-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinases และ hyaluronidase ของสารสกัดใบรางจืด
การศึกษาศักยภาพของสารสกัดใบรางจืดในการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอาง โดยทดสอบฤทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสื่อมหรือความแก่ของผิว ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinases (MMPs) และ hyaluronidase ของสารสกัดน้ำ และ 80% เอทานอลจากใบรางจืด พบว่าสารสกัดทั้ง 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เมื่อทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging และ lipid peroxidation inhibition assay โดยสารสกัด 80% เอทานอล มีฤทธิ์สูงกว่าสารสกัดน้ำ เมื่อทดสอบด้วยวิธี lipid peroxidation inhibition แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH สารสกัดทั้ง 2 ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 1 มก./ตร.ซม. สามารถยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase ได้ดีเทียบเท่ากัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง (% inhibition) เท่ากับ 61%±21% และ 63.0%±0.8% ตามลำดับ ขณะที่ผลในการยับยั้งเอนไซม์ MMP พบว่าสารสกัด 80% เอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ได้ดีกว่าสารสกัดน้ำและมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับกรดแกลลิก (ค่า IC50 เท่ากับ 12.0±0.3 และ 8.9±0.4 มก./ตร.ซม. ตาม ลำดับ นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-9 จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด พบว่าสารสกัด 80% เอทานอล ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก ได้แก่ กรดโรสมารินิก (rosmarinic acid) และ ฟลาโวนอยด์ ขณะที่ในสารสกัดน้ำประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือ สารประกอบฟีนอลิก
Molecules. 2020;25,1923; doi:10.3390/molecules25081923ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การบริโภคผลไม้ไทยมีผลเพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน
การบริโภคผลไม้ไทยมีผลเพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน (melatonin)สารเมลาโตนินเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาดูปริมาณของสารเมลาโตนินก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการศึกษาแบบ crossover ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีเป็นชาย 15 คน และหญิง 15 คน อายุระหว่าง 18 - 25 ปี อาสาสมัครทุกคนต้องรับประทานผลไม้ทั้ง 6 ชนิดที่มีสารเมลาโตนินค่อนข้างสูง (กล้วย สับปะรด ส้ม มะละกอ มะเม่า และมะม่วง) โดยรับประทานทีละชนิดในรูปของผลไม้ส...
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของหญ้าเกล็ดปลาการศึกษาฤทธิ์ของสารยูปาโฟลิน (eupafolin) ฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากต้นหญ้าเกล็ดปลา (Phyla nodiflora (L.) Greene) ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีมากเกินไป โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma) B16F10 ของหนูเม้าส์ ให้สารยูปาโฟลินความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มะเร็ง ทดสอบวัดปริมาณเม็ดสี การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส และระดับโปรตีนท...
ผลของลูกซัดในคนอ้วน
ผลของลูกซัดในคนอ้วนการทดลองทางคลินิกแบบ single blind, randomized, crossover study ในอาสาสมัครสุขภาพดีแต่มีภาวะอ้วน (body mass index ≥ 30) จำนวน 18 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้า 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 มีใยอาหารจากลูกซัด 0 ก. (อาหารควบคุม) ประเภทที่ 2 มีใยอาหารจากลูกซัด 4 ก. และประเภทที่ 3 มีใยอาหารจากลูกซัด 8 ก. พบว่าการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากลูกซัด 8 ก. ช่วยเพิ่มระยะเวลาของความรู้สึกอิ่ม ทำให้ความรู้สึกหิวและ ความอยากอาหารลดลง โดยไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แต่ทำให้ระดับของอินซูลิ...
ฤทธิ์สารสกัดขิงด้วยเอทานอลต่อการลดน้ำตาลและไขมัน
ฤทธิ์สารสกัดขิงด้วยเอทานอลต่อการลดน้ำตาลและไขมัน เมื่อป้อนสารสกัดขิงด้วยอัลกอฮอล์ในหนูที่เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ในขนาด 200 มก./กก. เป็นเวลา 20 วัน พบว่าลดน้ำตาลได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดลดลง ในขณะที่ HDL-cholesterol เพิ่มขึ้น หนูที่ถูกทำให้เบาหวานด้วย streptozotocin จะทำให้ปริมาณ lipid peroxide ในตับและตับอ่อนด้วย ขิงจะทำให้ปริมาณ lipid peroxide ลดลง ขนาดที่ให้ผลดีเท่ากับรับประทาน gliclazide 25 มก./กก. J Ethnopharmacol 2005;97:227-30 ...
ผลของการดื่มกาแฟที่ลดสาร
ผลของการดื่มกาแฟที่ลดสาร hydroxyhydroquinone ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงการศึกษาผลของการดื่มกาแฟที่ลดสาร hydroxyhydroquinone (HHQ) ซึ่งมีรายงานว่าเกิดจากขบวนการคั่วเมล็ดกาแฟสด และมีผลยับยั้งฤทธิ์ลดความดันโลหิตของกรด chlorogenic ซึ่งเป็นสารสำคัญในกาแฟ ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง โดยศึกษาแบบ randomized, double-blind crossover ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งใช้ยาลดความดัน จำนวน 31 คน อายุ 35-70 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ดื่มกาแฟซึ่งลดสาร HHQ (ปริมาณ HHQ 0.05 มก., กรด chlorog...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์การศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำมันจันทน์ และสาร a-santalol ที่แยกได้จากน้ำมันจันทร์ โดยฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจันทน์ ขนาด 1 ก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 8 วัน พบว่ามีผลลดระดับของบิลิรูบิน และน้ำตาลในเลือด เพิ่มน้ำหนักตัวและน้ำหนักตับ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของไกลโคเจน และโปรตีนรวมในตับ สำหรับการทดลองฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจ...
ผลของการดื่มกาแฟต่อการฟื้นฟูระบบลำไส้ภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบสูตินรีเวช
ผลของการดื่มกาแฟต่อการฟื้นฟูระบบลำไส้ภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบสูตินรีเวชศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อการฟื้นฟูระบบลำไส้ภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบสูตินรีเวชจำนวน 114 คน ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (abdominal hysterectomy) และตัดรังไข่ออกไปด้วยทั้งสองข้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน ในการศึกษาทำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มกาแฟวันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 1 ถ้วย หรือ 100 มล. ซึ่งประกอบด้วยคาเฟอีนไม่เกิน 100 กรัม) ในเว...
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของชา
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของชาเมื่อทำการทดลองในหลอดทดลอง สารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบชาอู่หลง ความเข้มข้น (วัดได้ในวันสุดท้ายการทดลอง) 100 มคก./มล. จะทำให้เซลล์ตาย แต่ที่ความเข้มข้น 0 - 50 มคก./มล. ไม่ทำให้เซลล์ melanoma ตาย และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ด้วย ที่ความเข้มข้นเดียวกันคือ 50 มคก./มล. สารสกัดจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่า L-ascorbic acid (AsA) สารสกัดและ AsA ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ของเห็ดและในเซลล์ melanoma แต่สารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ใน...
สารจากเปลือกผลลางสาด
สารจากเปลือกผลลางสาด นักวิจัยไทยร่วมกับนักวิจัยญี่ปุ่นพบสารใหม่เป็นสารกลุ่ม onoceranoid triterpenes ได้แก่ lansionic acid, 3beta-hydroxyonocera-8(26),14-diene-21-one, 21alpha-hydroxyonocera-8 (26),14-dien-3-one จากเปลือกผลลางสาด และยังพบสารที่มีผู้เคยพบแล้วคือ lansic acid และอนุพันธ์ methyl ester สารเหล่านี้เป็นพิษอย่างอ่อนต่อไรทะเล J Nat Prod 2002;65:1709-11 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...