-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
อันตรกิริยาระหว่างสารสกัดบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
อันตรกิริยาระหว่างสารสกัดบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน metformin, sitagliptin และ glibenclami
การศึกษาอันตรกิริยาระหว่างสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นบอระเพ็ดกับยารักษาเบาหวาน 3 ชนิด ได้แก่ metformin, sitagliptin และ glibenclami ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ให้สารสกัด ขนาด 400 มก./กก. ร่วมกับยา metformin ขนาด 90 มก./กก. หรือยา sitagliptin ขนาด 10 มก./กก. หรือยา glibenclami 1 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดหรือยาเพียงอย่างเดียวและกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดไม่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลน-ศาสตร์ของยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ค่าความเข้มข้นสูงสุดของยาในเลือด (Cmax,), ค่าพื้นที่ใต้กราฟของความเข้มข้นของยากับเวลา (AUC), ค่าคงที่ของอัตราในการขจัดยา (Ke) และระยะเวลาที่ความเข้มข้นของยาในเลือดสูงสุด (Tmax) การให้สารสกัดร่วมกับยามีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้มากกว่าการให้สารสกัดหรือยาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase, blood urea nitrogen (BUN), คอเลสเตอ-รอลรวม และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เมื่อเทียบกับหนูเบาหวานกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาหรือสารสกัด สรุปได้ว่า การให้สารสกัดจากบอระเพ็ดร่วมกับยารักษาเบาหวานทั้ง 3 ชนิด มีผลช่วยให้ในการควบคุมเบาหวานและอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคได้ดีกว่าการให้ยาเพียงอย่างเดียว และไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
Phcog Mag. 2020;16:S47-56.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง
ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียงทดสอบฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง (Gnetum gnemon ) สกัด ที่ประกอบไปด้วยสาร trans-resveratrol และอนุพันธ์ (gnetin C, gnemonoside A และ gnemonoside D) ในหนูเม้าส์ที่มียีน copper/zinc superoxside dismutase (Sod1 ) ซึ่งควบคุมเอนไซม์ที่มีความจำเป็นต่อการคงสภาพของผิวหนังบกพร่อง ส่งผลให้ยีน colla1 ซึ่งควบคุมการแสดงออกของคอลลาเจนลดลง และโปรตีน p53 ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์เพิ่มขึ้น ผิวหนังจึงเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มค...
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคของหางนกยูงไทย
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคของหางนกยูงไทยเมื่อนำสารสกัดของหางนกยูงไทยด้วยไดคลอโรมีเทน มาแยกจนได้สารออก ฤทธิ์คือ furanoditerpenoid,6beta-benzoyl-7beta-hydroxyvouacapen-5alpha-ol (1) และ 6beta -cinnamoyl-7beta-hydroxyvouacapen-5alpha-ol (2) ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของการเกิดวัณโรค พบว่าสาร (1) ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อได้ดี ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 6.25 มคก./มล. ส่วนสาร (2) ออกฤทธิ์ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามสารทั้งสองให...
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของว่านพร้าว
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของว่านพร้าว Curculigenin A และ Curculigol เป็น steroid ซึ่งสกัดแยกได้จากหัวว่านพร้าว มีฤทธิ์ต้านตับอักเสบที่เกิดจาก thioacetamide และ galactosamine ฤทธิ์จะขึ้นอยู่กับขนาดที่ให้ โดย Curculigenin A ในขนาด 100 และ 1000 mcg/ml ให้ผลต้าน galactosamine แต่ทั้ง 2 ชนิด ในขนาด 10, 100, 1000 mcg/ml สามารถต้านฤทธิ์ตับอักเสบ Indian Drugs 1997;34(2):68-71. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...
ผลการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนของต้นคว่ำตายหงายเป็น
ผลการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนของต้นคว่ำตายหงายเป็นการศึกษาแบบสุ่ม ปกปิดสองฝ่าย และเปรียบเทียบกับยาหลอก (Prospective, double-blind randomized, placebo-controlled study) ในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนซึ่งมีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder Syndrome) จำนวน 20 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับแคปซูล ขนาด 350 มก. (ซึ่ง 1 แคปซูลมีน้ำคั้นจากใบคว่ำตายหงายเป็น 50%) รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง จำนวน 10 ราย และกลุ่มที่ได้รับยาหล...
ฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าและบรรเทาอาการปวดของเทียนข้าวเปลือก
ฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าและบรรเทาอาการปวดของเทียนข้าวเปลือก (Anethum graveolens L.)การศึกษาฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้าจากผลของเทียนข้าวเปลือก ซึ่งประกอบด้วยสาร polyphenols, flavonoids และ tannins ในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 250 มก./กก.นน.ตัว เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้ยาต้านอาการซึมเศร้า sertraline แล้วทดสอบด้วยวิธี Forced swimming test พบว่าสารสกัดเทียนข้าวเปลือกมีผลลดอาการซึมเศร้า โดยลดพฤติกรรมลอยตัวนิ่ง (immobility time) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าลงได้ ในการทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาก...
ฤทธิ์ต้านเชื้อราและสารก่อมะเร็งของน้ำมันจากใบขมิ้น
ฤทธิ์ต้านเชื้อราและสารก่อมะเร็งของน้ำมันจากใบขมิ้นการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราและสาร aflatoxin ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) โดยใช้ความเข้มข้นของน้ำมัน 0.01 - 1.5% (v/v) ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Yeast Extract Sucrose (YES) บ่มร่วมกับสปอร์ของเชื้อรา Aspergillus flavusFood and Chemical Toxicology 2011;49:1188 - 92 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียด
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์น้ำจากเปลือกต้นสีเสียด (Acacia catechu Willd.) ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่ม catechins เช่น (-)-epicatechin และ (+)-catechin มีฤทธิ์ลดความถี่และความแรงในการหดเกร็งตัวของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายที่แยกได้จากหนูตะเภา โดยฤทธิ์การยับยั้งจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณสารสกัดที่ให้ สารสกัดจากต้นสีเสียดสามารถเสริมฤทธิ์ของ calcium antagonist ในการต้านการหดเกร็งบริเวณลำไส้ใหญ่มากกว่าส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลาย และสามารถออกฤทธิ์คลายการหดเกร็งของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส...
ฤทธิ์ของน้ำมันเมล็ดเทียนดำต่ออาการผิดปกติของโพรงจมูกในผู้สูงอายุ
ฤทธิ์ของน้ำมันเมล็ดเทียนดำต่ออาการผิดปกติของโพรงจมูกในผู้สูงอายุการศึกษาแบบ prospective, crossover randomized controlled trial ในผู้ป่วยสูงอายุ 42 คน ที่มีอาการโพรงจมูกแห้ง คัดจมูก อาการคัน เกิดสะเก็ด และแสบจมูก โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน แต่ละกลุ่มได้รับการรักษาด้วยสเปรย์พ่นจมูกที่มีส่วนผสมของน้ำมันสกัดเย็นเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa ) และสเปรย์น้ำเกลือ (0.9% NaCl) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะพัก (washout period) ระหว่างการรักษาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นสลับการรักษา (crossover...
น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยชะลอพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยชะลอพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมะพร้าวอ่อนต่อการชะลอการเกิดอัลไซเมอร์ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การศึกษาในหนูแรท 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หนูปกติ กลุ่มที่ 2-4 คือหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหมดประจำเดือนโดยการตัดรังไข่ แล้วป้อนหนูกลุ่มที่ 2 ด้วยน้ำปกติ กลุ่มที่ 3 ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชดเชย โดยการฉีด E2 benzoate ขนาด 2.5 มคก/กก.น้ำหนักตัว และกลุ่มที่ 4 ถูกป้อนด้วยน้ำมะพร้าววันละ 100 มล./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยเพิ่มระดับ...