Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของเนื้อฝักมะขาม

การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของสารสกัดน้ำของเนื้อฝักมะขาม (Tamarindus indica Linn.; tamarind) ในหลอดทดลอง โดยศึกษากลไกการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-amylase และ α-glucosidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตาลกลูโคสเปรียบเทียบกับยาลดน้ำตาล acarbose ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเนื้อฝักมะขามมีฤทธิ์ยับยั้ง α-amylase มีค่า IC50 ของสารสกัดเท่ากับ 34.19 มคก./มล. และค่า IC50 ของ acarbose เท่ากับ 34.83 ไมโครโมล และสารสกัดน้ำของเนื้อฝักมะขามมีฤทธิ์ยับยั้ง α-glucosidase ได้ปานกลาง มีค่า IC50 ของสารสกัด เท่ากับ 56.91 มคก./มล. และค่า IC50 ของ acarbose เท่ากับ 45.69 ไมโครโมล ตามลำดับ และทดสอบความเป็นพิษของเซลล์พบว่าสารสกัดเนื้อฝักมะขาม มีค่า IC50 ของสารสกัด เท่ากับ >300 มคก./มล. และค่า IC50 ของยาลดน้ำตาล metformin เท่ากับ ≥1,000 ไมโครโมล การทดสอบการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ L6 myotubes พบว่าสารสกัดเนื้อฝักมะขามขนาด 100 มคก./มล. สามารถนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ 63.99±0.08% ในขณะที่ metformin และอินซูลิน ขนาด 10 มคก./มล. และ 10 ไมโครโมล นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ 76.99±0.3% และ 84.48±0.45% ตามลำดับ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำของเนื้อฝักมะขามไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์และมีฤทธิ์ในการยับยั้ง α-amylase และ α-glucosidase และมีฤทธิ์นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ซึ่งเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

Avicenna J Phytomed. 2020;10(5):440-7.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

957

ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acethylcholinesterase และฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของกุหลาบมอญการศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบฤทธิ์ป้องกันการทำงานของระบบประสาทจากน้ำมันและสารที่มีกลิ่นหอมที่สกัดได้จากกุหลาบมอญโดยทำการทดสอบในหลอดทดลองและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และ butyrylcholinesterase (BChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine และทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นโดยการวัดปฏิกิริยาต้านออกซิเดชั่นต่างๆได้แก่ DPPH radical scavenging, me...

223

เสลดพังพอนลดน้ำตาลในเลือด
เสลดพังพอนลดน้ำตาลในเลือด เมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดินของเสลดพังพอนตัวผู้ให้หนูขาวที่เป็น เบาหวาน ขนาด 100, 200 และ 300 มก./กก. น้ำตาลในเลือดหนูจะลดลงหลังจากกินสารสกัดไป 4 ชั่วโมง และให้ผลนานถึง 12 ชั่วโมง สารสกัดขนาด 300 มก./กก. ให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุดที่ 12 ชั่วโมงหลังจากกินสารสกัด เท่ากับ 15.35% ส่วนยา glibenclamide ขนาด 10 มก./กก. จะลดระดับน้ำตาลในเลือด 18.80% ณ ช่วงเวลาเดียวกัน สารสกัดจากเสลดพังพอนไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูขาวที่ไม่เป็นเบาหวาน ค่า LD50 เมื่อป้อนสารสก...

331

ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร
ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร polyphenol ของชาเขียวมีรายงานว่าการใช้ยา cyclosporin ซึ่งเป็นยาที่ใช้กดภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการปฏิเสธอวัยวะที่ถูกปลูกถ่ายเข้าไปในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อไตและเกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ การทดลองในหนูถีบจักรที่ทำให้เกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ โดยการฉีดยา cyclosporin เข้าทางช่องท้อง เมื่อร่วมกับการฉีดสาร polyphenol ของชาเขียวเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 100มก./กก. พบว่าทำให้ระดับโปรตีนในปัสสาวะ และระดับของ malondialdehyde ในเนื้อเยื่อของไตลดล...

848

ผลของการรับประทานผลไม้ตระกูลเบอรรี่ต่อระดับน้ำตาลหลังอาหาร
ผลของการรับประทานผลไม้ตระกูลเบอรรี่ต่อระดับน้ำตาลหลังอาหาร ระดับอินซูลิน และฮอร์โมน GLP-1 ในคนสุขภาพดีการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 12 คน โดยทุกคนจะได้รับประทานอาหาร 2 สูตร (มีระยะเวลาห่างกัน 5 วัน) สูตรที่ 1 ให้รับประทานผลไม้ตระกูลเบอรรี่บดละเอียด เช่น บิลเบอรรี่ แบลคเคอเร้นท์ แครนเบอรรี่ และสตรอเบอรรี่ 150 กรัม ร่วมกับซูโครส 35 กรัม สูตรที่ 2 จะเป็นอาหารสูตรควบคุมซึ่งเป็นคาร์ไฮเดรทผสมน้ำ และกลูโคสในปริมาณเท่ากันกับอาหารสูตรที่ 1 และเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และเส้นเลือดดำก่อนที่จะรับประทาน...

596

ผลของสารสกัดกระเช้าสีดาต่อยาขับปัสสาวะที่ก่อให้เกิดโรคเกาท์
ผลของสารสกัดกระเช้าสีดาต่อยาขับปัสสาวะที่ก่อให้เกิดโรคเกาท์การศึกษาผลของสารสกัดกระเช้าสีดาต่อยาขับปัสสาวะที่ก่อให้เกิดโรคเกาท์เนื่องจากการสะสมของกรดยูริก โดยทำการทดลองในหนูขาวพันธุ์ Wistar ailbino 24 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งป้อนยาขับปัสสาวะ Thiazide ขนาด 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว และยา Amiloride ขนาด 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว กลุ่มที่สอง ป้อนยาขับปัสสาวะ Thiazide ขนาด 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว และยา Amiloride ขนาด 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว และป้อนยาขับกร...

1159

ผลของการรับประทานผงกล้วยดิบต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง
ผลของการรับประทานผงกล้วยดิบต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)ศึกษาผลของการรับประทานกล้วย (Musa spp.) ในรูปแบบของผงกล้วยดิบ (green banana flour) ต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของอาสาสมัครเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) จำนวน 25 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 17 คน ด้วยการให้อาสาสมัครรับประทานผงกล้วยดิบวันละ 20 ก. นานติดต่อกันเป็นเวลา 45 วัน โดยการผสมลงไปในอาหารชนิดต่างๆ ในแต่ละมื้ออาหารเช่น นม โยเกิร์ต...

712

การบริโภคสตรอเบอรรี่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงในคน
การบริโภคสตรอเบอรรี่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงในคนการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 12 คน (ผู้ชาย 5 คน และผู้หญิง 7 คน) อายุเฉลี่ย 34 ± 8 ปี ดัชนีมวลกาย 22.2 ± 2.4 กก./ม.2 รับประทานผลสตรอเบอรรี่สดขนาด 500 กรัม/วัน ในช่วงเวลาครึ่งวันเช้า และครึ่งวันบ่ายระหว่างมื้ออาหาร นาน 16 วัน และทำการเจาะเลือดเพื่อดูระดับสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีในระหว่างการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 เดือน พบว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีในเลือดสูงขึ้น และเพิ่ม...

485

ฤทธิ์ป้องกันพิษงูของเมล็ดหมามุ่ย
ฤทธิ์ป้องกันพิษงูของเมล็ดหมามุ่ยการศึกษาในหนูแรทเพศผู้ 12 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 ฉีดสารสกัดเมล็ดหมามุ่ย (Mucuna puriens extract : MPE) ขนาด 21 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นาน 3 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้องในขนาดที่เท่ากัน เมื่อครบ 7 วันของการศึกษา หลังจากฉีดสารสกัด MPE เข็มที่ 1 ให้ฉีดพิษงูเห่าพ่นพิษ และงูกะปะให้กับหนู พบว่าไม่มีหนูรอดชีวิต เมื่อฉีดพิษงูในวันที่ 14 ของการศึกษา (หลังจากฉีดสาร MPE เข็มที่ 2) พบว่าอัตราการรอ...

1338

ฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้ของบัวบก
ฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้ของบัวบกการทดสอบให้ผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้แบบตื้น (partial-thickness burn) 75 คน แบ่งให้ทาขี้ผึ้งที่เตรียมจากสารสกัดจากใบบัวบก (Centella asiatica L.) หรือยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (silver sulfadiazine) ทาบริเวณแผลวันละ 1 ครั้ง พบว่าขี้ผึ้งจากใบบัวบกให้ผลการรักษาแผลไฟไหม้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน เมื่อประเมินจากความยืดหยุ่นของแผล การสร้างหลอดเลือดฝอย เม็ดสีบริเวณผิว และการประเมินด้วยสายตา นอกจากนี้อัตราการสร้างเยื่อบุผิวบริเวณแผล (re-epithelialization) ของครีมบัวบกเ...