-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
สารสกัดจากใบมะรุมช่วยเพิ่มความปลอดภัยของเครื่องสำอางประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
สารสกัดจากใบมะรุมช่วยเพิ่มความปลอดภัยของเครื่องสำอางประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย
การวิเคราะห์สารสกัดน้ำและกลีเซอร์รีน (อัตราส่วน 50/50, 60/40 และ 80/20) จากใบมะรุม (Moringa oleifera L.) ด้วยวิธี High performance liquid chromatography ร่วมกับ tandem mass spectrometry (HPLC-ESI-MS) พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์และฟีนอลิค เมื่อนำสารสกัดดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scaveniging assay พบว่า สารสกัดจากน้ำและกลีเซอร์รีนในอัตราส่วน 50/50 ที่ความเข้มข้น 50% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด และการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ผิวหนังชนิด HaCaT (normal human keratinocyte) และ BJ fibroblasts พบว่า สารสกัดน้ำและกลีเซอร์รีนในอัตราส่วน 50/50, 60/40 และ 80/20 ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 5% มีผลเพิ่มจำนวนของเซลล์และลดการเกิดอนุมูลอิสระในเซลล์ นอกจากนี้ ทำการทดสอบประสิทธิภาพการก่อให้เกิดอาการระคายเคือง (The irritant potential of the products) ของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว sodium coco sulphate (SCS) 1% สารสกัดน้ำและกลีเซอร์รีน (อัตราส่วน 50/50, 60/40 และ 80/20) จากใบมะรุมเข้มข้น 5, 3 และ 1% ด้วยวิธี Zein test พบว่า สารสกัดดังกล่าวมีแนวโน้มช่วยลดอาการระคายเคืองที่เกิดจาก SCS ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวที่นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์สำหรับผิวกายได้ จึงสามารถสรุปได้ว่า สารสกัดน้ำและกลีเซอร์รีนจากใบมะรุมประกอบด้วยสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ผิวหนัง โดยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และช่วยลดการเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารลดแรงตึงผิว ส่งผลให้เพิ่มความปลอดภัยของเครื่องสำอางประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย
Dermatol Res Pract. 2020;2020:8197902ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของรากปลาไหลเผือกต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ผลของรากปลาไหลเผือกต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศการทดสอบผลของรากจากต้นปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia Jack) ในหนูแรทเพศผู้ซึ่งมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยแบ่งหนูตามการได้รับรากปลาไหลเผือกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (acute) กินผงรากปลาไหลเผือก 250, 500 และ 1000 มก./กก. กลุ่มที่ 2 (subacute) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 วัน และกลุ่มที่ 3 (subchronic) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 12 วัน พบว่าหนูในกลุ่มที่ 1 ซึ่งกินผงรากปลาไหลเผือก 500 และ 1000 มก./กก และหนูในก...
ผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
ผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (virgin coconut oil) ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (virgin coconut oil) ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมัน เปรียบเทียบกับน้ำมันที่ได้จากเนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะกอก และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน โดยทดลองเลี้ยงหนูแรทเพศผู้ 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 6 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยน้ำมันที่ได้จากเนื้อมะพร้าวแห้ง 8% กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 8% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมน้ำมันมะกอก 8% แ...
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ตะไคร้ และพิมเสนต้นการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม (citronella oil), ตะไคร้ (lemongrass oil) และพิมเสนต้น (patchouli oil) ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว 2 ชนิด ได้แก่ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis พบว่าน้ำมันพิมเสนต้น มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และ S. epidermidis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 1.25-2.5 มก./มล. รอง...
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง และต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากดอกอัญชันการศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากดอกอัญชันต่อความดันโลหิตและภาวะเครียดออกซิเดชั่นในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงโดยการหนีบหลอดเลือดไตข้างซ้าย โดยหนูที่มีความดันโลหิตสูงจะป้อนด้วยน้ำ และสารสกัดน้ำจากดอกอัญชัน ขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนหนูที่มีความดันปกติจะป้อนด้วยน้ำ จากนั้นวัดความดัน การทำงานของหลอดเลือด และภาวะเครียดออกซิเดชั่น พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดดอกอัญชัน ความดันจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การคลายตัวของ...
ผลของมะเขือเทศ
ผลของมะเขือเทศ กล้วย และแอปเปิ้ล ต่อระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือดการศึกษาการตอบสนองของระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือด ในอาสาสมัครสุขภาพปกติและอาสาสมัครที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน (non-insulin dependent) โดยให้ได้รับสัดส่วนของอาหารที่มีพลังงาน 200 กิโลแคลอรี่ จากมะเขือเทศ กล้วย แอปเปิ้ล น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม หรือน้ำตาลกลูโคส 25 กรัม+น้ำตาลกฟรุคโตส 25 กรัม แล้วทดสอบเลือดที่เวลา 0 30 60 90 และ 120 นาที พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มที่เป็นเบาหวาน จะสูงสุดเม...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากรากโสม
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากรากโสมเมื่อฉีดสารสกัด malonyl-ginsenosides จากรากโสม ขนาด 30, 60 และ 120 มก./กก. และสารที่แยกได้จาก malonyl-ginsenosides 3 ชนิด ได้แก่ panaxadiols, malonic acid และสารผสมระหว่าง panaxadiols และ malonic acid ขนาด 120, 4.5 และ 120 มก./กก. ตามลำดับ เข้าทางหลอดเลือดดำของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin เป็นเวลา 4 วัน เมื่อทดสอบด้วยวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารตลอดคืน (fasting blood glucose) และความทนน้ำตาลกลูโคส (glucose tolera...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเอทานอลจากรากละหุ่ง
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเอทานอลจากรากละหุ่งการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่ง โดยการป้อนสารสกัดครั้งเดียวขนาด 125, 250, 500, 750, 1,000 และ 2,000 มก./กก. ให้กลุ่มหนูขาวเพศผู้ปกติและกลุ่มหนูขาวเพศผู้เป็นเบาหวานType1 โดยเทียบกับการป้อนยามาตรฐาน tolbutamide ขนาด 200 มก/กก และ 500 มก./กก. สำหรับหนูปกติและหนูเบาหวานตามลำดับ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood glucose) ที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6 และ 8 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่งขนาด 500 มก./กก. มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตา...
ผลของสารสกัดจากอบเชยญวนต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้
ผลของสารสกัดจากอบเชยญวนต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด 2,4-bis(1,1-dimethylethyl)phenol (BP) จากอบเชยญวน (Cinnamomum loureirii) ต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัด BP ขนาดวันละ 10, 20 และ 40 มก./กก. นานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ก่อนเหนี่ยวนำให้สูญเสียประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยการฉีด trimethyltin (TMT) เข้าทางช่องท้องขนาด 2.5 มก./กก. หลังจากนั้น 2 วัน นำหนูไปทดสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธี Y-Maze test และ Passive Avoidance test ผลจากการทดลองพบว่า หนูเม้าส์กลุ่มท...
ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า
ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า ในประเทศอินเดียได้มีการใช้ใบน้อยหน่าอ่อนในการรักษาเบาหวาน จึงได้มีการศึกษาวิจัย โดยนำสารสกัดใบน้อยหน่าด้วยน้ำไปทดสอบในหนูขาวปกติ และหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin พบว่าสามารถลดน้ำตาลได้หนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจจะผ่านการเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน อาจโดยกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือทำให้ insulin จาก bound form เปลี่ยนมาเป็น free form มากขึ้น จึงเป็นผลให้อินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึ...