Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับและเพิ่มกรดไขมันชนิดสายสั้นของผงกล้วยป่าดิบ

การศึกษาฤทธิ์ของผงกล้วยป่าดิบ (Musa acuminata L.) ซึ่งอุดมไปด้วยแป้งที่ทนจากการย่อยด้วยเอนไซม์ (resisntant starch) ต่อการสะสมไขมันในตับและการสร้างกรดไขมันชนิดสายสั้น (short-chain fatty acids production: SCFAs) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนจากการป้อนด้วยอาหารไขมันสูง ทำการศึกษาด้วยการป้อนผงกล้วยดิบความเข้มข้น 15% ร่วมกับการป้อนอาหารปกติ (standard banana green group: SB) หรือป้อนผงกล้วยดิบร่วมกับอาหารไขมันสูง (high-fat green banana group: HFB) หรือป้อนด้วยอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าหนูเม้าส์กลุ่ม HFB มีดัชนีมวลกายลดลง 6% เมื่อเทียบกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว การสะสมไขมันในตับ (liver steatosis) และระดับของ triacylglycerol ของหนูกลุ่ม HFB มีค่าลดลง 28 และ 93% ตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์ Western Blotting analysis พบว่าระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไขมัน ได้แก่ AMPKp /AMPK, 3-hydroxy-3-methylglutarylcoenzyme A reductase (HMGCoA-r) และ fatty acid synthase (FAS) มีค่าลดลง และระดับของโปรตีน ABCG8 และ ABCG5 ที่ทำหน้าที่ขนส่งไขมันออกจากเซลล์มีค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของกรดไขมันสายสั้นในอุจจาระ ได้แก่ acetic acid, propionic acid และ butric acid ของกลุ่มที่ได้รับผงกล้วยดิบสูงกว่ากลุ่มทีได้รับอาหารไขมันสูงอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ที่พบในผลกล้วยป่าดิบมีผลต่อการทำงานของระบบเมตาบอลิสมของร่างกาย โดยเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเมตาบอลิสมไขมันในตับ

Int J Biol Macromol. 2020;145:1066-72.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1567

การศึกษาทางคลินิกผลของแบล็คเคอร์แรนต์ต่อสภาวะอารมณ์และคลื่นสมอง
การศึกษาทางคลินิกผลของแบล็คเคอร์แรนต์ต่อสภาวะอารมณ์และคลื่นสมองการศึกษาทางคลินิก (randomized, double-blind and placebo controlled crossover) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 9 คน ทั้งเพศหญิงและชาย อายุเฉลี่ย 23 ปี โดยให้ดื่มน้ำคั้นแบล็คเคอร์แรนต์ (Ribes nigrum L.; blackcurrant) ที่อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และสารประกอบโพลีฟีนอล (polyphenols) 500 มก. เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและวิตามินซี หลังจากนั้นสลับการทดสอบ โดยมีระยะพัก (washout period) อย่างน้อย 5 วัน...

51

ฤทธิ์ต้านเชื้อ
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ของชะเอมจีน การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารกลุ่มฟีนอลิกที่แยกจากชะเอมจีน ( Glycyrrhiza uralensis Fisch. ) พบว่าสารประกอบ 2 ชนิดคือ 8-(gamma,gamma-dimethylallyl )-wighteone และ 3-(gamma-dimethylallyl)-kievitone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ methicillin-resistant S.aureus ( MRSA ) และ methicillin-sensitivity S.aureus ( MSSA ) ด้วยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ 8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สาร licochalcone...

121

ฤทธิ์ต้านการแพ้ของเป๊ปเปอร์มินต์
ฤทธิ์ต้านการแพ้ของเป๊ปเปอร์มินต์ น้ำมันเป๊ปเปอร์มินต์มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง ได้แก่ลดการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และได้มีการศึกษาพบว่าสารสกัดเป๊ปเปอร์มินต์ด้วยอัลกอฮอล์ (50%) มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีนจาก mast cell และลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จึงได้นำมาศึกษาต่อ พบว่าแยกได้เฟลโวนอยล์ 6 ชนิด คือ eriocitrin, narirutin, hesperidin, luteolin-7-O-rutinoside, isorhoifolin, diosmin, rosmarinic acid และ 5,7-dihydrochromone-7-O-rutinoside เมื่อนำไปตรวจสอบพบว่า isorhoifo...

354

สาร
สาร mangiferin ในมะม่วงป้องกันแผลในกระเพาะอาหารการทดสอบความสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร mangiferin จากเปลือกต้นมะม่วง โดยการป้อน mangiferin ขนาด 3, 10 และ 30 มก./กก. 60 นาที ให้หนูถีบจักรก่อนที่จะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล เปรียบเทียบกับยาที่ออกฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร N-acetylcysteine พบว่า ไม่พบการทำลายของ mucosa ในกระเพาะอาหารหนู และลดการเกิดแผลได้ 30, 35 และ 63% ตามลำดับ ในหนูที่ได้รับ mangiferin ส่วนหนูที่ได้รับ N-acetylcysteine ลดการเกิดแผลได้ 50% แล...

83

ความเป็นพิษต่อเซลล์
ความเป็นพิษต่อเซลล์ และฤทธิ์ฆ่าหนอนตัวอ่อนของน้ำมันหอมระเหยมะม่วงหิมพานต์ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำ ของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ให้ปริมาณน้ำมัน 0.78% v/w เมื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบเคมีด้วยวิธี Gas Chromatography - Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่ามีสารประกอบอย่างน้อย 14 ชนิด โดยเป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์ 78.1% และสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีนส์ 15.7% สารประกอบที่พบเด่นชัดเป็นส่วนใหญ่ คือ tran-beta-ocimene 76.0%, alpha-copaene 4.8%, gamma-cadinene ...

1469

การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดความดันโลหิต felodipine กับกาแฟศึกษาผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างการใช้ยาลดความดันโลหิต felodipine ร่วมกับการดื่มกาแฟในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 13 คน (อายุระหว่าง 31-65 ปี, เฉลี่ย 52 ปี, ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคกาแฟจำนวน 9 คน และไม่ใช่ผู้บริโภคกาแฟ จำนวน 4 คน) โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มกาแฟดำขนาด 300 มล. 2 ครั้ง (ในชั่วโมงที่ 0 และ 1 ของการทดลอง) กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาลดความดันโลหิต felodipine ขนาด 10 มก. (ในชั่วโมงที่ 0 ของก...

1332

ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียด
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์น้ำจากเปลือกต้นสีเสียด (Acacia catechu Willd.) ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่ม catechins เช่น (-)-epicatechin และ (+)-catechin มีฤทธิ์ลดความถี่และความแรงในการหดเกร็งตัวของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายที่แยกได้จากหนูตะเภา โดยฤทธิ์การยับยั้งจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณสารสกัดที่ให้ สารสกัดจากต้นสีเสียดสามารถเสริมฤทธิ์ของ calcium antagonist ในการต้านการหดเกร็งบริเวณลำไส้ใหญ่มากกว่าส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลาย และสามารถออกฤทธิ์คลายการหดเกร็งของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส...

812

ผลของน้ำมะพร้าวอ่อนในการเพิ่มเซลล์กระดูกขากรรไกรล่างในหนูแรทที่ตัดลูกอัณฑะออก
ผลของน้ำมะพร้าวอ่อนในการเพิ่มเซลล์กระดูกขากรรไกรล่างในหนูแรทที่ตัดลูกอัณฑะออกการศึกษาในหนูแรทเพศผู้จำนวน 30 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นหนูแรทที่ไม่ได้ตัดลูกอัณฑะ กลุ่มที่ 2 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะ กลุ่มที่ 3 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะและได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนฉีดเข้าทางช่องท้องขนาด 2.5 ไมโครกรัม/นน.ตัว สัปดาห์ละ 5 วัน นาน 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 4 เป็นหนูแรทที่ถูกตัดลูกอัณฑะและได้รับน้ำมะพร้าวอ่อนที่สกัดด้วยความย็นแล้วบดเป็นผง 100 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 5 เป็นหนูแรทที่ไม่ได้ต...

1066

ฤทธิ์ฟื้นฟูความจำของอัญชันจากภาวะความจำเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเบาหวาน
ฤทธิ์ฟื้นฟูความจำของอัญชันจากภาวะความจำเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเบาหวานศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้และฟื้นฟูความจำของสารสกัดเอทานอลใบอัญชัน (Clitoria ternatea ) จากภาวะความจำเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยทำการทดลองในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin จากนั้นป้อนสารสกัดเอทานอลใบอัญชันให้กับหนูขนาดวันละ 200 และ 400 มก./กก. นาน 75 วัน วัดความสามารถในการจำตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยวิธีการ Y-maze test, Mirrow water maze test และ Radial ...