-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากเห็ดฟาง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารสำคัญจากเห็ดฟาง
การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสาร VGPI-a จากเห็ดฟาง (Volvariella volvacea) ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (macromolecular polysaccharide) และเป็นสารในกลุ่ม α- glucan ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 1435.6 kDa ในเซลล์ macrophage ชนิด RAW264.7 โดยบ่มเซลล์ดังกล่าวร่วมกับ VGPI-a ขนาด 31.25, 125 และ 500 มคก./มล. เป็นเวลานาน 24 ชม. พบว่า สาร VGPI-a ทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อ macrophage และมีผลเหนี่ยวนำให้ macrophage กระตุ้นการสร้างและการแสดงออกของ nitric oxide (NO), tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin-6 (IL-6) และ IL-1β รวมทั้งทำให้การเกิดกระบวนการ phagocytosis มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยการออกฤทธิ์จะขึ้นกับขนาดที่ให้ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร VGPI-a กระตุ้น MAPK signaling pathway โดยเพิ่มระดับการเกิดปฏิกิริยา phosphorylation ของ p38, JNK และ ERK ของ macrophage ส่งผลให้การแสดงออกและการหลั่ง NO, TNF-α, IL-6 และ IL-1β เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าสาร VGPI-a จากเห็ดฟางมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
Carbohydr Polym. 2020;230:115674ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเมล็ดบัวหลวง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเมล็ดบัวหลวง สารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากเมล็ดบัวหลวง เมื่อนำมาทสอบในหลอดทดลองและในหนูขาว และหนูถีบจักร พบว่าสารสกัดจากเมล็ดบัวหลวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีมาก โดยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ด้วยวิธี DPPH มีค่าเท่ากับ 6.12ฑ0.41 มคก./มล. และ IC50 ต่อการยับยั้งการสร้างสาร nitric acid มีค่าเท่ากับ 84.86ฑ3.56 มคก./มล. ซึ่งผลที่ได้มีค่าน้อยกว่าสาร rutin ซึ่งเป็นสารมาตรฐานที่ใช้เป็นตัวควบคุม และเมื่อให้สารสกัดเมล็ดบัวหลวงขนาด 100 และ 200 มก...
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida ของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya Linn.) พบว่าสารเคมีหลัก คือ benzyl isothiocyanate ซึ่งพบได้ถึง 99.36% และเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา พบว่าสามารถต้านเชื้อรา Candida ได้แก่ C. albicans, C. glabrata, C. krusei, C. parapsilosis และ C. tropical เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion และ broth dilution โดยพบว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ inhibition zone อยู่ในช่วง 14.2-33.2 มม. สาร benz...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร borapetosides A จากต้นบอระเพ็ดการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร borapetosides A สารสำคัญที่พบในต้นบอระเพ็ด โดยการฉีด borapetosides A ให้แก่หนูเม้าส์ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 และหนูเม้าส์ปกติ วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน พบว่า borapetosides A จะช่วยเพิ่มระดับของไกลโคเจน และลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งหนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน โดยฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ borapetosides A เกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ไม่มีผลต...
ฤทธิ์ของสารสกัดรากสามสิบต่อระดับไขมันในซีรัม
ฤทธิ์ของสารสกัดรากสามสิบต่อระดับไขมันในซีรัม การเกิด lipid peroxidation และการสร้างเอนไซม์ superoxide dismutase ในหนูที่ถูกตัดรังไข่การศึกษาในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ (Ovariectomized rat) โดยให้สารสกัดน้ำ หรือสารสกัดเอทานอลจากรากของต้นรากสามสิบ (Asparagus racemosus) ในขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลานาน 5 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับสาร 17α-ethynylestradiol ขนาด 0.1 มก./กก. และหนูกลุ่มควบคุม พบว่าระดับของคอเลสเตอรอลรวมและระดับไขมันชนิด LDL ในซีรัมในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน หนูที่ได้รับสารสกัดเอทา-...
ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากฟ้าทะลายโจร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากฟ้าทะลายโจรสารandrographolide (AP1) และ 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide (AP3) จากฟ้าทะลายโจร ความเข้มข้น 1-100 ไมโครโมล มีฤทธิ์ยับยั้งทรอมบินที่ไปเหนี่ยวนำให้เกร็ดเลือดของหนูขาวเกาะกลุ่ม ในขณะที่สาร neoandrographolide (AP4) ออกฤทธิ์เล็กน้อยหรือไม่มีฤทธิ์ AP3 (ความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกร็ดเลือดเกาะกลุ่ม 50% (IC50) มีค่า 10-50 ไมโครโมล) จะออกฤทธิ์ต้านเกร็ดเลือดสูงกว่า AP1 กลไกในการยับยั้งเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดของ AP1 และ AP3 คือออกฤทธิ์ยับยั้ง...
ผลของสตีวีโอไซด์ในการต้านเบาหวาน
ผลของสตีวีโอไซด์ในการต้านเบาหวาน สตีวีโอไซด์จากใบหญ้ามีผลต่อน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานชนิด Type 2 ซึ่งเป็น ชนิดที่ปัญหาด้านการหลั่งอินซูลิน และกลูคากอน และการทำงานของอินซูลิน พบว่าสเตียวี- โอไซด์ให้ผลลดน้ำตาลในหนูที่เป็นเบาหวาน เมื่อตรวจด้วยวีธี glucose tolerance และเพิ่มการ ตอบสนองต่ออินซูลิน ปริมาณglucagon ลดลง สำหรับในหนูปกติสตีวีโอไซด์เพิ่มปริมาณอินซูลิน แต่ไม่ทำให้ปริมาณ glucagon เปลี่ยนแปลง จึงสรุปได้ว่าสตีวีโอไซด์มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยเพิ่มปริมาณอินซูลิน แต่ทำให้ป...
ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของสาร
ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของสาร cardenolides จากใบรัก สาร 18,20-epoxycalotropin, calotropin และ 15 beta-hydroxycalotropin จากใบรัก เมื่อนำทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเนื้อเยื่อที่ปากของคน (human oral epidermal carcinoma), เซลล์มะเร็งเต้านม (breast cancer) และเซลล์มะเร็งที่ปอด (human small cell lung cancer) พบว่าสารดังกล่าวสามารถมีความเป็นพิษเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้ โดยเรียงลำดับความสามารถในการต้านจากมากไปน้อยคือ calotropin>15 beta-hydroxycalotropin>18,20-epoxycalotropin J Nat Prod, 2...
ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อระดับอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร
ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อระดับอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหารการทดลองให้หนูถีบจักรกินอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากนม (casein) หรือโปรตีนจากถั่วเหลืองในขนาดปกติ (200 ก./อาหาร 1 กก.) ในขนาดสูง (600 ก./อาหาร 1 กก.) และในขนาดสูง ผสมกับสาร cysteamine ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง (600 + 0.06 ก./อาหาร 1 กก.) พบว่าในหนูที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนขนาดสูง ทั้งโปรตีนจากนม หรือโปรตีนจากถั่วเหลือง มีระดับของ superoxide anion และ malondialdehyde (MDA) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับของเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในก...
ฤทธิ์ป้องกันการขาดเลือดมาเลี้ยงที่สมองของสาร
ฤทธิ์ป้องกันการขาดเลือดมาเลี้ยงที่สมองของสาร ginsenoside จากรากโสมคนทำการศึกษาในหนูขาวเพศผู้พันธุ์วิสตาร์ โดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มหนูที่ทำให้เกิดการขาดเลือดมาเลี้ยงที่สมองนาน 2 ชั่วโมง กลุ่มที่ 3, 4, 5 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับ ginsenoside ขนาด 5, 10, 20 มก./กก. ป้อนให้ทางปากวันละ 1 ครั้ง ทุกวันนาน 7 วัน ก่อนที่จะทำให้หนูเกิดอาการขาดเลือดมาเลี้ยงที่สมองนาน 2 ชั่วโมง และให้เลือดกลับไป (reperfusion) ภายใน 2 ชั่วโมง พบว่าในกลุ่มที่ได้รับสาร...