-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์รักษาสิวอักเสบของสารสกัดจากลำต้นหม่อน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์รักษาสิวอักเสบของสารสกัดจากลำต้นหม่อน
การศึกษาศักยภาพของสารสกัดจากลำต้นหม่อนในการรักษาสิวอักเสบ โดยทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากลำต้นหม่อน ความเข้มข้น 2 มก./แผ่น มีฤทธิ์ดีในการต้านเชื้อ Propionibac-terium acnes โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) เท่ากับ 3.125 มก./มล. และ 12.5 มก./มล. ตามลำดับ ขณะที่ค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อ Staphylococcus epidermidis และ S. aureus มีค่ามากกว่า 25 มก./มล. สารสกัดจาก ลำต้นหม่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, Superoxide radical scavenging และ Nitric oxide radical scavenging โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 50% (IC50) เท่ากับ 32.07, 67.29 และ12.12 มคก./มล. ตามลำดับ สารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. มีผลลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสร้าง prostaglandin (PG)-E2 ซึ่งเป็นสารก่ออักเสบ ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือลดรอยดำที่เกิดจากสิวได้ โดยมีฤทธิ์ดีกว่ากรดโคจิก (kojic acid) (ค่า IC50 5.76±1.58 และ 30.61±13.35 มคก./มล. ตามลำดับ) จากผลการศึกษาจะเห็นว่า สารสกัดจากลำต้นหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องสำอางสำหรับสิวอักเสบได้
Songklanakarin J Sci Technol. 2020;42(6):1319-25.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิ
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบของเห็ดออรินจิการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease; IBD) ของเห็ดออรินจิ (Pleurotus eryngii) ในหนูเม้าส์ โดยหนูจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ด้วย dextran-sodium-sulfate (DSS) จากนั้นจะได้รับอาหารมาตรฐาน AIN-93G ที่มีส่วนผสมของผงเห็ดออรินจิขนาด 0, 1.5%, หรือ 3% w/w (เทียบเท่าคนหนัก 60 กก.รับประทานเห็ดแห้งน้ำหนัก 5-15 ก./วัน) พบว่าผงเห็ดออรินจิสามารถบรรเทาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้ โดยสามารถลด disease index, เพิ่มความยาวของลำ...
การรับประทานกิมจิหมักมีผลต่อน้ำหนักและช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิกซินโดรมในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
การรับประทานกิมจิหมักมีผลต่อน้ำหนักและช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิกซินโดรมในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วนการศึกษาแบบข้ามกลุ่ม (crossover designX ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน จำนวน 22 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 15 คน อายุเฉลี่ย 38.6 ± 8.5 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 27.7± 2.0 กก./ม2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานอาหารที่รักษาสุขภาพร่วมกับกิมจิหมัก 300 กรัม/วัน (100 กรัม/มื้ออาหาร) นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 รับประทานอาหารที่รักษาสุขภาพร่วมกับกิมจิสด 300 กรัม/วัน (100 กรัม/มื้อ...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลของสาร
ฤทธิ์ลดน้ำตาลของสาร geraniin จากเปลือกเงาะการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสาร geraniin ซึ่งเป็นสารกลุ่ม ellagitannin ที่แยกได้จากเปลือกเงาะ พบว่าสาร geraniin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ Galvinoxyl และ 2,2′-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid) (ABTS) โดยค่าความเข้มข้นของสารที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) = 1.9 และ 6.9 µM ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาล โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ alpha-glucosidase, alpha-amylase และ aldol reductase (IC50 = 0.92, 0.93 และ 0.1...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง (Zingiber simaoense Y. Y. Qian) ในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 7.5, 15 และ 30 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล/กรดไฮโดรคลอริก ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) และการแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับยาไซเมทิดีน (cimetidine) ขนาด 100 มก./กก. และกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดและยาไซเมทิดีน ...
Deoxymiroestrol
Deoxymiroestrol : phytoestrogen ชนิดใหม่จากกวาวเครือ Deoxymiroestrol เป็นสารชนิดใหม่แยกได้จากกวาวเครือ (Pueraria mirifica Airy-shaw et Suvatabandhu) มีคุณสมบัติเร่งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งเต้านมเพาะเลี้ยง (MCF-7 human breast cancer cells) โดยมีความแรงกว่า miroestrol 10 เท่า เดิมเชื่อว่า miroestrol เป็นสารสำคัญแสดงฤทธิ์ estrogen ของกวาวเครือ แต่จากการศึกษานี้สรุปว่า deoxymiroestrol เป็น phytoestrogen ที่แท้จริงในกวาวเครือ ส่วน miroestr...
ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง
ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียงทดสอบฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง (Gnetum gnemon ) สกัด ที่ประกอบไปด้วยสาร trans-resveratrol และอนุพันธ์ (gnetin C, gnemonoside A และ gnemonoside D) ในหนูเม้าส์ที่มียีน copper/zinc superoxside dismutase (Sod1 ) ซึ่งควบคุมเอนไซม์ที่มีความจำเป็นต่อการคงสภาพของผิวหนังบกพร่อง ส่งผลให้ยีน colla1 ซึ่งควบคุมการแสดงออกของคอลลาเจนลดลง และโปรตีน p53 ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์เพิ่มขึ้น ผิวหนังจึงเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มค...
ผลของสารสกัดจากส่วนเปลือกของกะทกรกฝรั่ง
ผลของสารสกัดจากส่วนเปลือกของกะทกรกฝรั่ง (Passiflora edulis edulis ) ต่อความดันโลหิตการทดลองให้หนูขาวอายุ 6 สัปดาห์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 24 ตัว ให้บริโภคสารสกัดจากเปลือกของกะทกรกฝรั่ง (PFP) ที่ขนาด 0, 10 หรือ 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัด PFP ขนาด 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม มี systolic blood pressure ลดลง 12.3 มิลลิเมตรปรอท และระดับของ nitric oxide ในเลือดลดลง 65% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และการทดลองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับ 1 หรือ 2 ...
ผลของโสมและสาร
ผลของโสมและสาร ginsenoside Ro ต่อเอนไซม์ testosterone 5α-reductase และการงอกของเส้นขนสารสกัด 50% เอทานอล จากเหง้าโสมแดง (Panax ginseng C. A. Meyer) สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ testosterone 5α-reductase (5αR) โดยที่เอนไซม์ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการงอกของเส้นขน ซึ่งการออกฤทธิ์ของสารสกัดดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ สารสำคัญในโสมคือ ginsenoside Ro และ ginsenoside Rg3 แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ 5αR ที่ค่า IC50 เท่ากับ 259.4 และ 86.1 µm ตามลำดับ เช่นเด...
ผลการลดคอเลสเตอรอลของกระเทียมกับการปลดปล่อย
ผลการลดคอเลสเตอรอลของกระเทียมกับการปลดปล่อย allicin จากการที่พบว่ายาเม็ดกระเทียมให้ผลในการลดคอเลสเตอรอลที่แตกต่างกัน ทั้งที่เป็นของบริษัทเดียวกัน จึงได้มีการทดลองการปลดปล่อย allicin โดยใช้ภาวะเหมือนในกระเพาะอาหาร พบว่ายาที่ผลิตก่อนจะต้านการแตกตัวโดยกรดมากกว่ายาที่ผลิตใหม่ (2.5 hr V.S. 1.3 h, P< 0.001) และให้ allicin มากกว่าถึง 3 เท่า และพวกที่ไม่ให้ผลทางคลินิกในการลดคอเลสเตอรอลไม่ให้ allicin ส่วนที่ให้ allicin สูงจะให้ผลดีทางคลินิก ดังนั้นในการที่กระเทียมจะให้ผลดีจึงขึ้นอยู่กับป...