-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อน
การศึกษาฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน (Morus alba L.) การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบในหลอดทดลองถึงผลของสารสกัดจากต้นหม่อนต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (differentiated 3T3-L1 adipocyte cells) พบว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ความเข้มข้น 10, 20 และ 40 มคก./มล. มีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (adipogenesis) และการสร้างไขมันภายในเซลล์ (lipogenesis) ได้แก่ peroxisome proliferator-activated receptorγ, CCAAT/enhancer-binding protein-α, sterol regulatory element-binding protein-1,acetyl-CoA carboxylase, fatty acid synthase และ stearoyl-CoA desaturase-1 ได้ตามขนาดของความเข้มข้นที่ได้รับ และให้ผลเพิ่มแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกระบวนการสลายไขมัน (lipolysis) ได้แก่ adipose tissue triglyceride lipase และ hormone-sensitive lipase อย่างมีนัยสำคัญ และการทดสอบที่ 2 ทำการทดสอบในสัตว์ทดลองที่มีภาวะอ้วน โดยป้อนสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์ร่วมกับการป้อนอาหารไขมันสูง เป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดน้ำหนักตัว น้ำหนักตับ และน้ำหนักเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับไขมันในเลือดและไขมันสะสมในตับของสัตว์ทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ผลจากการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากต้นหม่อนลดการแสดองออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ไขมัน และเพิ่มระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการะบวนการสลายไขมันได้เช่นเดียวกับผลการทดสอบในหลอดทดลอง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อนมีศักยภาพในการลดความอ้วน และอาจนำไปพัฒนาศึกษาต่อไปในอนาคต
J Ethnopharmacol. 2020;251:112542.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานของสารสกัดใบบัวบก
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานของสารสกัดใบบัวบกการศึกษาในหนูแรท โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมที่ให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 กลุ่มหนูอ้วนโดยให้กินอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 3 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานโดยให้กินอาหารไขมันสูงและเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin กลุ่มที่ 4 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานและได้รับสารสกัด 70% เอทานอลจากใบบัวบก ขนาด 300 มก./กก. นาน 4 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 5 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานและได้รับยา metformin ขนาด 300 มก./กก. นาน 4...
ฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้ของบัวบก
ฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้ของบัวบกการทดสอบให้ผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้แบบตื้น (partial-thickness burn) 75 คน แบ่งให้ทาขี้ผึ้งที่เตรียมจากสารสกัดจากใบบัวบก (Centella asiatica L.) หรือยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (silver sulfadiazine) ทาบริเวณแผลวันละ 1 ครั้ง พบว่าขี้ผึ้งจากใบบัวบกให้ผลการรักษาแผลไฟไหม้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน เมื่อประเมินจากความยืดหยุ่นของแผล การสร้างหลอดเลือดฝอย เม็ดสีบริเวณผิว และการประเมินด้วยสายตา นอกจากนี้อัตราการสร้างเยื่อบุผิวบริเวณแผล (re-epithelialization) ของครีมบัวบกเ...
ผลของน้ำองุ่นต่อการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบในนักกีฬาวอลเลย์บอล
ผลของน้ำองุ่นต่อการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบในนักกีฬาวอลเลย์บอลการศึกษาทางคลินิกผลของการดื่มน้ำองุ่น (Vitis labrusca Bordeaux) ต่อดัชนีชี้วัดของภาวะเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ การถูกทำลายของกล้ามเนื้อ ระดับของ global histone H4 acetylation (กลไกด้าน epigenetics มีความสำคัญในการควบคุมการแสดงออกของยีน) ความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อ โดยทำการศึกษาในนักกีฬาวอลเลย์บอลเพศชายจำนวน 12 คน อายุ 16 ± 0.6 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ได้แก่ กลุ่มที่ให้ดื่มน้ำองุ่น 400 มล./วัน และกลุ่มยาหล...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดดอกทับทิม
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดดอกทับทิม สารสกัดดอกทับทิม (Punica granatum Linn. ) แสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูปกติ และหนูที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งชักนำด้วยกลูโคส และalloxan แสดงฤทธิ์สูงสุดเมื่อให้ในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวโดยการรับประทาน ในการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันพบว่าสารสกัดในขนาด 1000มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้โดยการฉีดเข้าช่องท้องแก่หนูถีบจักรจำนวน 10 ตัวไม่ทำให้สัตว์ทดลองตายJ Ethnopharmacol 2000 ;...
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสำคัญจากชาเขียว
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสำคัญจากชาเขียวการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของสาร (-)-epigallocatechin-3-gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในชาเขียว (green tea) ในเซลล์มะเร็งที่แยกมาจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดหู คอ จมูก (Head and Neck Cancer) ได้แก่เซลล์มะเร็งในช่องปาก (oral cavity squamous cell carcinoma) ชนิด KB และเซลล์มะเร็งคอหอยส่วนล่าง (hypopharynx squamous cell carcinoma) ชนิด FaDu พบว่า เซลล์มะเร็งมีการแสดงออกของโปรตีน β-catenin เพิ่มขึ้น (β-catenin เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิ...
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ curcumin ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์การศึกษาในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยแบ่งให้ผู้ป่วยรับประทานแคปซูลสาร curcumin ขนาด 500 มก. วันละ 2 แคปซูล หรือยาแก้อักเสบ diclofenac sodium ขนาด 50 มก. วันละ 1 เม็ด หรือรับประทาน curcumin ร่วมกับยา diclofenac ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วประเมินความรุนแรงของโรคโดยใช้ disease activity score-28 พบว่าความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยทั้งสามกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่า curcumin ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการบวมของข้อตามเกณฑ์ของ ...
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโพธิ์ทะเลเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโพธิ์ทะเลเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์สารสกัดด้วยเอทานอลจากเปลือกต้นโพธิ์ทะเล เมื่อป้อนให้หนูถีบจักร ขนาด 200 และ 400 มก./กก. นาน 7 วันติดต่อกัน จะทำให้ความจำของหนูถีบจักรทั้งที่ยังเล็กและแก่ดีขึ้น ช่วยลดอาการสูญเสียความจำของหนูจากการถูกเหนี่ยวนำด้วย scopolamine และ diazepam ลดเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในสมองหนู และลดคอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เหมาะที่จะนำไปศึกษาต่อในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่จะมีปัญหา cholinergic transmission ลดลงและคอเลสเตอรอลสูงขึ้น ทำให้เกิด amyloid plaqu...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara )การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ขนาดวันละ 100 มก. / กก. และ 200 มก. / กก. เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มก. / กก. นาน 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่ม เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล โคเลสเตอรอล LDL-C (Low density lipoprotein cholesterol) HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ ผ...
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำกระเทียมดำเกิดจากการนำกระเทียมสดมาบ่มภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและควบคุมความชื้น (aging process) ซึ่งกระเทียมดำนี้จะอุดมไปด้วยสาร S-allylcysteine (SAC), polyphenols และ flavonoids ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับ STZ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 3 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมสด 200 มก./กก...