-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่ง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่ง
การศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของเปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่ง (olive seed peptide) ซึ่งได้จากการย่อยโปรตีนจากเมล็ด (seed protein) ด้วยเอนไซม์ alcalase ในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงด้วยอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยป้อนหนูด้วยเปปไทด์ขนาด 200 และ 400 มก./กก./วัน เป็นเวลานาน 11 สัปดาห์ พบว่าเปปไทด์ขนาด 200 และ 400 มก./กก./วัน มีผลทำให้ผลรวมคอเลสเตอรอลลดลง 20% และ 25% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การศึกษาเพิ่มเติมในหลอดทดลองพบว่า เปปไทด์ความเข้มข้น 3.1 และ 26.7 มก./มล. สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอเลสเตอรอล (endogenous cholesterol biosynthesis) 16.8% และ 40% ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เปปไทด์จากเมล็ดมะกอกฝรั่งสามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์น่าจะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase
J Agric Food Chem. 2020;68:4237−44.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
น้ำต้มใบฝรั่งแก้อาการท้องร่วงแบบติดเชื้อเฉียบพลัน
น้ำต้มใบฝรั่งแก้อาการท้องร่วงแบบติดเชื้อเฉียบพลันการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด มีการสุ่มนาน 5 วัน มีกลุ่มคู่ขนาน และมีหลายแขน (open efficacy randomized 5-day, parallel group muti-arm interventional study) เพื่อศึกษาผลของการดื่มน้ำต้มใบฝรั่ง (guava leaf decoction) ต่ออาการท้องร่วงแบบติดเชื้อเฉียบพลัน (acute infectious diarrhoea) ในผู้ป่วยจำนวน 109 ราย ทั้งเพศชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ให้ผู้ป่วยดื่มน้...
ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร
ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone จากเมล็ดเทียนดำการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone (TQ) จากเมล็ดเทียนดำ(Nigella sativa ) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) ขนาด 60 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้อง พบว่าการป้อนสาร TQ วันละ 50 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสาร TQ และผลจากการตรวจวิเคราะห์เซลล์ไตด้วยเทคนิค immunohistochemical ...
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนู
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนูการศึกษาในหนูขาวเพศผู้ 60 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1-3 ต้องทำ sham operation คือการผ่าตัดเปิดเส้นเลือด carotid artery เพื่อใส่ลวดเข้าไปแต่ลวดยังไม่ได้ใส่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่ม sham + vehicle คือกลุ่มที่ได้รับ 1% Tween 80 ในน้ำกลั่น นาน 30 วัน + sham operated กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่ม sham + ER-100 คือกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้ง 100 มก./กก. ป้อนทางปากนาน 30 วัน + sham operated กล...
มะเขือเทศลดไขมันในเลือดและต้านอนุมูลอิสระ
มะเขือเทศลดไขมันในเลือดและต้านอนุมูลอิสระเมื่อแบ่งหนูแฮมสเตอร์ จำนวน 32 ตัว เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 กินอาหารที่มีไขมันสูง (ประกอบด้วยอาหารปกติ + น้ำมันข้าวโพด 10% + คอเลสเตอรอลล 0.2%) กลุ่มที่ 3 และ 4 กินอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดมะเขือเทศเข้มข้น (tomato paste) 3% และ 9% ตามลำดับ นาน 8 สัปดาห์ พบว่า หนูที่กินสารสกัดมะเขือเทศเข้มข้น 9% จะมีระดับคอเลสเตอรลทั้งหมด และ low density lipoprotein ในเลือดลดลง 14.3 และ 11% ตามลำดับ ส่วนสารสกัด 3% ไม่มีผลดังกล...
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพรต่างๆ จากการทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะของสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ สับปะรด ( Ananas comosus (L.) Merr. ) มะละกอ ( Carica papaya Linn. ) หญ้าคา ( Imperata cylindrica (L.) Raeusch.) มะเฟือง ( Averrhoa carambola Linn. ) หญ้าแห้วหมู ( Cyperus rotundus Linn. ) พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดน้ำจากรากสับปะรด และมะละกอในขนาดเทียบเท่ากับสมุนไพรแห้ง 10 g/kg จะทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นคิดเป็น 79% และ 74% ตามลำดับเมื่อเทียบกั...
ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ
ประสิทธิภาพของสารสกัดบ๊วยต่อการปกป้องตับ การต้านออกซิเดชัน และการต้านการอักเสบการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครสุขภาพดี 45 คน อายุ 56.0±11.6 ปี ที่มีค่าการทำงานของตับ transaminase ระหว่าง 20-40 UI/L โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และ 2 ให้รับประทานสารสกัดมาตรฐานของบ๊วย (Prunus mume) ขนาด 150 และ 300 มก./วัน ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดบ๊วยมีฤทธิ์ปกป้องตับโดยลดปริมาณของ alanine aminotransferase (ALT) ร้อยละ 47...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลีในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของเมล็ดข้าวสาลี (Triticum aestivum) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวาน กลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับยารักษาเบาหวาน metformin และกลุ่มที่เป็นเบาหวานและได้รับเมล็ดข้าวสาลี ทำการทดสอบเป็นเวลา 28 วัน หลังจากนั้นเก็บเลือดเพื่อวัดค่าน้ำตาล ทำให้หนูตายแล้วผ่าเพื่อดูอวัยวะภายใน ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดข้าวสาลีมีผลในลดระดับน้ำตาลในเลือด และค่า alb...
ผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
ผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย (ergogenic effect) ของสารสำคัญจากแตงโมและทับทิมการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย (ergogenic effect) ของสารสำคัญ L-citrulline จากแตงโม (Citrullus lanatus J Agric Food Chem 2017;65(22):4395-404. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของสารสกัด
ผลของสารสกัด saponin จากโสมจีน ในการยับยั้งโรคหลอดเลือดแดงแข็งการศึกษาฤทธิ์ของสาร saponin จากโสมจีน (Panax notoginseng saponin, PNS) ในการยับยั้งโรคเส้นเลือดแดงแข็ง ในหนูที่ขาด apolipoprotein E โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6-8 ตัว กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ให้อาหารชนิด western-type ที่ประกอบด้วยไขมัน 21% และโคเลสเตอรอล 15% กลุ่มที่ 2 ให้อาหาร western-type และเสริมสาร PNS 4.0 มิลลิกรัม/ตัว/วัน (PNS ขนาดต่ำ) และกลุ่มที่ 3 ให้อาหาร western-type เสริมสาร PNS 12 มิลลิกรัม/ตัว/วัน (PNS ขนาดสูง) เลี...