-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ทับทิมช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ทับทิมช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด
การศึกษาทางคลินิกแบบเปรียบเทียบคู่ขนานและการสุ่มแบบบล็อค (parallel, block-radomized clinical trial) เพื่อประเมินผลของการรับประทานสารสกัดจากผลทับทิม (Punica granatum) ต่อกระบวนการเรียนรู้และการทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (ischemic stroke) จำนวน 16 คน (อายุเฉลี่ย 59±13.11 ปี) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ผู้ป่วยรับประทานแคปซูลสารสกัดทับทิม (1 แคปซูลประกอบด้วยสารโพลีฟีนอลเข้มข้น 1 ก. เทียบเท่ากับ gallic acid 755 มก. หรือน้ำทับทิม 8 ออนซ์) วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) ประเมินประสาทจิตวิทยาด้วยแบบทดสอบ Repeatable Battery for the Assessment of Neuropsychological Status (RBANS) ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานแคปซูลสารสกัดทับทิมมีผลช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองและลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่าสารกสกัดทับทิมอาจช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดได้
Nutr Neurosci. 2019;22(10):738-43.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อม
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) ต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง (mild to moderate dementia) จำนวน 402 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (จำนวน 200 คน, อายุเฉลี่ย 65.1 ± 8.8 ปี) ให้รับประทานสารสกัด EGb 761 จากใบแป๊ะก๊วย (ประกอบด้วย ginkgo flavonoids 22-27%, terpene lactones 5-7%) วันละ 240 มก. นานติดต่อกัน 24 สั...
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเหง้าข่าและสารสกัดในกระต่าย
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเหง้าข่าและสารสกัดในกระต่าย จากการศึกษาผลของเหง้าข่าต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดในกระต่ายที่ได้รับผงเหง้าข่า, สารสกัดเมทานอลและน้ำสกัดของผงเหง้าข่า พบว่า สารสกัดและส่วนของพืชดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในกระต่ายปรกติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการทดลองครั้งนี้ศึกษาเปรียบเทียบกับ gliclazide ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานในกลุ่ม sulfonyluria แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำการทดสอบกับกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวานด้วย alloxan พบว่าผงเหง้าข่าและสารสกัดทั้ง 2 แ...
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ตะไคร้ และพิมเสนต้นการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม (citronella oil), ตะไคร้ (lemongrass oil) และพิมเสนต้น (patchouli oil) ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว 2 ชนิด ได้แก่ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis พบว่าน้ำมันพิมเสนต้น มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และ S. epidermidis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 1.25-2.5 มก./มล. รอง...
ผลของน้ำทับทิมต่อหนูเพศผู้
ผลของน้ำทับทิมต่อหนูเพศผู้การทดสอบในหนูขาวเพศผู้จำนวน 28 ตัว โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ป้อนน้ำทับทิม 0.25 มล. + น้ำกลั่น 0.75 มล. กลุ่มที่ 3 ป้อนน้ำทับทิม 0.50 มล. + น้ำกลั่น 0.50 มล. และกลุ่มที่ 4 ป้อนน้ำทับทิม 1.00 มล. ทุกวันเป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าน้ำทับทิมที่หนูได้รับ สามารถลดระดับของ malondialdehyde ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การเกิด lipid peroxidation และเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ glutathione, glutathione peroxidase, catalase และระดับของวิตามินซี ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถใน...
การดื่มน้ำส้มหมัก
การดื่มน้ำส้มหมัก (orange fermented) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจศึกษาผลการดื่มน้ำส้มหมักต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในหนูเม้าส์ โดยทดลองป้อนน้ำส้มหมักให้แก่หนูในขนาดที่เทียบเท่ากับการดื่มในคนคือ 250 และ 500 มล./วัน เปรียบเทียบกับการป้อนน้ำส้มคั้น และน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) นาน 12 สัปดาห์ พบว่าการดื่มน้ำส้มหมักมีผลเพิ่มระดับเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ catalase, superoxide dismutase, glutathione reductase และ glutathione peroxidase เมื่อเทียบกับกลุ่ม...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์การศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำมันจันทน์ และสาร a-santalol ที่แยกได้จากน้ำมันจันทร์ โดยฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจันทน์ ขนาด 1 ก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 8 วัน พบว่ามีผลลดระดับของบิลิรูบิน และน้ำตาลในเลือด เพิ่มน้ำหนักตัวและน้ำหนักตับ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของไกลโคเจน และโปรตีนรวมในตับ สำหรับการทดลองฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจ...
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อราแคนดิดาจากน้ำมันหอมระเหยของใบมะยมฝรั่ง
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อราแคนดิดาจากน้ำมันหอมระเหยของใบมะยมฝรั่งการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยของใบมะยมฝรั่ง (Eugenia uniflora L.) ที่สกัดด้วยวิธีกลั่นด้วยน้ำ (hydro-distillation) และทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟีร่วมกับแมสสเปกโตรเมทรี (Gas Chromatography-Mass spectrometry; GC-MS) พบว่าในน้ำมันหอมระเหยของใบมะยมฝรั่งมีสาร selina-1,3,7(11)-trien-8-one (36.37%) และ selina-1,3,7(11)-trien-8-one epoxide (27.32%) เป็นองค์ประกอบหลัก สารอื่นๆ ที่พบคือ germacrene B (7.95%),...
ความปลอดภัยของสารสกัดเมล็ดมะละกอเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิดในหนูแรทเพศผู้
ความปลอดภัยของสารสกัดเมล็ดมะละกอเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิดในหนูแรทเพศผู้การศึกษาในหนูแรท 50 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยหนูแรทเพศผู้ และเพศเมีย อย่างละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมป้อนน้ำมันมะกอก 500 มก./กก./.วัน กลุ่มที่ 2-5 เป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัดเมล็ดมะละกอด้วยเมทานอล ขนาด 50, 100, 250 และ 500 มก./กก./.วัน ตามลำดับ นาน 52 สัปดาห์ พบว่าไม่พบความแตกต่างของน้ำหนักร่างกายในทุกกลุ่ม แต่น้ำหนักต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) และต่อมลูกหมากในทุกกลุ่มที่ได้รับสารสกัด...
การศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ
การศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ carotenoids ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, สี และระดับของ carotenoids ในน้ำส้มแช่แข็งที่ถูกละลายด้วยวิธีต่างๆการนำน้ำส้มมาแช่แข็งเป็นกระบวนการรักษาคุณภาพและรสชาดของน้ำส้ม อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาถึงผลกระทบจากขั้นตอนการละลายน้ำส้มต่อคุณค่าทางโภชนาการอยู่น้อย การศึกษานี้จึงเป็นการประเมินผลการละลายน้ำส้มแช่แข็งด้วยวิธีต่างๆได้แก่ การใช้ไมโครเวฟ การทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง และทิ้งไว้ในตู้เย็น โดยการวัดระดับ carotenoids และศึกษาชีวภาพความพร้อมใช้งานของ carotenoids รวมทั...