-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวของสาร
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวของสาร naringin จากพืชตระกูลส้ม
สาร naringin เป็นสารในกลุ่ม flavonoid ที่มีรสขม พบได้มากในพืชตระกูลส้ม โดยเฉพาะบริเวณเปลือกผล การศึกษาผลของสาร naringin ต่อสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในหนูเม้าส์ชนิด apolipoprotein E-deficiency (ApoE-/-) ที่ได้รับอาหารไขมันสูง โดยให้หนูกินสาร naringin ขนาด 100 มก./กก./วัน และทำการศึกษานาน 16 สัปดาห์ พบว่าสาร naringin มีผลทำให้ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวลดลง โดยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและในตับลดลง 24.04 และ 28.37% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระดับของอนุพันธ์คอเลสเตอรอล (cholesterol derivatives) และระดับของกรดน้ำดี (bile acids) ในตับ โดยทำให้การขับกรดน้ำดีและ neutral sterols เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า และ 4.3 เท่า ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่-ตับ-คอเลสเตอรอล กับฤทธิ์ยับยั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวของสาร naringin พบว่าสาร naringin ปรับสมดุลการหลั่ง bile salt hydrolase และ 7α-dehydroxylase ของแบคทีเรียชนิด Bacteroides, Bifidobacterium, Clostridium, และ Eubacterium โดยกระตุ้นให้เกิดการสร้างกรดน้ำดีจากคอเลสเตอรอล ผ่านการกระตุ้น CYP7A1 และยับยั้ง FXR/FGF15 pathway นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดกระบวนการ reverse cholesterol transport* โดยยับยั้ง proprotein convertase subtilisin/kexin type 9 (PCSK9) และ inducible degrader of low-density lipoprotein receptor (IDOL) ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สาร naringin จากพืชตระกูลส้มมีฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโดยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลง ผ่านการปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
J Agric Food Chem. 2020;68:12651-60.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารอนุพันธ์กรดโอเลียโนลิกจากเมล็ดดาวเรืองฝรั่ง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารอนุพันธ์กรดโอเลียโนลิกจากเมล็ดดาวเรืองฝรั่งสารสำคัญที่แยกได้จากส่วนสกัดบิวทานอลของเมล็ดดาวเรืองฝรั่ง (Calendula officinalis 2O2) ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวหนังและสมองต่อไปPhytother Res 2016;30:835-41. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
น้ำทับทิมช่วยฟื้นฟูความจำ
น้ำทับทิมช่วยฟื้นฟูความจำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุม (randomized, double-blind, placebo-controlled trial) เพื่อประเมินผลของการดื่มน้ำทับทิม (Punica granatum) ต่อความจำของอาสาสมัครวัยกลางคนและผู้สูงอายุจำนวน 261 คน ทั้งเพศชายและหญิง (อายุระหว่าง 50-75 ปี) โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้อาสาสมัครดื่มน้ำทับทิมขนาดวันละ 8 ออนซ์ หรือ 236.5 มล. (ประกอบด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอลได้แก่ punicalagins 368 มก. anthocyanins 93 มก. ellagic acid 29 มก. และ tannins 98 มก.) นานติ...
ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่าย
ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่ายการศึกษาฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัด 96% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ในหนูแรท พบว่าการให้หนูกินสารสกัดขึ้นฉ่ายสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยา indomethacin ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดของสารสกัดที่ให้ และสารสกัดที่ขนาด 250 และ 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยแอลกอฮอล์และด่างแก่ได้ โดยที่ขนาด 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในอย่าง...
น้ำมันจากเมล็ดกะเพราป้องกันการเกิดมะเร็งในหนูถีบจักร
น้ำมันจากเมล็ดกะเพราป้องกันการเกิดมะเร็งในหนูถีบจักร การศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็งในหนูถีบจักรโดยวิธีการฉีด 20-เมทิลโคแลนทรีน ( 20-methylcholanthrene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่บริเวณโคนขาหนู ก่อนให้ยา 1 สัปดาห์ ให้หนูกินน้ำมันจากเมล็ดกะเพราะ (Ocimum sanctum L.) ขนาด 100 ไมโครลิตร/กก. นน.ตัว ติดต่อกันทุกวัน และหลังให้ยาให้หนูกินน้ำมันจากเมล็ดกะเพราะอีก 15 สัปดาห์ พบว่าน้ำมันจากเมล็ดกะเพราะมีผลชะลอเวลาของการเริ่มต้นเกิดมะเร็ง ลดจำนวนหนูที่เป็น...
ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า
ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าการศึกษาฤทธิ์ของฟักทอง (Cucurbita moschata Duch.) ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหนูแรทที่มีภาวะซึมเศร้า โดยแบ่งป้อนฟักทองอบ (มีเบต้าแคโรทีน 0.163 มคก./ก.) ขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว หรือเบต้าแคโรทีน ขนาด 0.1, 1, และ 10 มก./กก. ให้แก่หนูแรท วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 28 วัน จากนั้นประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยการทดสอบพฤติกรรมบังคับว่ายน้ำ (forced swimming test) ซึ่งเป็นโมเดลที่วัดอารมณ์ซึมเศร้าในหนู พบว่าทั้งฟักทองอบและเบต้าแคโรทีนมีผลลดระยะเวลาการลอยตัวอยู่นิ่ง (immob...
คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย
คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสียการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดท้องเสียของคาโมมายล์ (Matricaria recutita L.) ในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้มีอาการท้องเสียด้วยการป้อนน้ำมันละหุ่ง พบว่าเมื่อป้อนยาต้มจากดอกคาโมมายล์ (chamomile decoction extract) ขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ที่เวลา 60 นาที ก่อนการป้อนน้ำมันละหุ่ง ช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องเสีย และลดการสะสมของของเหลวในลำไส้ (intestinal fluid accumulation) รวมทั้งช่วยลดการเกิด oxidative stress ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย โดยคาโมมายล์ช่วยลดระดับ ...
ฤทธิ์บรรเทาอาการวัยทองในสตรีหลังหมดประจำเดือนของผักชีล้อม
ฤทธิ์บรรเทาอาการวัยทองในสตรีหลังหมดประจำเดือนของผักชีล้อมการศึกษาแบบ triple-blind, placebo-controlled trial ในอาสาสมัครสตรีที่เข้าสู่วัยทอง จำนวน 90 คน อายุระหว่าง 45-60 ปี โดยแบ่งให้รับประทานแคปซูลน้ำมันหอมระเหยจากต้นผักชีล้อม (Foeniculum vulgare Mill.) ขนาด 100 มก. วันละ 2 แคปซูล นาน 8 สัปดาห์ ทำการประเมินผลโดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถาม The Menopause Rating Score (MRS) เพื่อประเมินอาการโดยรวม อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ และภาวะทางด้านจิตใจ เช่น ภาวะเครียด และกังวล เปรียบเทียบก่อนและหลังการทด...
สารสำคัญจากเมล็ดชมจันทร์มีฤทธิ์ต้านการดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็งเต้านม
สารสำคัญจากเมล็ดชมจันทร์มีฤทธิ์ต้านการดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็งเต้านมการศึกษาฤทธิ์ต้านการดื้อยาของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่ดื้อยาแบบหลายขนาน (multidrug-resistant human breast carcinoma cells) ของสาร albinosides I - IX ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม resin glycosides ที่แยกได้จากสารสกัดคลอโรฟอร์มของเมล็ดชมจันทร์ (Ipomoea alba) โดยดูความสามารถในการต้านการดื้อยา vinblastine (ยารักษามะเร็ง) พบว่าสาร albinoside VII และสาร albinoside VIII ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และที่ความเข้มข้น 25 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านการด...
สาร
สาร 3-O - β -D-Glucosyl-kaempferol จากผักหวานบ้านมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักในหนูทดลองป้อนสาร 3-O - β -D-Glucosyl-(1→6)-β -D-glucosyl-kaempferol (GKK) ที่สกัดได้จากกิ่งอ่อนและใบของต้นผักหวานบ้าน ให้หนูปริมาณ 60 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารดังกล่าวมีการกินอาหารน้อยลงถึง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ ทำให้หนูมีน้ำหนักน้อยลง ผลการลดน้ำหนักยังสามารถเห็นได้ในหนูที่ได้รับ GKK เพียง 6 มก./กก. นอกจากนี้ในหนูที่กินอาหารที่มีไขมันสูง เมื่อได้รับ GKK ทั้งสองความเข้มข้นจะทำให้...