Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอักเสบของอนุพันธุ์ kavalactone ในข่าเหลือง

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบ รังไข่ (placenta) เปลือกผล (pericarp) และเมล็ดของข่าเหลือง (Alpinia zerumbet (Pers.) B.L.Burtt & R.M.Sm.) ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบสารสำคัญเป็นอนุพันธุของสาร kavalactone 6 ชนิด ได้แก่ 7,8-dihydro-5,6-dehydrokawain, 5,6-dehydrokawain, 6,6′-((1α,2α,3β,4β)-2,4-diphenylcyclobutane-1,3-diyl) bis (4-methoxy-2H-pyran-2-one), rel-6,6′-((1R,2S,3R,4S)-3,4-diphenylcyclobutane-1,2-diyl) bis (4-methoxy-2H-pyran-2-one), aniba dimer A และ aniba dimer C โดยพบมากที่สุดในส่วนของสารสกัดเมทานอลจากส่วนเปลือกผล เมื่อนำสารเหล่านี้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์เพาะเลี้ยงจากตับของหนูแรท พบว่าสารทั้ง 6 ชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสาร aniba dimer C มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยพบค่า IC50 ในยับยั้งการสร้าง nitric oxide และ interleukin-1β เท่ากับ 63.9±15.6 มคก./มล. และ 25.3±16.1 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเมาทานอลจากข่าเหลืองที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีอนุพันธุของ kavalactone เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์

Fitoterapia. 2020;140:10444.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

373

เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยลดระดับคลอเรสเตอรอล
เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยลดระดับคลอเรสเตอรอลการศึกษาผู้ป่วยที่มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อยถึงปานกลางและมีอาการท้องผูกจำนวน 62 คน มีประวัติการรักษาคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาหารหรือยาที่ได้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนการศึกษา โดยให้ผู้ป่วยกินผลิตภัณฑ์จากเปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอย 100% ครั้งละขนาด 3.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ผสมในอาหาร เช่นโยเกิร์ตหรือของเหลวซึ่งปราศจากกรดคาร์บอนิคหรือแอลกอฮอล์อย่างน้อย 100 มล. และกินก่อนหรือหลังกินยาชนิดอื่น 1-2 ชม. นาน 3 สัปดาห์พบว่ามีผู้ป่วยที่ร่วมการทดลองจนสิ้นสุด...

81

การปกป้องตับของมะขามป้อม
การปกป้องตับของมะขามป้อม เมื่อให้หนูกินสารสกัดที่เตรียมจากผลมะขามป้อมสด (Phyllanthus emblica Linn.) ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญเป็นสารกลุ่มแทนนอยด์ คือเอมบริคานิน เอ (emblicanin A) 37 % และเอมบริคานิน บี (emblicanin B) 33 % นานติดต่อกัน 10 วัน พบว่าสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นด้วยการให้ธาตุเหล็กปริมาณสูงมาก นอกจากนั้นยังมีผลยับยั้งการเพิ่มของระดับเอนไซม์ต่างๆ ที่เป็นตัวชี้สภาพของตับ ได้แก่ เอนไซม์ alanine aminotransferase...

1289

ผลของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ผลของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาการวัยทองในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาแบบสุ่มชนิดปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 88 คน อายุระหว่าง 48 - 58 ปี ซึ่งตรวจแล้วพบว่ามีอาการไม่สบายตัวของหญิงวัยหมดประจำเดือน ด้วย Green Climacteric Scale (GCS) โดยมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 25 และมีอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) อย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 44 คน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัด (FenuSMART) ขนาด 250 มก/1 แคปซูล. ครั...

1234

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของโปรตีนอัลบูมินจากข้าว
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของโปรตีนอัลบูมินจากข้าวการทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของโปรตีนอัลบูมินที่แยกได้จากข้าวญี่ปุ่น (Oryza sativa japonica ; RA) ซึ่งโปรตีนดังกล่าวมีน้ำหนักโมเลกุล 16 กิโลดาลตัน โดยทำการทดสอบในหนูแรทที่ได้รับแป้งหรือน้ำตาลกลูโคสในขนาด 1 ก./กก.น้ำหนักตัว (oral starch and glucose tolerance test) ร่วมกับการได้รับ RA ขนาด 200 มก./กก.น้ำหนักตัว พบว่า RA สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ ทั้งใน oral starch และ glucose tolerance test โดยความเข้มข้นของน้ำตาลก...

582

ผลของการบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อความดันและไขมันในเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่
ผลของการบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อความดันและไขมันในเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2การทดลองในผู้สูงอายุ 40 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 17 คน (ชาย 3 คน หญิง 14 คน อายุเฉลี่ย 81.8 ± 6.9 ปี) และผู้สูงอายุสุขภาพดี 23 คน (ชาย 6 คน หญิง 17 คน อายุเฉลี่ย 83.7 ± 7.1 ปี) ให้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มมีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure) ลดลงโดยไม่มีผลต่อค่าชีวเคมีอื่นๆ ในเล...

533

ผลของมะเขือพวงต่อความดันโลหิตและการเผาผลาญอาหารในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำตาลฟรุ๊ตโตส
ผลของมะเขือพวงต่อความดันโลหิตและการเผาผลาญอาหารในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำตาลฟรุ๊ตโตสการศึกษาในหนูแรทเพศผู้ น้ำหนัก 150 - 200 กรัม จำนวน 35 ตัว โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ให้หนูกินเท่าที่จะกินได้ นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้กินน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ให้กินน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v กลุ่มที่ 3 และ 4 ให้กินสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 10...

189

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล นักวิทยาศาสตร์ไทยพบว่าสาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl)butadiene (DMPBD) ซึ่งแยกได้จากไพล ยับยั้งการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย ethyl phenylpropiolate, arachidonic acid และ 12-O-tetradecanoyl phorbol-13-acetate ในการทดลองใช้หูหนู และยังยับยั้งในการทดลองในอุ้งเท้าหนูอีกด้วย J Ethnopharmacol 2003;87:143-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1003

สารต้านการอักเสบจากปัญจขันธ์
สารต้านการอักเสบจากปัญจขันธ์สารใหม่ที่สกัดได้จากส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์ ได้แก่ 20-oxo-21-nordammar-22, 24-diene saponins, 21-norgypenosides A (1) และ B (2) ความเข้มข้น 10 และ 100 มคก./มล. มีฤทธิ์ลดการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ โดยจะลดการแสดงออกของยีนของสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ interleukin (IL)-1β, cyclooxygenase (COX)-2 และ tumor necrosis factor (TNF)-α J Agric Food Chem 2013;6:12646-52. ...

327

ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร
ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร epigallocatechin-3-gallate (EGCG) จากชาเขียวศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสาร EGCG จากชาเขียว โดยทดสอบในเซลล์เพาะเลี้ยง hair follicles และเซลล์ dermal papillas พบว่า EGCG ความเข้มข้น 0.1 และ1 μM มีผลเหนี่ยวนำให้เกิดการยืดของ hair follicles ได้ 123% และ 121.6% ตามลำดับ และที่ความเข้มข้น 5 μM จะเพิ่มการงอกของเส้นผมได้ 181.2% EGCG ที่ความเข้มข้น 0.1-0.5 μM มีผลเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ dermal papillas โดยจะเพิ่มขบวนการ phosphorylation ของ Erk และ Akt ซ...