Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านเอสโตรเจนของเห็ดขลำหมา

เห็ดขลำหมา (Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, S. Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang) เป็นเห็ดป่ากินได้ที่พบในป่าผลัดใบของประเทศไทย และมีการนำมาใช้เป็นยาพื้น บ้านสำหรับการฟื้นตัวหลังคลอด การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกเห็ด(fruiting bodies) ด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay (DPPH assay) และวิธี Ferric reducing anti-oxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่มีผลลดจำนวนของอนุมูลอิสระลงครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 55.51±3.62 มคก./มล. และค่า FRAP value เท่ากับ 166.64±11.43 มคก./มก. เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ FRAP ตามลำดับ สารสกัดเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ เมื่อทดสอบในเซลล์ macrophages RAW264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ ด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ โดยสารสกัดความเข้มข้น 50-200 มคก./มล. มีผลลดการแสดงออกของสารชักนำการอักเสบ ได้แก่ cyclooxygenase-2 (COX-2), interleukin-1β (IL-1β), interleukin 6 (IL-6), induci-ble nitric oxide synthase (iNOS) และ tumor necrosis factor (TNF-α) ในการศึกษาฤทธิ์ต้านเอสโตร-เจนของสารสกัดในเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยฮอร์โมน 17β-estradiol (E2) พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 12.5 มคก./มล. จะเสริมฤทธิ์ของ E2 ขณะที่สารสกัดความเข้มข้น 50-100 มคก./มล. มีผลลดฤทธิ์ของ E2 ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งได้ แสดงว่าสารสกัดจากเห็ดขลำหมามีศักย-ภาพในการที่จะนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่อไป

Songklanakarin J Sci Technol. 2020;42(4):865-72.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

879

ผลของสารสำคัญในกลุ่มไขมันจากเห็ดหลินจือต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ผลของสารสำคัญในกลุ่มไขมันจากเห็ดหลินจือต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวการทดสอบฤทธิ์ของสารในกลุ่มไขมันจากสปอร์ของเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) ซึ่งได้มาจากการสกัดด้วยสารไดคลอโรมีเทน (CH2Cl2) ต่อเซลล์มะเร็งชนิด THP-1 และ HL-60 พบว่าเมื่อบ่มเซลล์ THP-1 และ HL-60 ร่วมกับสารสกัดขนาด 0 - 2 มก./มล. เป็นเวลา 0 - 96 ชม. เซลล์ THP-1 และ HL-60 จะเกิดการตายแบบ apopotosis และอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ทั้งสองชนิดลดลง ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นกับความเข้มข้นและเวลาที่สัมผัสกับสารสกัดดังกล่าว การทดสอบต่อมาในเซลล์ T...

480

สารสกัด
สารสกัด procyanidins และ gypenosides จากเมล็ดองุ่น ลดภาวะดื้ออินซูลินการศีกษาฤทธิ์ของสารสกัด procyanidins (GSP) , gypenosides (GPE) จากเมล็ดองุ่น และ procyanidins ร่วมกับ gypenosides ต่อภาวะดื้ออินซูลินในหนูเม้าส์และเซลล์ HepG2 โดยแบ่งการทดลองเป็น 6 กลุ่ม, 2 กลุ่มควบคุม และ 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มควบคุมที่ 1 และ 2 ให้กินอาหารปกติและอาหารที่มีไขมันสูง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ 3, 4, 5 และ 6 ให้กินอาหารที่มีไขมันสูง ป้อนสารสกัด GSP (GSP80), GPE (GPE80), GSP + GPE (1:1) (GSP40+ GPE40) ขนาด 8...

1226

ฤทธิ์ปกป้องไตของชาเขียว
ฤทธิ์ปกป้องไตของชาเขียวการศึกษาฤทธิ์ของชาเขียว (Camelia sinensis (L.) Kuntze) ต่อการปกป้องความเสียหายของไตจากการได้รับยา gentamicin ทดสอบโดยฉีดสารสกัดเอทานอลจากชาเขียวขนาด 300 มก./กก./วัน เข้าทางช่องท้องของหนูแรท ติดต่อกัน 15 วัน ร่วมกับการกระตุ้นให้พิษต่อไตด้วยยา gentamicin ขนาด 100 มก./กก./วัน พบว่าชาเขียวสามารถปกป้องไต โดยลดระดับ creatinine และยูเรียที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับ gentamicin ชาเขียวยังให้ผลต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับ advanced oxidation protein products (AOPP) ยับยั้งการเกิด lipid perox...

1042

ผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
ผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (virgin coconut oil) ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (virgin coconut oil) ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมัน เปรียบเทียบกับน้ำมันที่ได้จากเนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะกอก และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน โดยทดลองเลี้ยงหนูแรทเพศผู้ 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 6 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยน้ำมันที่ได้จากเนื้อมะพร้าวแห้ง 8% กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 8% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมน้ำมันมะกอก 8% แ...

255

การลดระดับน้ำตาลของหญ้าหวานและสารจากหญ้าหวาน
การลดระดับน้ำตาลของหญ้าหวานและสารจากหญ้าหวานการศึกษาเปรียบเทียบผลของหญ้าหวาน และสารสเตียวิโอไซด์จากหญ้าหวาน ต่อระดับน้ำตาลในเลือดและการสร้างกลูโคส (gluconeogenesis) ในตับ พบว่าการให้หนูขาวกินผงใบหญ้าหวานขนาด 20 มก./กก./วัน นาน 15 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่หนูขาวที่กินสารสเตียวิโอไซด์ (stevioside) 5.5 มก./กก./วัน นาน 15 วัน ไม่มีผล นอกจากนั้นผงใบหญ้าหวานยังยับยั้งการสร้างกลูโคสในตับ ซึ่งมี L-alanine, L-lactate และ L-glutamine เป็น precusor โดยไม่ได้ม...

1055

ประโยชน์ของนมและน้ำมันข้าวโพดในการช่วยรักษาสารไอโซไทโอไซยาเนทในหัวผักกาดขาว
ประโยชน์ของนมและน้ำมันข้าวโพดในการช่วยรักษาสารไอโซไทโอไซยาเนทในหัวผักกาดขาวสารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanate; ITC) ซึ่งเป็นสารสำคัญในหัวผักกาดขาว (Raphanus sativus L.) มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งและยับยั้งการอักเสบ แต่มักจะสลายตัวได้ง่ายในสารละลายที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ การศึกษาโดยวัดสาร ITC ในน้ำคั้นจากหัวผักกาดขาวที่ผสมกับน้ำ น้ำมันข้าวโพด หรือนม พบว่าน้ำมันข้าวโพดและนมจะช่วยป้องกันการสลายตัวของ ITC โดยพบว่าน้ำหัวผักกาดขาวที่ผสมในน้ำมันข้าวโพดและนมจะมีความเข้มข้นของ ITC มากกว่าน้ำหัวผักกาดที่...

77

ฤทธิ์ลดไข้จากใบหางนกยูงไทย
ฤทธิ์ลดไข้จากใบหางนกยูงไทย จากการทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีไข้สูงด้วยยีสต์ พบว่าเมื่อให้กินสารสกัดเอทานอล คลอโรฟอร์มและปิโตเลียมอีเธอร์โดยวิธีการชง จากใบหางนกยูงไทย ( Caesalpinia pulcherrima ( L. ) SW. ) มีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง ซึ่งสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและปิโตเลียมอีเธอร์ ที่ขนาด 199 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวIndian Drugs 2000 ; 37(11) : 551-52 ข้อม...

75

ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร การศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาเม็ดซึ่งเตรียมจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร ( Andrographis paniculata Burm.f.Nees ) ในผู้เป็นหวัดจำนวน 158 คน พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา โดยลดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไม่พบอาการข้างเคียงของยา ในยาเม็ด 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 100 มิลลิกรัม ควบคุมคุณภาพมาตรฐานให้มีปริมาณแ...

1102

การศึกษาความเป็นพิษของปลาไหลเผือก
การศึกษาความเป็นพิษของปลาไหลเผือกการศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสารสกัดรากปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia Jack) ซึ่งมีสาร quassinoidsเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ พบว่าขนาดที่ทำให้หนูแรทเพศผู้และเพศเมียตายครึ่งนึง (LD50) คือ 1,293 และ > 2,000 มก./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ และการศึกษาต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูแรททั้งเพศผู้และเพศเมียโดยป้อนรากปลาไหลเผือก ขนาด 10, 25 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว พบว่ารากปลาไหลเผือกมีผลเพิ่มดัชนีชี้วัดการเจริญพันธุ์ของหนูแรทเพศผู้ เมื่อได้รับสารสกัดนานติดต่อกัน 28 วัน และมีช...