-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ของสารโพลีแซคคาไรด์จากกระเทียม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ของสารโพลีแซคคาไรด์จากกระเทียม
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ของสารโพลีแซคคาไรด์ชนิดละลายน้ำ (water-soluble garlic polysaccharide; WSGP) ที่แยกได้จากกระเทียม (Allium sativum L.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) ด้วยสาร dextran sodium sulfate (DSS) โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติได้รับน้ำเปล่า, กลุ่มที่ 2 ได้รับ DSS, กลุ่มที่ 3 ได้รับ WSGP 200 มก./กก./วัน, กลุ่มที่ 4 ได้รับ DSS ร่วมกับ WSGP 200 มก./กก./วัน, และกลุ่มที่ 5 ได้รับ DSS ร่วมกับ WSGP 400 มก./กก./วัน ทำการศึกษานาน 14 วัน ผลการศึกษาพบว่า (1) หนูกลุ่มที่ได้รับ WSGP มีการกินอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และลำไส้ใหญ่มีความยาวเพิ่มขึ้น ค่าดัชนีความรุนแรงของโรค (disease activity index) และคะแนนของการเกิดการอักเสบในชิ้นเนื้อของลำไส้ใหญ่ (histological score of colitic) มีค่าลดลง (2) WSGP มีผลทำให้เนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่ถูกทำลายลดลงและช่วยยับยั้งสารก่อการอักเสบชนิด interleukin 6, interleukin 1β, และ tumor necrosis factor α (3) WSGP เพิ่มการสร้าง short-chain fatty acids และทำให้สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ดีขึ้น โดยมีผลต่อแบคทีเรียในกลุ่ม Muribaculaceae, Lachnospiraceae, Lachnospiraceae_NK4A136_group, Mucispirillum, Helicobacter, Ruminococcus_1, และ Ruminiclostridium_5 ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease; IBD) แสดงให้เห็นว่าสารโพลีแซคคาไรด์ชนิดละลายน้ำที่แยกได้จากกระเทียม สามารถบรรเทาภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบจากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ได้ โดยออกฤทธิ์ปกป้องเนื้อเยื่อ ยับยั้งสารก่อการอักเสบ และช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
J Agric Food Chem. 2020;68:12295-309.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชา
กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชาการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียว มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม และมีการไขว้กลุ่ม (A randomized, single-blinded, placebo controlled, season-matched crossover trials) เพื่อศึกษาผลของสาร catechin และสาร caffeine จากชา (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ต่อ brown adipose tissue (BAT) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสะสมไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายแบบไม่สั่น (nonshivering thermogenesis) โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลแบบเฉียบพ...
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืด
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืดการศึกษาผลของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ต่อหนูเม้าส์ที่ถูกเนี่ยวนำให้เป็นโรคหอบหืด โดยการฉีดโปรตีนจากไข่ขาว (Ovalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เข้าทางช่องท้อง 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 14 ของการทดลอง ด้วยขนาด 20 มคก. ของ Ovalbumin ที่ดูดซับอยู่ใน albumin hydroxide 1.0 มก. ในวันที่ 20-22 ของการทดลอง หนูเม้าส์จะได้รับการฉีดสารสกัดจากโสมเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ขนาด 20 มก./กก. และในวันที่ 20-22 หลังจากฉีดสารสกัดจากโสม 10 นาที หนูเม...
ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากผลเลี่ยน
ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากผลเลี่ยน (Melia azedarach )การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัด 12-O Acetylazedarachin B ที่สกัดได้จากผลเลี่ยนในหลอดทดลอง (in vitro) โดยทำการทดลองเลี้ยงเซลล์มะเร็ง 4 ชนิดได้แก่ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60) เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร (AZ521) เซลล์มะเร็งปอด (A549) และเซลล์มะเร็งเต้านม (SK-BR-3) ในอาหารเลี้ยงเซลล์ (RPMI 1640 medium สำหรับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและเซลล์มะเร็งเต้านม และ DMEM medium สำหรับเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร) ที่มีสารสกัด ...
ฤทธิ์ป้องกันแสงแดดและต้านอนุมูลอิสระของตะลิงปลิง
ฤทธิ์ป้องกันแสงแดดและต้านอนุมูลอิสระของตะลิงปลิงการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของสารสกัดเอทานอลจากใบตะลิงปลิงพบว่า ประกอบด้วยสารฟีนอลิค 42.22±0.44 มก. GAE/ก. และฟลาโวนอยด์ 41.38±1.31 มก. RE/ก. การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด พบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบตะลิงปลิงเข้มข้น 100, 200 และ 300 ppm มีค่า SPF (sun protection factor) เท่ากับ 3.98±0.16, 7.26±0.22 และ 10.64±0.66 ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การเกิดผื่นแดง (% erythema transmission) และการเกิดเม็ดสี (% pigmentation transmission)...
ผลของสารสกัดใบทุเรียนเทศต่อภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง
ผลของสารสกัดใบทุเรียนเทศต่อภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกปฐมภูมิ (primary tumor resection) อายุ 30-80 ปี (อายุเฉลี่ย 50.2 ปี) จำนวน 28 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลส่วนสกัดที่ละลายได้ในเอทานอลที่แยกจากสารสกัดน้ำจากใบทุเรียนเทศ (ประกอบด้วยสาร acetogenin 0.36% w/w) ขนาด 300 มก./วัน หลังอาหารเช้าติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในระหว่างการศึกษาประเมินภาว...
ลดความดันด้วยเปปไทด์จากมันเทศ
ลดความดันด้วยเปปไทด์จากมันเทศการศึกษาฤทธิ์ยับยั้ง angiotensin-I-converting enzyme (ACE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีผลเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต โดยเปปไทด์ที่แยกได้จากน้ำคั้นมันเทศ (sweetpotato peptide: SPP) มีฤทธิ์ยับยั้ง ACE ได้ดี มีค่า IC50 เท่ากับ 18.2 มคก./มล. และเมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูแรทที่มีความดันโลหิตสูง (spontaneously hypertensive rat) โดยป้อน SPP ขนาด 100 และ 500 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่เวลา 4 ชั่วโมงแล...
สารสกัดชาดำลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
สารสกัดชาดำลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind randomized ในกลุ่มคนที่มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดเกือบถึงระดับที่เป็นภาวะคลอเรสเตอรอลสูง จำนวน 47 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 25 คน เป็นเพศชาย 11 คน และเพศหญิง 14 คน อายุเฉลี่ย 62.7 ± 1.4 ปี , กลุ่มควบคุมจำนวน 22 คน เป็นเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 12 คน อายุเฉลี่ย 62.9 ± 2.1 ปี โดยให้กลุ่มทดลองกินยาเม็ดสารสกัดชาดำ และกลุ่มควบคุมกินยาหลอก โดยทั้ง 2 กลุ่มให้ยาขนาด 333 มก./ มื้ออาหาร หรือ 1 กรัม/วัน วันละ 3 เวล...
ผลของสารคาทีชินในชาต่อร่างกาย
ผลของสารคาทีชินในชาต่อร่างกายการศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานระดับกลางจำนวน 182 คน อายุระหว่าง 18 - 55 ปี ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 24 - 35 กก./ม2 ไขมันในร่างกายมากกว่า 25% รอบเอวมากกว่า 85 ซม.สำหรับผู้ชาย และไขมันในร่างกายมากกว่า 30% รอบเอวมากกว่า 80 ซม. สำหรับผู้หญิง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยที่แต่ละกลุ่มต้องบริโภคเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในชาเป็นส่วนประกอบ 2 มื้อ/วัน โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้รับประทานเครื่องดื่มควบคุมทั้ง 2 มื้อ (มีปริมาณสารคาทีชิน 30 มก. และสารคาเฟอีน 10 มก./วัน...
ฤทธิ์ของสาร
ฤทธิ์ของสาร Isoflavanquinone จากมะกล่ำตาหนู สาร Isoflavanquinone ที่แยกได้จากสารสกัดส่วนเหนือดินของมะกล่ำตาหนูด้วยคลอโรฟอร์มคือ abruquinone B และ abruquinone G สาร abruquinone B มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค ด้วยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ = 12.5 มคก./มล. ต้านเชื้อ Plasmodium fulciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียด้วย IC50 = 1.5 มคก./มล. และเป็นพิษต่อเซลล์ KB และ BC cell lines ส่วนสาร abruquinone G มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simpl...