Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

สารสเตอรอลจากวุ้นว่านหางจระเข้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและคอลลาเจนในผิวหนัง

การศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled ในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 122 คน อายุ 30-55 ปี สุ่มแบ่งอาสาสมัครให้รับประทานแคปซูลสารสเตอรอล (sterol) จากวุ้นว่านหางจระเข้ (Aloe vera (L.) Burm.f.) วันละ 2 แคปซูล (ได้รับสารสเตอรอลรวม 40 มคก./วัน) หรือรับประทานยาหลอก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสารสเตอรอลมีผลเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังของอาสาสมัคร โดยลดการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (transepidermal water loss) และเพิ่มปริมาณคอลลาเจนในผิวได้ดีกว่าการรับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีผลลดการเกิดผื่นแดงบริเวณผิวหน้า และอาการผื่นคันบริเวณแขนด้านในและด้านนอกได้ดีเมื่อเทียบกับก่อนการรับประทาน และผลการประเมินผลด้วยตนเองของอาสาสมัครโดยใช้แบบสอบถาม ระบุว่าการเกิดสิว การแตกหักของเล็บ (fingernail brittleness) และอาการท้องผูกในอาสาสมัครลดลง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสเตอรอลจากวุ้นว่านหางจระเข้มีผลเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ด้วยการกระตุ้นการทำงานของเกราะป้องกันผิวและสร้างชั้นคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพผิว

J Dermatol. 2020. doi: 10.1111/1346-8138.15428

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

327

ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร
ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร epigallocatechin-3-gallate (EGCG) จากชาเขียวศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร EGCG จากชาเขียว โดยทดสอบในเซลล์เพาะเลี้ยง hair follicles และเซลล์ dermal papillas พบว่า EGCG ความเข้มข้น 0.1 และ1 μM มีผลเหนี่ยวนำให้เกิดการยืดของ hair follicles ได้ 123% และ 121.6% ตามลำดับ และที่ความเข้มข้น 5 μM จะเพิ่มการงอกของเส้นผมได้ 181.2% EGCG ที่ความเข้มข้น 0.1-0.5 μM มีผลเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ dermal papillas โดยจะเพิ่มขบวนการ phosphorylation ของ Erk และ Akt ซ...

48

ฤทธิ์ของเทียนดำต่อกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ของเทียนดำต่อกระเพาะอาหาร จากการทดลองเมื่อให้น้ำมันจากเมล็ดเทียนดำ ( Nigella sativa Linn. ) แก่หนูขาวปกติพบว่า จะทำให้เพิ่มปริมาณการหลั่งของสารเมือก , glutathione และลดปริมาณhistamine ของเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร และจากการทดลองในสัตว์ทดลองที่ได้รับน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำก่อนที่จะถูกชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอธานอลพบว่า น้ำมันจากเมล็ดเทียนดำสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 53.56% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุ...

1576

กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร
กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acidศึกษากลไกการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acid ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic acid ที่พบได้มากในมะเขือเทศ เห็ด องุ่น และกาแฟ ในเซลล์ตับของมนุษย์ชนิด HepG2 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไขมัน palmitic acid (PA) ขนาด 1 มิลลิโมลาร์ โดยให้สาร p-coumaric acid ขนาด 5, 10, และ 20 ไมโครโมลาร์ (ขนาดของสาร p-coumaric acid ที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์คือ J Agric Food Chem. 2020;68:3742-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไ...

255

การลดระดับน้ำตาลของหญ้าหวานและสารจากหญ้าหวาน
การลดระดับน้ำตาลของหญ้าหวานและสารจากหญ้าหวานการศึกษาเปรียบเทียบผลของหญ้าหวาน และสารสเตียวิโอไซด์จากหญ้าหวาน ต่อระดับน้ำตาลในเลือดและการสร้างกลูโคส (gluconeogenesis) ในตับ พบว่าการให้หนูขาวกินผงใบหญ้าหวานขนาด 20 มก./กก./วัน นาน 15 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่หนูขาวที่กินสารสเตียวิโอไซด์ (stevioside) 5.5 มก./กก./วัน นาน 15 วัน ไม่มีผล นอกจากนั้นผงใบหญ้าหวานยังยับยั้งการสร้างกลูโคสในตับ ซึ่งมี L-alanine, L-lactate และ L-glutamine เป็น precusor โดยไม่ได้ม...

1521

ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ
ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ Candida ของน้ำมันหอมระเหยร่วมกับ chlorhexidineการทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราของยา chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำมันอบเชย (Cinnamomum zeylanicum L.) น้ำมันกานพลู (Eugenia caryophyllata L.) และน้ำมันตะไคร้ (Cymbopogon citratus (DC) Stapf) โดยทดสอบกับเชื้อ Candida 3 ชนิด ได้แก่ Candida albicans ATCC 10231, C. krusei (STCK 1) และ C. tropicalis (STCT 1) และไบโอฟิล์ม (biofilm) ของเชื้อ C. albicans ด้วยวิธี broth microdilution และ chequerboard assay...

105

ขี้เหล็กเทศป้องกันผลข้างเคียงของยารักษามะเร็ง
ขี้เหล็กเทศป้องกันผลข้างเคียงของยารักษามะเร็ง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ ( cyclophosphamide ) รักษามะเร็งเป็นเวลานาน คือ การกดภูมิคุ้มกันชนิดฮิวเมอราล (humoral immunity) เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากขี้เหล็กเทศ ( Cassia occidenta  L. ) แก่หนูถีบจักรขนาด 100 มก./กก.นน.ตัว ติดต่อกัน 14 วัน และฉีดไซโคลฟอสฟาไมด์ขนาด 50 มก./กก.นน.ตัว ทางช่องท้องในวันที่ 12 ของการทดลอง พบว่าสารสกัดมีผลป้องกันฤทธิ์ในการกดภูมิคุ้มกันชนิดฮิวมอลราลของไซโคลฟ...

403

สารสกัดจากผลมะขามป้อมป้องกันโรคมะเร็งตับ
สารสกัดจากผลมะขามป้อมป้องกันโรคมะเร็งตับการป้อนสารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเมทานอล ขนาด 100 และ 200 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก. ทุกวันเว้นวันในหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเนื้องอกด้วยการฉีดสาร diethylnitrosoamime (DEN)เข้าช่องท้องขนาด 200 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก. และได้รับสาร 2-acethylaminofiourine (2-AAF) 0.02 % w/w ในอาหาร ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ทำการตัดชิ้นเนื้อตับบางส่วนมาตรวจในวันที่ 21 พบว่า การให้สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเมทานอล (ขนาด 100 และ 200 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก.) มีผลทำให้พยาธิสภาพของโรคตั...

1421

การทดสอบความเป็นพิษและความทนต่อกลูโคสของสารสกัดจากใบมะยม
การทดสอบความเป็นพิษและความทนต่อกลูโคสของสารสกัดจากใบมะยมการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัด 80% เอทานอลจากใบมะยมในหนูแรท โดยป้อนสารสกัด ขนาด 1,000, 1,500 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว สำหรับความเป็นพิษเฉียบพลัน และป้อนติดต่อกันทุกวันนาน 14 วัน สำหรับความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน รวมทั้งการทดสอบความทนต่อกลูโคส (oral glucose tolerance test, OGTT) โดยป้อนสารสกัด ขนาด 250 มก./กก. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนให้กลูโคส ขนาด 2 ก./กก. ซึ่งวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา -30, 0, 30, 60, 120 และ 240 นาที เปรียบเทียบกับกลุ...

355

เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติเมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 90% จากเมล็ดน้อยหน่าที่เอาไขมันออกแล้ว ขนาด 200 มก./กก. หรือป้อน quercetin จากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 10 มก./กก. นาน 10 วันติดต่อกัน ให้หนูถีบจักรที่ฉีด L-thyroxine (T4) เข้าช่องท้องขนาด 0.5 มก./กก. นาน 12 วันติดต่อกัน เพื่อเหนี่ยวนำให้มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ พบว่า ทั้งสารสกัดและสาร quercetin ทำให้ระดับ triiodothyroxine (T3), thyroxine (T4), เอนไซม์ glucose-6-phosphatase (G-6-Pase) ในตับ, 5′-mono-deiodinase (...