-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของการใช้เลมอนในสุคนธบำบัดต่อความดันโลหิต
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของการใช้เลมอนในสุคนธบำบัดต่อความดันโลหิต การเปลี่ยนแปลงค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความวิตกกังวล ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
การศึกษาทางคลินิกผลของการใช้เลมอน (Citrus limon; lemon) ในสุคนธบำบัด (aromatherapy) ต่อความดันโลหิต การเปลี่ยนแปลงค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) และความวิตกกังวล โดยทำการทดสอบในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) จำนวน 100 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่ได้รับการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากเลมอน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 3 วัน วัดค่าความดันโลหิต การเปลี่ยนแปลงค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความวิตกกังวล ผลการทดสอบพบว่าค่าความดันโลหิต systolic ระหว่างสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน ค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST-segment และ T wave มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงวันที่ 3 และวันที่ 4 หลังจากทดสอบ อัตราการเต้นของหัวใจและความวิตกกังวลระหว่างสองกลุ่มมีความแตกต่างกันในวันที่ 4 หลังจากทดสอบ จากการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากเลมอนมีผลลดความดันโลหิต ความวิตกกังวล และการเปลี่ยนแปลงค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST-segment และ T wave ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
Complement Ther Clin Pract. 2020;39:101155.doi:10.1016/j.ctcp.2020.101155.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ผลของความร้อนในการสกัดกระเจี๊ยบแดงต่อสารสำคัญและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidaseการเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัดกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa Linn.) ที่ได้จากการสกัดผงกระเจี๊ยบแดงแห้ง 2 กรัม ด้วยน้ำกลั่น 200 มล. โดยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ 1. วิธีต้ม (ต้มผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำเดือดนาน 5 นาที) 2. วิธีชง (เติมน้ำเดือดลงในผงกระเจี๊ยบแดง แช่ทิ้งไว้ 5 นาที) และ 3. วิธีหมัก (หมักผงกระเจี๊ยบแดงในน้ำโดยกวนน้ำที่ความเร็ว 100 รอบ/นาที นาน 5 นาที และเก็บไว้ที่อุณหภ...
สารสกัดแป๊ะก๊วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในภาวะสมองเสื่อม
สารสกัดแป๊ะก๊วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในภาวะสมองเสื่อมศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba ) ต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และการทำงานของสมองในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม โดยทำการทดลองในหนูแรท 48 ตัวที่ผ่านการทดสอบพฤติกรรมการเรียนรู้และความจำด้วยวิธี Y-maze test จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม (กลุ่มละ 8 ตัว) กลุ่มที่ 1 ฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้อง (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ฉีดสาร D -galactose เข้าทางช่องท้องเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมขนาดวันละ 100 มก./...
ฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ
ฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ (Coleus aromaticus )ศึกษากระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ (Coleus aromaticus ) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 32 คน (เพศชาย 24 คน และ เพศหญิง 8 คน) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 8 คน โดยในแต่ละกลุ่มให้มีอาสาสมัครเพศชาย 6 คน และอาสาสมัครเพศหญิง 2 คน) กลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 - 4 ให้ดื่มน้ำคั้นสดใบเนียมหูเสือความเข้มข้น 12, 18 และ 24% ตามลำดับ โดยให้ดื่มขนาด 170 มล. หลังจากนั้น 30 นาทีทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์ค่าทาง...
ผลของสตรอเบอรี่ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวในคนอ้วน
ผลของสตรอเบอรี่ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวในคนอ้วนการศึกษาผลของสตรอเบอรี่ในคนอ้วน ชายและหญิง (ดัชนีมวลกาย 37.5 %plusmn; 2.15กก./ตร.ม2) ที่มีภาวะ metabolic syndrome (คือ กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความผิดปกติของไขมัน ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด) อายุเฉลี่ย 47 %plusmn; 3 ปี จำนวน 27 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มสตรอเบอรี่แห้ง ขนาด 4 ถ้วย/วัน (เท่ากับผงสตรอเบอรี่แห้ง 50 ก. หรือสตรอเบอรี่สดประมาณ 3 ถ้วย) จำนวน 15 คน ...
การป้องกันรังสีจากลูกใต้ใบ
การป้องกันรังสีจากลูกใต้ใบ หนูถีบจักรที่กินสารสกัด 75% เมทานอลจากส่วนเหนือดินของลูกใต้ใบขนาด 750 และ 250 มก./กก. ก่อนฉายรังสี 5 วัน และกินต่อหลังจากฉายรังสีอีก 1 เดือน พบว่าสารสกัดจากลูกใต้ใบป้องกันผลจากการฉายรังสีได้ หนูถีบจักรจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวเซลล์ไขกระดูก และการทำงานของ alpha-esterase เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด นอกจากนี้ยังช่วยต้านการเกิดออกซิเดชั่น โดยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione-S-transferase, glutathione peroxidase และ glutath...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหัวผักกาด
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหัวผักกาด ทดลองให้สารสกัดน้ำจากใบหัวผักกาด (Raphanus sativus Linn.) ในหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) และหนูขาวแรกเกิดอายุ 2 วัน ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (NIDDM) ด้วย streptozocin โดยให้กินในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกวันตอนเช้านาน 4 และ 6 สัปดาห์ตามลำดับ เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่า สารสกัดน้ำจากใบหัวผัก...
ผลของน้ำมันหอมระเหยจากข่าคมต่อระบบไหลเวียนของโลหิต
ผลของน้ำมันหอมระเหยจากข่าคมต่อระบบไหลเวียนของโลหิต มีผู้นำเอาน้ำมันหอมระเหยจากใบข่าคมไปตรวจสอบผลต่อระบบไหลเวียนของโลหิต พบว่าทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง ซึ่งฤทธิ์นี้เนื่องมาจากสาร terpinen-4-ol ซึ่งเป็นสารที่พบมากในน้ำมันหอมระเหยนี้ จากการศึกษาพบว่าเมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยทางหลอดเลือดให้หนูที่สลบ และหนูปกติ พบว่าในหนูที่สลบทำให้ความดันโลหิตลดลงปานกลางในลักษณะสัมพันธ์กับขนาดที่ให้ ส่วนผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ พบว่ามีผลในหนูที่สลบเฉพาะเมื่อให้ขนาดสูง 10 และ 2...
ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Entamoeba histolytica ของขลู่สาร R/J/3 (2-(prop-1-ynyl)-5(5,6-dihydroxyhexa-1,3-diynl)-thiophene) แยกได้จากสารสกัดด้วยเมทานอลจากรากขลู่ (Pluchea indica ) ที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อปรสิต Entamoeba histolytica ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หลังจากเชื้อปรสิตสัมผัสกับสาร R/J/3 นาน 2 ชั่วโมง จะเกิดแกรนูลในเซลล์ปรสิตระยะ tropozoites ตามมาด้วยการแตกของเซลล์ และเซลล์จะแตกเกือบหมดในเวลา 4 ชั่วโมง ในขณะที่ยา metronidaz...
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีการศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย และข้ามกลุ่ม (double blind placebo-controlled crossover study) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 42 คน เป็นผู้ชาย 22 คน ผู้หญิง 20 คน อายุระหว่าง 40-54 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเห็ดหลินจือชนิดแคปซูลวันละ 1 แคปซูล (ขนาด 225 มก. ประกอบด้วย สารไตรเทอร์พีนอยด์ (triterpenoids) 7% ได้แก่ ganoderic acids A-G และโพลีแซคคาไรด์ 6%) หลังอาหารกลางวันและอาหารเย็น กลุ่มที่ 2 ให้รั...