Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลชะลอความแก่ของสาร acetyl zingerone จากขิง

การศึกษาผลชะลอความแก่เนื่องจากแสงแดด (photoaging) ของสาร acetyl zingerone ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร zingerone ที่พบในขิง ในอาสาสมัคร จำนวน 31 คน อายุเฉลี่ย 44 ± 7 ปี โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่ให้ทาหน้าด้วยครีมซึ่งประกอบด้วยสาร acetyl zingerone 1% วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบ เทียบกับกลุ่มที่ให้ทาครีมหลอก พบว่าครีมซึ่งประกอบด้วยสาร acetyl zingerone สามารถลดริ้วรอย ความหมองคล้ำ และรอยแดงของผิวได้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการคัน ผิวไหม้ หรือเป็นผื่น แสดงว่าครีม acetyl zingerone มีผลทำให้ผิวที่ถูกทำลายด้วยแสงแดดดีขึ้น ช่วยลดริ้วรอย ความหมองคล้ำ และรอยแดงของผิว และมีความปลอดภัยในการใช้

J Cosmet Dermatol. 2020;00:1-8.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1055

ประโยชน์ของนมและน้ำมันข้าวโพดในการช่วยรักษาสารไอโซไทโอไซยาเนทในหัวผักกาดขาว
ประโยชน์ของนมและน้ำมันข้าวโพดในการช่วยรักษาสารไอโซไทโอไซยาเนทในหัวผักกาดขาวสารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanate; ITC) ซึ่งเป็นสารสำคัญในหัวผักกาดขาว (Raphanus sativus L.) มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งและยับยั้งการอักเสบ แต่มักจะสลายตัวได้ง่ายในสารละลายที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ การศึกษาโดยวัดสาร ITC ในน้ำคั้นจากหัวผักกาดขาวที่ผสมกับน้ำ น้ำมันข้าวโพด หรือนม พบว่าน้ำมันข้าวโพดและนมจะช่วยป้องกันการสลายตัวของ ITC โดยพบว่าน้ำหัวผักกาดขาวที่ผสมในน้ำมันข้าวโพดและนมจะมีความเข้มข้นของ ITC มากกว่าน้ำหัวผักกาดที่...

275

ผลในการปกป้องตับของสารสกัดจากผลมะขามป้อม
ผลในการปกป้องตับของสารสกัดจากผลมะขามป้อมสารสกัด 50% เอทานอลจากผลมะขามป้อม ความเข้มข้น 0.5 และ 1 mg/ml เมื่อทดลองในเซลล์ตับของหนูขาวที่ถูกทำลายด้วยเอทานอล พบว่าสารสกัดสามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์การมีชีวิต (cell viability) ของเซลล์ และลดการปลดปล่อยเอนไซม์ alanine transaminase (ALT) ได้ เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษเฉียบพลันต่อตับ โดยการป้อนสารสกัดขนาด 25, 50 และ 75 mg/kg และ silymarin ขนาด 5 mg/kg ก่อนการให้เอทานอล (5g/kg) 4 ชม. พบว่าสารสกัดและ silymarin จะลดระดับของเอน...

603

สารเคมีกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของชา
สารเคมีกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของชาสารสำคัญที่อยู่ในชาเป็นสารในกลุ่ม polyphenols เช่น gallic acid,catechin และสารอนุพันธ์ เช่น theogallin, gallocatechin, epicatechin, epigallocatechin, epicatechin gallate และepigallocatechin gallate (EGCG), theaflavine, theaflavine acid and thearubigene นอกจากนี้ยังมีสารในกลุ่ม flavonoids เช่น quercetin, kaempferol และ myrecetin มีการศึกษาในสัตว์ทดลองและในเซลล์เป็นจำนวนมากที่ยืนยันว่าชามีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง ทั้งมะเร็งลำไส้ ปอด หลอดอาหาร ม้าม ตับ และเต้านม โด...

1115

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา tamsulosin และสารสกัดจากปาล์มใบเลื่อยในการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตการศึกษาทางคลินิกแบบเปิดเผยและสุ่ม (An open-label, randomized trial) ในผู้ป่วยชายชาวเกาหลีที่มีอาการของภาวะต่อมลูกหมากโตจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 50 - 80 ปี โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับยา tamsulosin (ยาสำหรับรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตโดยออกฤทธิ์ยับยั้ง α1 receptor แบบเฉพาะเจาะจง) ขนาด 0.2 มก./วัน + สารสกัดจากปาล์มใบเลื่อย (Serenoa repens ) ขนาด 320 มก./วัน จำนวน 60 คน หรือได้รับเฉพาะยา tamsulosin ขนา...

555

ผลของรากปลาไหลเผือกต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ผลของรากปลาไหลเผือกต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศการทดสอบผลของรากจากต้นปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia  Jack) ในหนูแรทเพศผู้ซึ่งมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยแบ่งหนูตามการได้รับรากปลาไหลเผือกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (acute) กินผงรากปลาไหลเผือก 250, 500 และ 1000 มก./กก. กลุ่มที่ 2 (subacute) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 วัน และกลุ่มที่ 3 (subchronic) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 12 วัน พบว่าหนูในกลุ่มที่ 1 ซึ่งกินผงรากปลาไหลเผือก 500 และ 1000 มก./กก และหนูในก...

874

เพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส
เพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส Lopinavir ด้วยน้ำเกรพฟรุตยา Lopinavir เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ที่ออกฤทธิ์คงอยู่ในร่างกายได้น้อย เนื่องจากถูกเมตาบอลิสมด้วย cyotochrome P450 3A (CYP3A) และถูกขับออกผ่าน permeability-glycoprotein (P-gp) จึงนิยมใช้คู่กับยา Ritonavir ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง CYP3A และการทำงานของ P-gp เพื่อให้ยา Lopinavir คงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้น การศึกษาผลของน้ำเกรพฟรุต ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ CYP3A และ P-gp ต่อคาชีวประสิทธิผล (Bioavailability) ของยา Lopi...

235

ผลของกระเทียมต่อการลดไขมันและความดันโลหิตในคนสุขภาพดี
ผลของกระเทียมต่อการลดไขมันและความดันโลหิตในคนสุขภาพดี การศึกษาทางคลินิกถึงผลของกระเทียมต่อการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตและลดความแข็งของหลอดเลือดแดง โดยศึกษาในชายและหญิงสุขภาพดีอายุ 40-60 ปี จำนวน 75 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่จะกินยาเม็ดผงกระเทียมแห้ง ในขนาดเทียบเท่ากับสาร allicin 10.8 มก./วัน หรือกระเทียมประมาณ 3 กลีบ อีกกลุ่มกินยาหลอกนาน 12 สัปดาห์ พบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือด Low density lipoprotein cholesterol, High density lipoprotein cholesterol ความดันโลหิต และความแข็งของหลอดเลือดแดง...

1074

ฤทธิ์ของสารสกัดดอกคำฝอยในการกระตุ้นการงอกของผม
ฤทธิ์ของสารสกัดดอกคำฝอยในการกระตุ้นการงอกของผมการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของผมของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกคำฝอยซึ่งอุดมไปด้วยสาร hydroxysafflor yellow A ในเซลล์ dermal papilla และ human keratinocytes (HaCaT) พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 0.005-1.25 มก./มล. จะกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ทั้งสองชนิดได้ 166.02 ± 4.89% และ 114.83 ± 6.83% ตามลำดับ สารสกัดที่ความเข้มข้น 0.25-1.00 มก./มล. มีฤทธิ์เพิ่มการแสดงออกของ vascular endothelial growth factor mRNA และ keratinocyte growth factor mRNA ซึ่งเ...

276

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความเป็นพิษของมะระขี้นก
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความเป็นพิษของมะระขี้นกสารสกัดผลมะระแห้ง ด้วย 70% เอทานอล และสารสกัดน้ำคั้นผลมะระที่ไม่สุกและนำเมล็ดออกแล้วทำให้แห้งด้วยความเย็น เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษในหนูขาวทั้ง 2 เพศ โดยวิธีการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง พบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 362.34 มก/.100 ก.นน.ตัว และ 91.9 มก./100 ก.นน.ตัว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังศึกษาทดลอง ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดผลมะระแห้งด้วย 70% เอทานอล และสารสกัดน้ำคั้นผลมะระในหนูขาวปกติ และหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้...