-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ปกป้องกระดูกของเห็ดหอม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ปกป้องกระดูกของเห็ดหอม
การศึกษาฤทธิ์ปกป้องกระดูกของส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตท (ethyl acetate fraction; LEA) ซึ่งแยกได้จากสารสกัดน้ำของเห็ดหอม (Lentinula edodes) ใน macrophage ที่แยกมาจากไขกระดูก (bone marrow-derived macrophages; BMMs) พบว่า LEA ขนาด 10 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนรูปร่าง (differentiation) ของ osteoclast ซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย RANKL โดยมีผลขัดขวาง NFATc1* signaling pathway และยับยั้งการสร้าง osteoclast การวิเคราะห์ transcriptome พบว่า LEA ยับยั้ง RANKL target genes อย่างจำเพาะเจาะจง ซึ่งรวมถึง Nfatc1 ด้วย และ LEA ยับยั้งการแสดงออกของ Nfatc1 ผ่านการยับยั้งการแสดงออกของ p65 และ NFATc1 นอกจากนี้การศึกษาในปลาม้าลาย (Zebrafish) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนด้วยยา prednisolone (glucocorticoid-induced osteoporosis) ขนาด 25 ไมโครโมลาร์ พบว่า LEA ขนาด 10 มคก./มล. สามารถยับยั้งความผิดปกติดังกล่าวได้ แสดงให้เห็นว่าการรับประทานเห็ดหอมมีแนวโน้มช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้
Int J Mol Sci. 2020;21:1347.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารต้านอนุมูลอิสระจากชาเขียวปรับภาวะสมดุลสารต้านอนุมูลอิสระของเนื้อเยื่อหัวใจในหนูแรทอายุมาก
สารต้านอนุมูลอิสระจากชาเขียวปรับภาวะสมดุลสารต้านอนุมูลอิสระของเนื้อเยื่อหัวใจในหนูแรทอายุมากการศึกษาผลของสารสกัดชาเขียว ซึ่งพบสารโพลีฟีนอลในปริมาณสูง ต่อการต้านความเสียหายของ macromolecule ในเนื้อเยื่อหัวใจหนูแรทอายุน้อยและหนูแรทอายุมาก โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่1 (กลุ่มควบคุมหนูแรทอายุน้อย) ป้อนยาหลอก กลุ่มที่ 2 (กลุ่มทดลองหนูแรทอายุน้อย) ป้อนสารสกัดชาเขียวขนาด 100 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 3 (กลุ่มควบคุมหนูแรทอายุมาก) ป้อนยาหลอก และกลุ่มที่ 4 (กลุ่มทดลองหนูแรทอายุมาก) ป้อนสารสกัดชาเขียว...
ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของสารสกัดเหง้าขิง
ฤทธิ์ต้านข้ออักเสบของสารสกัดเหง้าขิงการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเหง้าขิงด้วยเอทานอล 70% ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้ข้ออักเสบด้วยการฉีดคอลลาเจน Type 2 (ซึ่งสกัดจากกระดูกอ่อนข้อต่อของวัว) ขนาด 0.1 มล. บริเวณปลายหาง หลังจากนั้น 7 วัน ฉีดสารสกัดจากเหง้าขิงขนาด 50, 100 และ 200 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน เข้าช่องท้องหนูแรททุกวัน เป็นเวลา 25 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงขนาดสูงกว่า 50 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน สามารถทำให้ระดับ Clinical scores ดีขึ้น อุบัติการณ์เกิดโรคข้ออักเสบ, อุณหภูมิภายใ...
การศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของขมิ้นอ้อย
การศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของขมิ้นอ้อย การสกัดแยกขมิ้นอ้อย พบว่าได้สาร curcumenol ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด เมื่อทดสอบในการทดลองหลายอัน และพบว่ามีฤทธิ์ดีกว่ายาแก้ปวดแอสไพริน และไดไพโรนในบางการทดลอง และฤทธิ์นี้ไม่ได้ผ่าน opioid receptor Phytomedicine 2002;9:427-32 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของมะเดื่อชุมพร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของมะเดื่อชุมพร สารสกัดใบมะเดื่อชุมพร ( Ficus racemosa Linn.)แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทดลองในหนูขาว เมื่อให้สารสกัดความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว สามารถลดการอักเสบได้ 30.4 , 32.2 , 33.9 , 32.0 % ในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้ขาหลังอักเสบด้วย carragenin , serotonin , histamine และ dextran ตามลำดับ กลไกการลดการอักเสบเกิดจากการยับยั้ง histamine และ serotonin ผลการลดการอักเสบเรื้อรังเมื่อทดลองโดยการฝัง...
ฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าของสาร
ฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าของสาร mitragynine จากใบกระท่อมในหนูเม้าส์การศึกษาโดยทำให้หนูเม้าส์เกิดความซึมเศร้าด้วยวิธี Forced Swimming Test (FST) และ Tail Suspension Test (TST) ในหนูเม้าส์ทั้งหมด 7 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 - 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับสาร mitragynine จากใบกระท่อมขนาด 5, 10 และ 30 มก./กก. ฉีดเข้าทางช่องท้อง 30 นาที ก่อนเริ่มการทดลอง ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 - 7 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้า fluoxetine 20 มก./กก., amitriptyline 10 มก./กก. ฉ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในมันฝรั่ง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในมันฝรั่ง และฤทธิ์ลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดี 8 คน โดยให้รับประทานมันฝรั่งขนาดเล็กอบด้วยไมโครเวฟทั้งผิว 6-8 ลูก (ประมาณ 138 กรัม) ครั้งเดียว เปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานคุกกี้มันฝรั่งในปริมาณที่เท่ากัน พบว่ามันฝรั่งอบช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดและในปัสสาวะ ในขณะที่กลุ่มที่รับประทานคุกกี้มันฝรั่งลดสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดและในปัสสาวะ จากนั้นได้ทำการศึกษาแบบข้ามกลุ่มต่อในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 18 คน โดยให้รับประทานมันฝรั่งม...
ผลต่อสมองของสารสำคัญในกลุ่ม
ผลต่อสมองของสารสำคัญในกลุ่ม isoflavones จากถั่วเหลืองและเทมเป้การทดสอบเปรียบเทียบผลในการปกป้องสมองของสารในกลุ่ม isoflavones จากถั่วเหลืองและเทมเป้ (tempeh) ซึ่งเป็นอาหารที่ได้จากการหมักถั่วเหลืองกับเชื้อรา Rhizopus sp. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม (amnesia) ด้วยการฉีดยา scopolamine ขนาด 1 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนัง โดยให้หนูกินถั่วเหลือง (SI) หรือเทมเป้ (TI) ที่มีผลรวมของสารในกลุ่ม isoflavones เท่ากับ 10, 20 และ 40 มก./กก. เป็นเวลา 15 วัน และมีกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน piracetam ขนา...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของราสพ์เบอร์รีแดงในหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานและมีภาวะอ้วน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของราสพ์เบอร์รีแดงในหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานและมีภาวะอ้วนการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของราสพ์เบอร์รีแดง (Red raspberry; Rubus idaeus L.) โดยให้หนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานและมีภาวะอ้วน กินอาหารที่มีส่วนผสมของผงแห้งของผลราสพ์เบอร์รีแดง (freeze-dried raspberry) ร้อยละ 5.3 เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ พบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีระดับ interleukin (IL)-6 ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับราสพ์เบอร์รีแดง นอกจากนี้...
คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย
คาโมมายล์ช่วยป้องกันอาการท้องเสียการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดท้องเสียของคาโมมายล์ (Matricaria recutita L.) ในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้มีอาการท้องเสียด้วยการป้อนน้ำมันละหุ่ง พบว่าเมื่อป้อนยาต้มจากดอกคาโมมายล์ (chamomile decoction extract) ขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ที่เวลา 60 นาที ก่อนการป้อนน้ำมันละหุ่ง ช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องเสีย และลดการสะสมของของเหลวในลำไส้ (intestinal fluid accumulation) รวมทั้งช่วยลดการเกิด oxidative stress ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย โดยคาโมมายล์ช่วยลดระดับ ...