใบชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดที่เหนี่ยวนำด้วย collagen ได้ดี แต่ยับยั้ง AD ได้เพียงเล็กน้อย(Biol Pharm Bull 2003;26(9):1361-4) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลป้องกันความเป็นพิษต่อหัวใจของเกากีฉ่าย
ผลป้องกันความเป็นพิษต่อหัวใจของเกากีฉ่ายDoxorubicin เป็นสารที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง แต่มีผลข้างเคียงคือ เป็นพิษต่อหัวใจ จึงได้มีการศึกษาผลป้องกันความเป็นพิษต่อหัวใจของเกากีฉ่ายในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วย doxorubicin โดยป้อนสารสกัดน้ำจากเกากีฉ่าย ขนาด 25 มก./กก. ให้หนูทุกวัน นาน 3 สัปดาห์จากนั้นจึงฉีด doxorubicin ขนาด 5 มก./กก เข้าทางหลอดเลือดดำของหนูในวันที่ 7, 14 และ 21 ของการทดลอง พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากเกากีฉ่ายก่อนให้ doxorubicin จะมีการตายลดลง น้ำหนักหัวใจ และอัตรา...
ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ
ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ การต้านออกซิเดชัน และการต้านการอักเสบการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครสุขภาพดี 45 คน อายุ 56.0±11.6 ปี ที่มีค่าการทำงานของตับ transaminase ระหว่าง 20-40 UI/L โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และ 2 ให้รับประทานสารสกัดมาตรฐานของบ๊วย (Prunus mume) ขนาด 150 และ 300 มก./วัน ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดบ๊วยมีฤทธิ์ปกป้องตับโดยลดปริมาณของ alanine aminotransferase (ALT) ร้อยละ 47...