-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลสารสกัดน้ำจากหญ้าหวานต่อฤทธิ์ต้านเบาหวานของยา
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลสารสกัดน้ำจากหญ้าหวานต่อฤทธิ์ต้านเบาหวานของยา saxagliptin
การศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากต้นหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana Bertoni) ร่วมกับยาเบาหวาน saxagliptin ในหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วยการฉีด streptozotocin และ nicotinamide ในการทดสอบแบ่งหนูแรทออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มหนูปกติ กลุ่มที่ 2 กลุ่มหนูเบาหวาน กลุ่มที่ 3 หนูแรทเบาหวานที่ป้อนด้วยสารสกัดน้ำจากต้นหญ้าหวาน 400 มก./กก.วัน กลุ่มที่ 4 หนูแรทเบาหวานที่ได้รับยา saxagliptin 10 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 5 หนูแรทเบาหวานที่ป้อนด้วยสารสกัดน้ำจากต้นหญ้าหวาน 400 มก./กก.วัน ร่วมกับยา saxagliptin 10 มก./กก./วัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำจากหญ้าหวานมีผลลดอัตราการกินน้ำและอาหาร น้ำหนักตัว รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทเบาหวาน และช่วยเพิ่มระดับอินซูลินในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ได้เช่นเดียวกับการใช้ยา saxagliptin และการใช้ร่วมกัน (กลุ่มที่ 5) ให้ผลดีกว่าการใช้สารสกัดน้ำจากหญ้าหวานหรือใช้ยาเพียงอย่างเดียว เมื่อทำการศึกษากลไกในการลดน้ำตาลของสารสกัดน้ำจากหญ้าหวาน ด้วยการตรวจสอบระดับของ dipeptidylepeptidase-4 (DPP-4) เอนไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ พบว่าสารสกัดน้ำจากหญ้าหวานให้ผลลดระดับ DPP-4 อย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกับการใช้ยาเบาหวาน saxagliptin นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากหญ้าหวานและยา saxagliptin มีผลลดระดับไขมันในเลือดทั้งระดับคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL-cholesterol รวมถึงเพิ่มระดับ HDL-cholesterol ลดการก่อตัวของ malondialdehyde และเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยผลการทดสอบทั้งหมดนี้จะแสดงเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากหญ้าหวานร่วมกับยา saxagliptin (กลุ่มที่ 5) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำจากหญ้าหวานมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยอาศัยกลไกการลดระดับน้ำตาล ลดไขมัน ต้านอนุมูลอิสระ และปรับปรุงความไวของอินซูลิน และการใช้หญ้าหวานร่วมกับยา saxagliptin จะช่วยเพิ่มฤทธิ์รักษาเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น
J Ethnopharmacol. 2021;265:113188.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
กลไกความเป็นพิษต่อตับของสารสกัดใบแป๊ะก๊วย
กลไกความเป็นพิษต่อตับของสารสกัดใบแป๊ะก๊วยการศึกษาความเป็นพิษต่อตับของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba extract; GBE) ในหนูเม้าส์ชนิดปกติ (wild type; WT) และชนิดที่ถูกยับยั้งการทำงานของ constitutive androstane receptor* (CARKO) โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ให้หนูกินอาหารที่ผสมกับ GBE ในขนาด 0, 100, 1,000 หรือ 10,000 ส่วนในล้านส่วน เป็นเวลานาน 4 หรือ 13 สัปดาห์ ส่วนการทดลองที่ 2 ทำการเหนี่ยวนำให้หนูเกิดมะเร็งด้วยการฉีดสาร diethylnitrosamine (DEN) เข้าทางช่องท้องในขนาด 90 มก./กก. เพียงคร...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลดความดันโลหิตในผลไม้ไทย
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลดความดันโลหิตในผลไม้ไทยเมื่อป้อนสารสกัดเอทานอลของมะม่วง (พันธุ์น้ำดอกไม้) ทุเรียน (พันธุ์หมอนทอง) เงาะ (พันธุ์โรงเรียน) และกล้วย (พันธุ์หอมทอง) ให้หนูแรทก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยทำให้เกิดความเครียดโดยการแช่ในน้ำ กินในขนาด 500 มก./กก. พบว่าสารสกัดเอทานอลของมะม่วง (พันธุ์น้ำดอกไม้) ทุเรียน (พันธุ์หมอนทอง) เงาะ (พันธุ์โรงเรียน) และกล้วย (พันธุ์หอมทอง) สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 42, 55, 39 และ 58% ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดเอทาน...
ชาคาโมมายล์ช่วยควบคุมดัชนีน้ำตาลและต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยเบาหวาน
ชาคาโมมายล์ช่วยควบคุมดัชนีน้ำตาลและต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาแบบ single-blind randomized controlled clinical trail ต่อฤทธิ์ของคาโมมายล์ (Matricaria chamomilla L.) ในการควบคุมดัชนีน้ำตาล (glycemic index) และต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 64 คน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ดื่มชาคาโมมายล์ (ชาซอง บรรจุ 3 ก. ชงในน้ำร้อน 150 มล. นาน 10 นาที) ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที ติดต่อกัน 18 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มที่สองที่รับประทานน้ำอุ่นในขนาดเดียวกัน เมื่อสิ้นสุดกา...
ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุด
ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุดการศึกษาฤทธิ์ต้านสะเก็ดเงินในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่ผิวหนังซึ่งมีลักษณะเหมือนโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis-like skin lesions) ด้วยยาอิมิควิโมด (Imiquimod) โดยให้หนูกินสาร isogarcinol (YDIS) ซึ่งแยกได้จากเปลือกมังคุด ในขนาด 100 มก./กก. วันละครั้ง นาน 7 วัน เปรียบเทียบกับการที่หนูได้รับยา cyclosporine A (CsA) ขนาด 50 มก./กก พบว่าการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณเซลล์ผิวหนังของหนูที่ได้รับ YDIS ลดลงอย่างชัดเจน การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ interl...
ผลของสาร
ผลของสาร [-]-epigallocatechin gallate จากชาเขียวในการป้องกันเนื้องอกที่รังไข่ทดลองให้นกกระทาพันธุ์ญี่ปุ่นซึ่งเกิดเนื้องอกที่รังไข่ขึ้นเองในอัตราที่สูง กินอาหารที่เสริมด้วย [-]-epigallocatechin gallate (EGCG) ขนาด 200 และ 400 มก./กก. ของอาหาร เป็นเวลา 12 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่านกในกลุ่มที่กินอาหารที่เสริมด้วย EGCG จะมีการเกิดเนื้องอกที่รังไข่น้อยกว่า และเนื้องอกมีขนาดเล็กกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณอาหารที่กิน (feed intake) จะเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่กินอาหารที่เสริมด้วย EGCG...
อาหารเช้าชนิดธัญพืช
อาหารเช้าชนิดธัญพืช (Cereal) กับการเป็น Prebioticการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม (A double-blind, randomized, crossover study) ในอาสาสมัครจำนวน 31 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ได้รับอาหารเช้าชนิดธัญพืช ปริมาณ 48 ก. ทุกวัน เทียบกับการได้รับรำข้าว เป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วสลับกลุ่ม โดยมีช่วงล้างยา (wash out period) 2 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มที่ได้รับธัญพืชปริมาณของแบคทีเรียชนิด bifidobacteria และ lactobacilli ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในอุจาระมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับรำข้าว นอกจ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาร flavonoids จากเปลือกหอมหัวใหญ่การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าในเปลือกของหอมหัวใหญ่มีสารในกลุ่ม flavonoids 90.25% และสารที่พบมากที่สุดคือสาร quercetin (36.94%) และ quercetin 4'-O-β-d-glucopyranoside (15.81%) การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเมื่อทดสอบด้วย oxygen radical absorbance capacity (ORAC), DPPH radical scavenging capacity, ferric reducing/antioxidant power (FRAP), superoxide anion free radical scavenging activit...
ผลของสารสกัดและสารโพลีนีนอลของชาเขียวต่อเอนไซม์เปปทิเดสต่างๆ
ผลของสารสกัดและสารโพลีนีนอลของชาเขียวต่อเอนไซม์เปปทิเดสต่างๆ กัน การวิจัยสารสกัดชาเขียวชนิด triple-standardized green tea extract(EFLA 085942)และอนุพันธุ์เคทิซินบางตัวต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบและมะเร็ง เอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการสลายตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคือ elastase และ collagenase ส่วนที่สำคัญต่อการอักเสบคือ elastase และ neutral endopeptidase พบว่าสารสกัดยับยั้งเอนไซม์ elastase และ neutral endopeptidase ได้มากกว่า collagenase(IC50 collagenase = 200 ug/ml, IC50 elastase ...
ผลลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือดของว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยเบาหวาน
ผลลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือดของว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน จำนวน 90 คน อายุ 35-65 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1 คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 และ 3 ให้รับประทานแคปซูลผงว่านหางจระเข้ ขนาด 100 และ 200 มก./วัน เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นให้รับประทานแคปซูลผงว่านหางจระเข้ร่วมกับการให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการ (the nutrition counselling) อีกเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับแคปซูลผงว่านหางจระเข้ทั้ง 2 กลุ่ม จะมีระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไร...