-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ตะไคร้ และพิมเสนต้น
การทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม (citronella oil), ตะไคร้ (lemongrass oil) และพิมเสนต้น (patchouli oil) ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว 2 ชนิด ได้แก่ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis พบว่าน้ำมันพิมเสนต้น มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และ S. epidermidis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 1.25-2.5 มก./มล. รองลงมาคือ น้ำมันตะไคร้ และน้ำมันตะไคร้หอม สาร citral ซึ่งเป็นสารสำคัญหลักที่พบในน้ำมันตะไคร้ มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อทั้ง 2 ชนิด (MIC 0.125-0.25 มก./มล.) รองลงมา คือสาร patchouli alcohol ที่พบในน้ำมันพิมเสนต้น และ citronellal ที่พบในน้ำมันตะไคร้หอม เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยทั้ง 3 ชนิด มาผสมกันด้วยอัตราส่วนต่างๆ และทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย พบว่าน้ำมันสูตรผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอม:น้ำมันตะไคร้:น้ำมันพิมเสนต้น ในอัตราส่วน 1:2:1 จะมีฤทธิ์แรงที่สุดในการต้านเชื้อ P. acnes และ S. epidermidis (MIC 0.3125 และ 0.625 มก./มล. ตามลำดับ) และการศึกษาผลการเสริมฤทธิ์กันของน้ำมันสูตรผสม โดยคำนวณจากค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพร่วม (fractional inhibitory concentration index; FICI) พบว่าค่า FICI ต่อเชื้อ P. acnes และ S. epidermidis เท่ากับ 0.09 และ 0.20 ตามลำดับ
Songklanakarin J Sci Technol. 2020;42(5):1106-12.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคฟันผุของโกฐกระดูก
ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคฟันผุของโกฐกระดูกสารสกัดด้วยเอทานอลจากรากโกฐกระดูก ความเข้มข้น 0.5 - 4 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ที่เป็นสาเหตุโรคฟันผุ ยับยั้งการสร้างกรดของแบคทีเรีย การยึดเกาะของแบคทีเรียต่อแผ่นโมเดล hydroxyapatite beads ที่เคลือบด้วยน้ำลาย (saliva-coated hydroxyapatite beads) และการสังเคราะห์กลูแคนJ Ethnopharmacol 2007;111:413-7 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง (Mentha piperita L.) และน้ำมันเขียว Myrtus communis L. ในการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง และน้ำมันเขียว พบว่าองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งคือ alpha-terpinene, isomenthone, trans-carveol, pipertitinone oxide และ beta-caryophyllene ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากน้ำมันเขียว องค์ประกอบหลักคือ alpha-pinene, limonene, 1,8-cineole และ linalool เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าน้ำมันหอมระเห...
ถั่วเหลืองดำ
ถั่วเหลืองดำ (black-soy bean) ช่วยยับยั้งการสะสมคอเลสเตอรอลในตับการศึกษาผลของถั่วเหลืองดำต่อการเมตาบิลิสมของคอเลสเตอรอล และภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ (ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่ไม่ได้ดื่มสุรา: Non-alcoholic fatty liver disease) ด้วยการป้อนด้วยอาหารไขมันสูง พบว่าการป้อนผงถั่วเหลืองดำ ขนาด 1% และ 4% ร่วมกับการป้อนอาหารไขมันสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยผงถั่วเหลืองดำมีผลลดการแสดงอ...
ผลน้ำมันเทียนดำ
ผลน้ำมันเทียนดำ (Black caraway) ต่อน้ำหนักตัวของหนูที่เป็นเบาหวานการศึกษาในหนูแรท 40 ตัว น้ำหนัก 145-240 กรัม โดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว โดยให้กลุ่มที่ 1 เป็นชุดควบคุม กลุ่มที่ 2 ให้น้ำมันเทียนดำ 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว โดยต่อท่อเข้าทางกระเพาะอาหาร กลุ่มที่ 3-8 ชักนำให้เกิดเบาหวานโดยการฉีด alloxan 70 มลก./กก.น้ำหนักตัว และต่อท่อเข้าทางกระเพาะเพื่อให้น้ำมันเทียนดำแก่หนูในกลุ่มที่ 4-8 ในปริมาณ 5, 10, 20, 40 และ 80 มลก./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ แล้วทำการชั่งน้ำหนักหนูทุกวัน เป็นเวลา 10 ...
การบริโภคสตรอเบอรรี่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงในคน
การบริโภคสตรอเบอรรี่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงในคนการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 12 คน (ผู้ชาย 5 คน และผู้หญิง 7 คน) อายุเฉลี่ย 34 ± 8 ปี ดัชนีมวลกาย 22.2 ± 2.4 กก./ม.2 รับประทานผลสตรอเบอรรี่สดขนาด 500 กรัม/วัน ในช่วงเวลาครึ่งวันเช้า และครึ่งวันบ่ายระหว่างมื้ออาหาร นาน 16 วัน และทำการเจาะเลือดเพื่อดูระดับสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีในระหว่างการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 เดือน พบว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีในเลือดสูงขึ้น และเพิ่ม...
ขิงช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกาย
ขิงช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายการศึกษาแบบ double-blind, placebo controlled, randomized ในอาสาสมัครที่ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ (eccentric exercise) จนทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบบริเวณข้อศอก แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงสดและขิงที่ผ่านความร้อน (heat-treated ginger) เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ โดยการทดลองที่ 1 ให้อาสามัคร 34 คน รับประทานแคปซูลขิงสดขนาด 2 ก.เทียบกับยาหลอก นาน 11 วัน และการทดลองที่ 2 ทดสอบในอาสาสมัคร 40 คน ให้รับประทานแคป...
การตอบสนองความไวของสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต
การตอบสนองความไวของสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมเทศหรือไม่เป็นการรายงานในผู้ป่วยหญิงอายุ 18 ปี ที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) น้ำหนักช่วงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 35.8 กก. (ดัชนีมวลกาย 12.7 กก./ม.2) 6 เดือน ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำหนักร่างกายลดลง 17 กก. ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ป่วยจำกัดอาหารและการออกกำลังกายที่มากเกินไป แพทย์ทำการรักษาโดยให้รับประทานอาหารที่...
ผลของการได้รับแป้งจากเมล็ดองุ่นร่วมกับแบคทีเรียจากคีเฟอร์ต่อลักษณะจุลินทรีย์ในลำไส้
ผลของการได้รับแป้งจากเมล็ดองุ่นร่วมกับแบคทีเรียจากคีเฟอร์ต่อลักษณะจุลินทรีย์ในลำไส้การศึกษาลักษณะจุลินทรีย์ในลำไส้ (intestinal microbiota) จากอุจจาระของหนูเม้าส์ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ประเภทซินไบโอติก (synbiotics) ที่ประกอบด้วยแป้งซึ่งอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์จากเมล็ดองุ่น (flavonoid rich wine grape seed flour; WGF) กับ Lactobacillus kefiri DH5 (LKDH5) ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากคีเฟอร์ (kefir lactic acid bacteria; LAB) โดยแบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารไขมันสูง (กลุ่มควบคุม), กลุ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Piperine สาร piperine ที่พบในพริกขี้หนู มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหนูตะเภาที่เป็นมะเร็งปอด สาร piperine ขนาด 50 มก./กก. เมื่อให้หนูกินพร้อมกับสารก่อมะเร็ง Benzo(a)pyrene หรือให้กินหลังจากได้รับสารก่อมะเร็ง พบว่าสามารถลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันในไมโตคอนเดรีย และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione, reduced glutathione วิตามินซี และวิตามินอี ในไมโตคอนเดรียของปอดและตับ จึงเป็นไปได้ว่า piperine อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง (Phytomedicine 2004;11:8...