-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ประโยชน์ของคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกของกระเจี๊ยบแดงในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ประโยชน์ของคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกของกระเจี๊ยบแดงในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วน
การทดสอบผลของสารโพลีฟีนอลิกจากสารสกัดของกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) ในหนูเม้าส์ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนที่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงขนาด 1, 10 และ 25 มก./กก./วัน กลุ่มควบคุมอาหาร กลุ่มควบคุมอาหารที่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดง 25 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนแต่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดง โดยให้สารผ่านทางปาก ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 42 วัน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ลดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารไขมันสูง ปรับปรุงค่าระดับความทนต่อกลูโคส ความไวต่ออินซูลิน และอัตราส่วนของคอเลสเตอรอล LDL/HDL ปรับปรุงภาวะการอักเสบในตับ ลดการแสดงออกของ adipokines ที่มีผลขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และสารก่อการอักเสบ (proinflammatory) เสริมความสมบูรณ์ของทางเดินอาหารโดยเพิ่มการแสดงออกของ mucins และโปรตีนซึ่งช่วยในการฟื้นฟูเยื่อบุผิวทางเดินอาหาร นอกจากนี้สารสกัดกระเจี๊ยบแดงยังมีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก (prebiotic) ซึ่งมีผลปรับปรุงอัตราส่วนของแบคทีเรีย Firmicutes/Bacteroidetes ที่มีประโยชน์ต่อทางเดินอาหาร จากผลการทดสอบนักวิจัยระบุว่าสารโพลีฟีนอลิกจากกระเจี๊ยบแดงมีผลในการบรรเทาภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติด้วยคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
Food Res Int. 2020;127:108722.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารจากไพล นักวิทยาศาสตร์ไทยพบว่าสาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl)butadiene (DMPBD) ซึ่งแยกได้จากไพล ยับยั้งการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย ethyl phenylpropiolate, arachidonic acid และ 12-O-tetradecanoyl phorbol-13-acetate ในการทดลองใช้หูหนู และยังยับยั้งในการทดลองในอุ้งเท้าหนูอีกด้วย J Ethnopharmacol 2003;87:143-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ชาเขียวช่วยลดพิษจากยาฆ่าแมลง
ชาเขียวช่วยลดพิษจากยาฆ่าแมลงเมื่อป้อนสารสกัดจากชาเขียวให้หนูขาวทางปาก ขนาด 60 มก./ตัว/วัน ในหนูปกติ (ไม่ได้รับยาฆ่าแมลง) และหนูที่ได้รับยาฆ่าแมลง fenitrothion organophosphate ขนาดต่ำและขนาดสูง (10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ) โดยให้สารสกัด 1 ชม. ก่อนได้ยาฆ่าแมลง เป็นเวลานาน 28 วัน พบว่า หนูขาวปกติที่ได้รับสารสกัดชาเขียว ไม่มีความผิดปกติใดๆของเซลล์ตับและไต ส่วนหนูขาวที่ได้ยาฆ่าแมลงจะมีการทำลายของเซลล์ตับ ไต และเกิดอนุมูลอิสระสูงขึ้น (lipid peroxidation สูงขึ้น, ระดับ glutathione (GSH) และเอนไซม์ g...
ฤทธิ์ต้านภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติของดอกทับทิม
ฤทธิ์ต้านภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติของดอกทับทิมศึกษาผลของการรับประทานแคปซูลดอกทับทิมต่ออาการผิดปกติของรอบเดือนในอาสาสมัครเพศหญิง 76 คน (อายุระหว่าง 20-49 ปี) ซึ่งระบุว่ามีภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 38 คน) กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานยา tranexamic acid ขนาด 500 มก. และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานแคปซูลดอกทับทิมแห้งขนาด 500 มก. โดยให้รับประทานยาทุกๆ 6 ชั่วโมง ติดต่อกัน 5 วัน นับจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก และทำเช่นนี้ 3 รอบของการมีประจำเดือน (3 cycles) ประเมินการสูญเสี...
ฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทย
ฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทยการศึกษาฤทธิ์ต้านการสะสมไขมันของชุมเห็ดไทย โดยทำการศึกษาในเซลล์ไขมัน 3T3-L1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดชุมเห็ดไทยประกอบอยู่ปริมาณ 0.001-1.0 มค.ก./มล. เมื่อเลี้ยงครบ 8 วัน ทำการวิเคราะห์หาค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ในเซลล์ด้วยชุดทดสอบ Triglyceride E test WAKO และการศึกษาในสัตว์ทดลอง (in vivo ) โดยเลี้ยงหนูแรทด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1-3 ป้อนสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดชุมเห็ดไ...
สาร
สาร alkaloid ในใบหอมแขก (Murraya koenigii ) ช่วยต้านความจำที่ลดลงเนื่องมาจากความชราการศึกษาผลของสาร alkaloid ที่สกัดจากใบหอมแขก (MKA) ต่อการจำของหนูเม้าส์ โดยทดลองในหนูเม้าส์ 2 กลุ่ม คือหนูกลุ่มอายุน้อย 3-4 เดือนและหนูกลุ่มอายุมาก 12-15 เดือน ในหนูกลุ่มอายุน้อยถูกทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการจดจำลดลง โดยการฉีด scopolamine ขนาด 0.4 มก./กก. หรือ diazepam ขนาด 1 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู หลังจากนั้นหนูเม้าส์ทุกกลุ่มจะได้รับการป้อนสาร MKA ขนาด 10, 20 และ 30 มก./กก. แล้วทดสอบประสิทธิภ...
สารสกัดชาเขียวสามารถลดความดันโลหิต
สารสกัดชาเขียวสามารถลดความดันโลหิต ต้านการอักเสบ ลดการเกิดออกซิเดชั่น และลดภาวะการต่อต้านอินซูลินในผู้ป่วยโรคอ้วน และความดันโลหิตสูงการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดทั้งสองฝ่ายเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน และมีความดันโลหิตสูง จำนวน 56 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดชาเขียว 1 แคปซูล/วัน มีสารสกัดชาเขียว 379 มก./แคปซูล กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก ในขนาดที่เท่ากัน นาน 3 เดือน หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดชาเขียวระดับความดันโลหิต (ทั้ง s...
ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสม
ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสมการศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ที่แยกได้จากรากโสม ได้แก่ PGG, PGG1, PGG2 และ PGG3 ในหนูเม้าส์ด้วยวิธีที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วยกรดอะซิติก (acetic acid writhing test) และแผ่นความร้อน (hot-plate tests) ในวิธีที่เหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติก เมื่อฉีดสาร PGG ขนาด 10 20 และ 40 มก./กก. PGG1 และ PGG2 ขนาด 20 มก./กก. และ PGG3 ขนาด 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า PGG, PGG2 และ PGG3 จะมีผลลดอาการปวดได้ โดย PGG3 ที่ขนาด 20 มก./กก. จะให้ผล...
ความเป็นพิษและฤทธิ์คุมกำเนิดเพศชายของรากมะละกอ
ความเป็นพิษและฤทธิ์คุมกำเนิดเพศชายของรากมะละกอการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด 80% เมทานอลจากรากมะละกอ (Carica papaya) โดยป้อนหนูแรทในขนาด 500 1,000 1,500 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว จากนั้นเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลานาน 24 และ 48 ชม. พบว่า สารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตายแต่มีผลต่อพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า การเคลื่อนไหวช้าลง มีอาการเดินเซ และปัสสาวะเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงนำสารสกัดเมทานอลมาแยกต่อด้วยเทคนิคทางโครมาโตกราฟี ทำให้ได้ส่วนสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (petroleum ether fract...
ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณ
ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณการทดสอบฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของสารแอลคาลอยด์รวม (มี scholaricine, 19-epischolaricine, vallesamine, และ picrinine เป็นส่วนประกอบหลัก) ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 90% เอทานอลของใบพญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris (L.) R. Br.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการภูมิแพ้ด้วยโอแวลบูมิน (ovalbumin) โดยเปรียบเทียบการให้สารแอลคาลอยด์รวมเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูวันละ 3 ครั้ง (ขนาด 8.3 และ 16.7 มก./กก./ครั้ง) และวันละครั้ง (ขนาด 25 และ 50 มก./กก.) และ...