Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ยับยั้งภาวะอ้วนลงพุงของสารสำคัญจากโสม

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งภาวะอ้วนลงพุง (metabolic disease) ของสาร ginsenoside Rg2 ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ในรากโสม (Panax ginseng) โดยทำการทดลองในเซลล์ตับของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการสะสมไขมันด้วย oleic acid ขนาด 300 ไมโครโมลาร์ และ palmitic acid ขนาด 100 ไมโครโมลาร์ โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ร่วมกับสาร ginsenoside Rg2 ขนาด 25 ไมโครโมลาร์ และทำการทดลองในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6J ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงด้วยการได้รับอาหารที่มีไขมันสูงร่วมกับการฉีดสาร ginsenoside Rg2 เข้าทางช่องท้องในขนาด 2.5, 5.0, และ 10 มก./กก./วัน เป็นเวลานาน 28 วัน ผลการทดลองในเซลล์ตับหนูพบว่า สาร ginsenoside Rg2 มีผลยับยั้งการเพิ่มขึ้นของไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล การสะสมของไขมัน (lipid deposition) การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไขมัน (lipogenic) เพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมัน (fatty acids oxidation) ได้แก่ Srebp-1c, Fas และ Acc นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งการสร้าง reactive oxygen species ซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยกรดไขมันด้วย ผลการทดลองในหนูเม้าส์พบว่า สาร ginsenoside Rg2 ทำให้น้ำหนักตัวหนูลดลงโดยไม่มีผลต่อการกินอาหาร ระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลลดลง ความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) ดีขึ้น และความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) เพิ่มขึ้น โดยประสิทธิผลจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 10 มก./กก. ตับหนูมีน้ำหนักลดลงอย่างชัดเจนและมีการสะสมไขมันที่ตับลดลง และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า การออกฤทธิ์ของสาร ginsenoside Rg2 จะขึ้นอยู่กับการทำงานของยีน Sirtuin1 (SIRT1) ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ โดยยืนยันผลดังกล่าวด้วยการทดสอบในเซลล์ตับหนูที่ไม่มียีน SIRT1 พบว่าสาร ginsenoside Rg2 ไม่สามารถออกฤทธิ์ข้างต้นได้ จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สาร ginsenoside Rg2 สามารถบรรเทาภาวะอ้วนลงพุงจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง ด้วยกลไกการยับยั้งการสร้างไขมันและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่านการทำงานของยีน SIRT1

J Agric Food Chem. 2020;68:4215-26.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1396

ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง มีกลุ่มควบคุมเป็นยามาตรฐานและยาหลอก (A randomized double-blinded active and placebo controlled clinical trial) เพื่อทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisumJ Evid Based Complementary Altern Med 2017;22(1):41-6. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ...

1185

ผลของกระเจี๊ยบแดงในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยชาวไนจีเรียที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง
ผลของกระเจี๊ยบแดงในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยชาวไนจีเรียที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงปานกลางการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยชาวไนจีเรียที่มีความดันโลหิตสูง Stage 1 และ Stage 2 (Stage1 140-159/90-99 มม.ปรอท Stage 2 160-179/100-109 มม.ปรอท) จำนวน 80 คน ที่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม กลุมที่ 1 ได้รับยาหลอกที่เป็นชาชง ขนาด 150 มก./กก. วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า กลุ่มที่ 2 ได้รับยา hydrochlorothiazide (HCTZ) ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะ ขนาด 25 มก. 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า กลุ่ม...

1256

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง (Zingiber simaoense Y. Y. Qian) ในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 7.5, 15 และ 30 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล/กรดไฮโดรคลอริก ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) และการแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับยาไซเมทิดีน (cimetidine) ขนาด 100 มก./กก. และกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดและยาไซเมทิดีน ...

816

สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์
สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์การศึกษาผลของสารสกัดจากน้ำและเปลือกผลทับทิมต่อกระดูกในลูกหนูเม้าส์ในครรภ์ โดยหนูเม้าส์ ท้องถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากน้ำทับทิม (PJE) ขนาด 3.3 มล./กก./วัน กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกผลทับทิม (PHE) ขนาด 1.0 ก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับทั้งสารสกัดจากน้ำทับทิมและเปลือกผลทับทิม (PME) โดยจะได้รับการป้อนวันละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 วันจนถึง 18 วันและในวันที่ 19 ของอายุครรภ์ ลูก...

1325

ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง
ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูงการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันในเลือดสูง จำนวน 100 คน อายุ 35-75 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานน้ำมันวอลนัท (Persian walnut oil) ครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง (1 แคปซูล ประกอบด้วยน้ำมันวอลนัท 1.25 ซีซี เท่ากับขนาด 15 ซีซี/วัน) ร่วมกับอาหาร เป็นเวลา 90 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันวอลนัทจะมีระดับของคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันชนิด LDL และอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลรวม/ไขมันชนิด HDL ลด...

475

ผลของควันบุหรี่ต่อตัวชี้วัดทางชีวภาพในน้ำลายของเด็ก
ผลของควันบุหรี่ต่อตัวชี้วัดทางชีวภาพในน้ำลายของเด็กการวิจัยในเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีการสูบบุหรี่ โดยคัดเลือกเด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากครอบครัวในปริมาณที่ต่างกัน 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่น้อยกว่า 10 มวนต่อวัน กลุ่มที่ 2 สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ 10-20 มวนต่อวัน และกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน โดยสุ่มคัดเลือกเด็ก 30 คน (ชาย 15 คน หญิง 15 คน) จากแต่ละกลุ่มตัวอย่าง รวม 90 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่สูบบุหรี่จำนวน 90 คนผ...

197

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมอดีงู
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมอดีงูการทดสอบสารสกัดจากสมอดีงู โดยสกัดด้วยเมทานอลและนำมาแยกส่วนได้สารสกัดคลอโรฟอร์ม เอทิลอะซิเตท บิวทานอล และส่วน aqueous ที่เหลือ สมอดีงูอีกส่วนนำมาสกัดด้วยน้ำ รวมเป็นสารสกัด 6 ชนิด และทดสอบสาร casuarinin, chebulanin, chebulinic acid และ 1,6-di-O-galloyl-beta-D-glucose พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยตรวจสอบฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ anti-superoxide formation และ antilipid peroxidation ซึ่งสารแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ต่างๆ ไม่เท่ากัน เช่น chebulinic acid มีฤทธิ์จั...

1461

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วงการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง (Curcuma caesia Roxb.) พบสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ eucalyptol (16.43%) และ camphor (11.56%) ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50 1.487 มคก./มล. และค่าต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power เท่ากับ 48 มคก./มล. ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์ที่พบในน้ำมันหอมระเหย คือ 2.13&#...

1383

ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณ
ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณการทดสอบฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของสารแอลคาลอยด์รวม (มี scholaricine, 19-epischolaricine, vallesamine, และ picrinine เป็นส่วนประกอบหลัก) ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 90% เอทานอลของใบพญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris (L.) R. Br.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการภูมิแพ้ด้วยโอแวลบูมิน (ovalbumin) โดยเปรียบเทียบการให้สารแอลคาลอยด์รวมเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูวันละ 3 ครั้ง (ขนาด 8.3 และ 16.7 มก./กก./ครั้ง) และวันละครั้ง (ขนาด 25 และ 50 มก./กก.) และ...