-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของกรดคลอโรจีนิก
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของกรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acids) จากกาแฟต่อไขมันในช่องท้องในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
การศึกษาทางคลินิก (randomized, double-blind, parallel controlled trial) ผลของกรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acids; CGA) ที่พบได้มากในเมล็ดกาแฟสีเขียว (green coffee beans) ในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศหญิงและชายจำนวน 150 คน มีค่าดัชนีมวลกาย ≥25 ถึง <30 แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่จะได้รับกาแฟที่มีกรดคลอโรจีนิกขนาดสูง 369 มก.CGA/แก้ว (180 มล.) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่จะได้รับกรดคลอโรจีนิก 35 มก.CGA/แก้ว โดยได้รับกาแฟวันละครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และมีช่วงสังเกตการณ์ก่อนทำการทดสอบและหลังทำการทดสอบช่วงละ 4 สัปดาห์ ประเมินการทดสอบโดยการวัดไขมันในช่องท้องและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในช่วงเริ่มการทดสอบ และช่วงสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 เมื่อสิ้นสุดการทดสอบ มีอาสาสมัครผ่านการทดสอบเสร็จสมบูรณ์จำนวน 142 คน พบว่ากลุ่มทดสอบมีภาวะไขมันในช่องท้อง (visceral fat area; VFA) การสะสมของไขมันช่องท้องทั้งหมด (total abdominal fat area; TFA) น้ำหนักและเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเวลาและกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงค่า VFA และ TFA จากช่วงเริ่มการทดสอบจนถึงช่วง 12 สัปดาห์ ในกลุ่มทดสอบมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงใด ๆ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าการได้รับกรดคลอโรจีนิกจากกาแฟเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินอาจจะมีผลในการลดระดับ VFA, TFA ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Nutrients. 2019;11(7):1617.doi:10.3390/nu11071617.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดน้อยหน่าในขนาด 300 และ 600 มก./กก . ให้หนูขาวในระยะตั้งท้องได้ 1-5 วัน พบว่าไม่มีผลต่อ corpora lutea, การฝังตัว และตัวอ่อน และไม่มีผลต่อเยื่อบุมุดลูก แสดงว่าไม่มีผลต่อหนูซึ่งตั้งท้องได้ 1-5 วัน Phytomedicine 2002;9(7):667-72. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ยับยั้งการย่อยแป้งของสารสกัดชาเขียว
ฤทธิ์ยับยั้งการย่อยแป้งของสารสกัดชาเขียวทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-amylase* ของสารสกัดชาเขียว (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ซึ่งมีสาร epicatechin 59.2%, สาร epigallocatechin gallate 14.6% และสาร epicatechin gallate 26.2% พบว่าสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 63.5% และมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 2.07 มก./มล. และเป็นการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (noncompetitive) การศึกษาในระดับกลไกการออกฤทธิ์พบว่า เมื่อสารสกัดชาเขียวเข้าจับกับเอนไซม์ α-amylase จะเกิดเป็น...
ผลของหญ้าฝรั่นต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อม
ผลของหญ้าฝรั่นต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blinded, placebo-controlled crossover trial) ในอาสาสมัครผู้ใหญ่ 100 คน อายุมากกว่า 50 ปี ที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อม (age-related macular degeneration: AMD) ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีค่าสายตามากกว่า 20/70 Snellen equivalent อย่างน้อย 1 ข้าง คัดเลือกอาสาสมัครที่มีรอยโรคของตาและโรคทางระบบทางเดินอาหารออกจากการทดสอบ ทำการทดสอบโดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นกลุ่มทดสอบที่จะได้รับหญ้าฝรั่น 20 มก./วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เปรียบเทียบก...
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา สารสกัดเมทานอลจากรากหญ้าคา ได้แก่ 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone, 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone, flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ความเข้มข้น 10 mM (ไมโครโมล) เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยสาร glutamate พบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันการเกิดพิษต่อเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ J Nat Prod 2006...
สังกะสีช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันตับของ
สังกะสีช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันตับของ EGCG จากการทดลองนำเอา Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารที่พบในชาเขียวมาทดลองในการเพาะเลี้ยงเซลล์ตับของหนู โดยใช้โลหะ เหล็ก ทองแดง และสังกะสีร่วมด้วย พบว่าเมื่อมีสังกะสีร่วมด้วยจึงมีฤทธิ์ป้องกันตับจาก bronsobenzene ทั้งนี้พบว่า EGCG สามารถจับกับสังกะสี และออกฤทธิ์ดังกล่าว Biol Pharm Bull 2002;25(9):1156-60 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ
สารต้านเชื้อราชนิดใหม่จากใบ Piper hispidum เมื่อแยกสารสกัด dichloromethane ของใบ Piper hispidum ได้สาร pyrrolidine amide ชนิดใหม่ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อรา Cladosporium sphaerospermumJ Nat Prod 1998; 61: 637-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของสาร
ผลของสาร ginkgolide B จากใบแป๊ะก๊วย ต่อภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมองการศึกษาผลของสาร ginkolide B ที่สกัดได้จากใบแป๊ะก๊วยต่อการหลั่งสารสื่อประสาทจำพวกกรดอะมิโนของสมอง ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองส่วนกลาง โดยการสอดไหมเย็บแผลชนิดไนลอนเข้าไปอุดหลอดเลือดเป็นเวลา 60 นาทีแล้วเอาออก หนูแรทจะได้รับการฉีดสาร ginkolide B ขนาด 10 มก./กก./วัน, 20 มก./กก./วัน หรือ น้ำเกลือ (กลุ่มควบคุม) เข้าทางช่องท้องเป็นเวลา 3 วัน ก่อนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมอง ผลการศึกษาพบว...
พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์
พิษวิทยาของสารสกัดเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์การศึกษาความเป็นพิษของสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัดในหนูเม้าส์เพศเมียที่ตั้งครรภ์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้ป้อนน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนสารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.วัน ตามลำดับ วันละ 1 ครั้ง จนกว่าหนูจะคลอด พบว่าในหนูเพศเมียที่ตั้งครรภ์ไม่พบความผิดปกติ หรือความเป็นพิษใดๆ แต่สารสก้ดน้ำที่ทำให้แห้งด้วยความเย็นของเมล็ดลูกซัด ทั้งขนาด 500 และ 1,0...
ฤทธิ์ต้านจุลชีพจากใบแป๊ะก๊วย
ฤทธิ์ต้านจุลชีพจากใบแป๊ะก๊วย เมื่อนำสารสกัดเมธานอลของใบแป๊ะก๊วย( Ginkgo biloba Linn. )มาแยกด้วยตัวทำละลายต่างๆ 3 ชนิด คือ ethyl acetate , n-butanol และน้ำ พบว่าส่วนของ ethyl acetate แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพได้หลายชนิด คือ Enterococcus faecalis Streptococcus sanguis และ Candida parapsilosis โดยความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อมีค่าน้อยกว่า 19 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำส่วนของ ethyl acetate มาแยกต่อพบว่ามีสารสำคัญแสดงฤทธิ์ ...