-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของหญ้าฝรั่นต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของหญ้าฝรั่นต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อม
การศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blinded, placebo-controlled crossover trial) ในอาสาสมัครผู้ใหญ่ 100 คน อายุมากกว่า 50 ปี ที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อม (age-related macular degeneration: AMD) ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีค่าสายตามากกว่า 20/70 Snellen equivalent อย่างน้อย 1 ข้าง คัดเลือกอาสาสมัครที่มีรอยโรคของตาและโรคทางระบบทางเดินอาหารออกจากการทดสอบ ทำการทดสอบโดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นกลุ่มทดสอบที่จะได้รับหญ้าฝรั่น 20 มก./วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก หลังจากนั้นสลับการรักษา ประเมินผลการศึกษาหลักโดยตรวจคุณภาพการมองเห็นด้วย best corrected visual acuity (BCVA) และตรวจการทำงานของเซลล์จอประสาทตาด้วย multifocal electroretinogram (mfERG) ประเมินผลการศึกษารองโดยการวัดเกี่ยวกับความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานหญ้าฝรั่นร่วมกับอาหารที่ช่วยชะลอการเกิดภาวะ AMD (age-related eye disease study; AREDS) ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าฝรั่นมีผลในการปรับปรุงค่าเฉลี่ย BCVA 0.69 letters และค่าเฉลี่ยร่วมของเวลาการตอบสนองของจอประสาทตาลดลง 0.17 มิลลิวินาทีเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก และผลการทดสอบในกลุ่มอาสาสมัคร AREDS พบว่ามีผลปรับปรุงค่าเฉลี่ย BCVA 0.73 letters และค่าเฉลี่ยร่วมความหนาแน่นของประสาทตา เพิ่มขึ้น 2.8% และไม่พบความแตกต่างของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าหญ้าฝรั่นมีผลในการปรับปรุงการมองเห็นในอาสาสมัครที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อม อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Graefes Arch Clin Exp Ophthalmol. 2019;257(1):31-40.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแคปซูลสหัสธารากับยาเม็ดไดโคลฟีแนคในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแคปซูลสหัสธารากับยาเม็ดไดโคลฟีแนคในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อเป็นการศึกษาวิจัยแบบสุ่ม และปกปิดการรักษาทั้งสองฝ่ายเพื่อประเมินประสิทธิผลของยาแคปซูลสหัสธารากับยาเม็ดไดโคลฟีแนคในการักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำการศึกษาในผู้ป่วยชาย และหญิง อายุ 25-60 ปี ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าหรือต้นคอ จำนวน 62 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เท่าๆ กัน กลุ่มที่ 1 รักษาด้วยยาแคปซูลสหัสธารา ขนาด 400 มก. ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร นาน 7 วัน กลุมที่ 2 รักษาด้วยยาเม็ดไดโคลฟีแนค ขนาด 25...
ผลต้านอนุมูลอิสระและลดภาวะดื้ออินซูลินของสาร
ผลต้านอนุมูลอิสระและลดภาวะดื้ออินซูลินของสาร oligosaccharides จากถั่วเหลืองในหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์การศึกษาผลของสาร oligosaccharides จากถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.) ต่อการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระและภาวะดื้ออินซูลินในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำนวน 97 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสาร oligosaccharides จากถั่วเหลือง ขนาด 10 ก. ผสมในน้ำอุ่น 200-300 ซีซี ต่อวัน รับประทานก่อนนอน ร่วมกับการฉีดอินซูลิน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับอินซูลินอย่าง...
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์สารสำคัญที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อระดับไขมันของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 118 คน เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์แคปซูล (ประกอบด้วยเคอร์คูมินอยด์ 1,000 มก และสารไพเพอรีน 10 มก. ต่อวัน) ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยารักษาเบาหวาน เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่ม...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดจากตัวอย่างข้าวโพด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไหมข้าวโพดหวานสลับสี ไหมข้าวโพดหวาน และไหมข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่าสารสกัด 50% เอทานอลจากไหมข้าวโพดหวาน มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 5991.98±60.61 มคก./มล. สำหรับการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสก...
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดรวงข้าวหอมมะลิต่อการชะลอความเสื่อมของผิวหนัง
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดรวงข้าวหอมมะลิต่อการชะลอความเสื่อมของผิวหนังJ Ethnopharmacol 2016;193:607-16. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อม
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) ต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง (mild to moderate dementia) จำนวน 402 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (จำนวน 200 คน, อายุเฉลี่ย 65.1 ± 8.8 ปี) ให้รับประทานสารสกัด EGb 761 จากใบแป๊ะก๊วย (ประกอบด้วย ginkgo flavonoids 22-27%, terpene lactones 5-7%) วันละ 240 มก. นานติดต่อกัน 24 สั...
ประสิทธิผลของตำรับยาพอกสมุนไพรห้ารากผสมปูนแดง
ประสิทธิผลของตำรับยาพอกสมุนไพรห้ารากผสมปูนแดง (เบญจโลกวิเชียร) ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าอักเสบแบบเฉียบพลันการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคข้อเข่าอักเสบแบบเฉียบพลันที่ไม่มีแผลเปิดบริเวณผิวหนัง ไม่มีภาวะข้อผิดรูป หรือเคยผ่าตัดร่วมด้วย จำนวน 30 ราย อายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยให้พอกยาสมุนไพรห้ารากผสมปูนแดง (เบญจโลกวิเชียร) บริเวณเข่า เป็นเวลา 15 นาที วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน ทำการติดตามผลการรักษาด้วยการประเมินระดับความเจ็บปวดด้วยแบบสอบถามการประเมินระดับความเจ็บปวด (Pain Rating Scale) ของ Wong-Baker FACES พบว่...
ฤทธิ์ต้านมะเร็งจากรากโสม
ฤทธิ์ต้านมะเร็งจากรากโสมการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดจากรากโสม (Panax notoginseng ) และสารสำคัญ ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม saponins พบว่าสารสกัดโสมที่ขนาด 1.0 มก./มล. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ SW480 human colorectal cancer cells ได้ 85.8% ซึ่งคาดว่าเป็นผลของ ginsenosides Rb1 และ Rg1 นอกจากนี้ สารสกัดโสมที่ขนาด 0.5 และ 1 มก./มล. ยังเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ apoptosis การทดสอบโดยให้เซลล์ได้รับสาร notoginsenoside R1, ginsenosides Rg1 และ Rb1 ขนาด 300 ไมโครโมลาร์ เป็นเวลา 2 วัน พบว่า ...
ฤทธิ์สมานแผลของน้ำมะพร้าวอ่อน
ฤทธิ์สมานแผลของน้ำมะพร้าวอ่อนการศึกษากลไกการออกฤทธิ์สมานแผลของน้ำมะพร้าวอ่อน (Cocos nucifera L.) ซึ่งมีสารสำคัญ เช่น ไฟโตเอสโตเจน (phytoestrogen), เบต้า-ซิโตสเตอรอล (β-sitosterol) ในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ออก (ovariectomized rat) โดยในการทดลองได้แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นหนูที่ผ่าเปิดหน้าท้องแต่ไม่ได้ตัดแยกรังไข่ออก (sham-operated), กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่ถูกตัดรังไข่ออก (ovariectomized; ovx), กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่ถูกตัดรังไข่ออกและได้รับ estradiol benzoate (EB) ขนาด ...