Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของแบล็คเคอร์แรนท์ (blackcurrant) ต่อความดันโลหิต สมรรถภาพการรู้คิด และสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ

การศึกษาทางคลินิกในผู้สูงอายุจำนวน 14 คน อายุ 69 ± 4 ปี (สูง 172 ± 9 ซม. น้ำหนัก 85 ± 12 กก.) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานสารสกัดแบล็คเคอร์แรนท์ 600 มก./วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก เป็นระยะเวลา 7 วัน โดยมีระยะพัก 7 วัน แล้วสลับการทดสอบ ทำการประเมินผลในวันที่7 หลังจากได้รับสารสกัด 2 ชั่วโมง โดยวัดความดันโลหิตขณะพัก ประเมินสมรรถภาพการรู้คิด (cognitive function)และทดสอบประสิทธิภาพในการเดินเป็นเวลา 6 นาที ผลการทดสอบพบว่าแบล็คเคอร์แรนท์มีผลลดความดันโลหิต systolic (กลุ่มยาหลอก: 136 ± 14; กลุ่มสารสกัดแบล็คเคอร์แรนท์: 130 ± 12 mmHg) และความดันโลหิต diastolic (กลุ่มยาหลอก: 84 ± 11; กลุ่มสารสกัดแบล็คเคอร์แรนท์ 78 ± 6 mmHg) ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเดินเป็นเวลา 6 นาที และสมรรถภาพการรู้คิดในผู้สูงอายุอย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

J Nutr Gerontol Geriatr. 2020;39(2):99-113.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1580

การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง
การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (visceral fat)การศึกษาทางคลินิก (randomized double-blind placebo-controlled parallel-group study) ในอาสาสมัครจำนวน 70 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 และน้อยกว่า 30 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับผงจากหัวหอม (Allium cepa; onion) ที่ประกอบด้วยสารเควอซิติน (quercetin) 9 ก./วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ประเมินผลการทดสอบในช่วงสัปดาห์ที่ 0 และ 12 ผลการทดสอบพบว่าไขมันหน้าท้อง (visc...

999

การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดจากใบแปะก๊วยต่อทารกในครรภ์
การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดจากใบแปะก๊วยต่อทารกในครรภ์การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดมาตรฐานของใบแปะก๊วย EGb761® ต่อการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์ของหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัดมาตรฐานของใบแปะก๊วย EGb761® ขนาด 100, 350 และ 1,225 มก./กก./วัน ให้แก่หนูเม้าส์ในช่วงวันที่ 6 - 15 ของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาอวัยวะของร่างกาย ผลการศึกษาไม่พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน ทั้งความผิดปกติภายนอกและจากการผ่าพิสูจน์ โครงสร้างกระดูก และเนื้อเยื่อ สารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่มีผลเพิ่มการเกิดทารกวิรูป ค...

1238

ฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน
ฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนศึกษาฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน โดยทดลองให้ผู้ป่วยจำนวน 20 คน (เพศชาย 11 คน, เพศหญิง 9 คน, อายุเฉลี่ย 52.05±8.92 ปี) รับประทานแคปซูลหญ้าฝรั่นวันละ 30 มก./วัน นาน 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน (เพศชาย 14 คน, เพศหญิง 6 คน, อายุเฉลี่ย 53.10±8.47 ปี) ที่ได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า fluoxetine ขนาดวันละ 40 มก./วัน นาน 6 สัปดาห์...

24

ส่วนประกอบและฤทธิ์ของสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม
ส่วนประกอบและฤทธิ์ของสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม การแยกสารสกัดลำต้นใต้ดินว่านพระฉิม (Euphorbia sessiliflora Roxb.) ได้สาร diterpene ชนิดใหม่คือ ent-12-hydroxy-12 [R]-abieta-8(14), 13(15)-dien-16, 12-olide ร่วมกับสารที่เคยพบแล้ว 3 กลุ่มคือ ent-abietadienosides, cycloartane triterpene และ ellagic acid-Beta-D-glucopyranoside เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพพบว่าสาร ent-11Alpha-hydroxyabieta-8(14),13(15)-dien-16, 12Alpha-olide แสดงฤทธิ์ยับย...

25

ฤทธิ์คุมกำเนิดของสารสกัดรากอังกาบหน
ฤทธิ์คุมกำเนิดของสารสกัดรากอังกาบหน เมื่อทดลองให้สารสกัดรากอังกาบหนู (Barleria prionitis L.) แก่หนูขาวเพศผู้ในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันนาน 60 วัน ให้ผลคุมกำเนิดได้ 100% ผลนี้เกิดจากฤทธิ์ของสารสกัดในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนที่ของสเปิร์มลดลง สารสกัดมีผลลดน้ำหนัก testis รวมทั้งมีผลลดปริมาณโปรตีน กรดเซียลิก (sialic acid) และกลัยโคเจนใน testis ซึ่งส่งผลให้การสร้างสเปิร์มโครงสร้...

23

ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ จากการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ (Jatropha curcus L.) แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กJ Ethnopharmacol 2000;70:183-7 ...

972

ผลของสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วเหลืองดำต่อภาวะเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วเหลืองดำต่อภาวะเบาหวานการทดสอบผลของสารสกัดกรด น้ำ และเอทานอลจากเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วเหลืองดำ (BE) ที่อุดมไปด้วยสารในกลุ่ม polyphenols เช่น anthocyanins (cyanidin 3-glucoside; C3G) และ procyanidins (PCs) ในหนูเม้าส์ที่มีภาวะของเบาหวานชนิดที่ 2 (ชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน) โดยให้หนูกินอาหารที่มี BE ผสมอยู่ 22 ก./อาหาร 1 กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า BE สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยบรรเทาอาการของภาวะเบาหวาน รวมทั้งทำให้ความไวต่ออินซูลินของสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น โด...

100

คุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดสของสมุนไพรบางชนิด
คุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดสของสมุนไพรบางชนิด เอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase) ทำหน้าที่เร่งปฏิกริยาออกซิเดชั่นเพื่อเปลี่ยนสารไฮโปรแซนทีน (hypoxanthine) เป็นแซนทีน (xanthine) และกรดยูริก (uric acid) กรดยูริกเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเก๊าต์ จากการสำรวจยาสมุนไพรที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส พบว่าสารสกัดเมทานอลจากยอดอ่อนอบเชยจีน (Cinnamomum cassia Blume) และสารสกัดเมทานอลจากดอกเก๊กฮวย (Chrysanthemum indicum L.) ให้ผลย...

648

ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุน
ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุนผลของสารสกัดจากขมิ้นชันต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศ (ภาวะกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือน) โดยทำการศึกษาในหนูแรทเพศเมียอายุ 3 เดือน จำนวน 4 กลุ่ม หนูกลุ่มที่ 1 (กลุ่มหนูปกติ) ฉีดสาร dimethylsulfoxide (DMSO) ซึ่งเป็นตัวทำละลายของสารสกัด เข้าทางช่องท้อง ส่วนหนูกลุ่มที่ 2-4 ทำการตัดรังไข่ออกเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ หลังจากนั้น หนูกลุ่มที่ 2 (กลุ่มควบคุม) ฉีดสาร DMSO เข้าทางช่องท้อง หนูกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ฉีดส...