-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
สารสกัดขิงกับยา
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
สารสกัดขิงกับยา loratadine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าขิง เปรียบเทียบกับยาแก้แพ้ loratadine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) โดยทดสอบในผู้ป่วย จำนวน 80 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับสารสกัดขิง ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (1 แคปซูล ประกอบ ด้วยสารสกัดขิง 125 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยา loratadine ขนาด 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประเมิน ผลจากคะแนนอาการทางจมูกโดยรวม (total nasal symptom scores), การตรวจวัดโครงสร้างภายในของจมูกด้วยเครื่อง acoustic rhinometry และแบบประเมินคุณภาพชีวิต rhinocon-junctivitis quality of life questionnaire (RQLQ) พบว่าสารสกัดขิงและยา loratadine สามารถลดอาการทางจมูกโดยรวมได้ไม่แตก ต่างกัน สำหรับการตรวจด้วยเครื่อง acoustic rhinometry พบว่าสารสกัดขิงมีผลเพิ่มปริมาตรของโพรงจมูก (volume of the nasal cavity) และลดระยะห่างจากรูจมูก (distances from the nostril) ทำให้อาการคัดแน่นจมูกของผู้ป่วยดีขึ้น ขณะที่ยา loratadine ไม่มีผล ผู้ป่วยในทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สารสกัดขิงและยา loratadine มีความปลอดภัยในการใช้ ไม่มีผลต่อตับและไต รวมทั้งค่าความดันโลหิตของผู้ป่วย สรุปได้ว่า สารสกัดขิง มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยา loratadine ในการลดอาการทางจมูก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ โดยสารสกัดขิงจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน อ่อนเพลีย เวียนศีรษะและท้องผูกน้อยกว่ายา loratadine ดังนั้นสารสกัดขิงจึงสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นอกเหนือจากยาแผนปัจจุบันได้
BMC Complement Med Ther. 2020;20:119.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีน
ฤทธิ์ต้านการอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีนการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะอักเสบในระบบประสาทและลำไส้ใหญ่ของสารไลโคพีนซึ่งพบได้มากในมะเขือเทศ ในหนูเม้าส์เพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย dextran sulfate sodium (DSS) โดยแบ่งหนูเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน (AIN-93M) กลุ่มที่ 2 ได้รับสารละลาย 2.5%w/v DSS + น้ำเปล่า + อาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสะลาย 2.5%w/v DSS + สารไลโคพีนขนาด 50 มก./นน.ตัว 1 กก. โดยผสมในอาหารมาตรฐาน ทำการทดสอ...
ผลของมะม่วงต่อคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือด
ผลของมะม่วงต่อคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือดศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ของมะม่วงทั้งผลกับมะม่วงผ่านการตัดแต่ง (ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า) ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 °C และ 5 °C ตามลำดับ เป็นเวลานาน 10 วัน และผลต่อการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือดของอาสาสมัครที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ผลการทดลองพบว่ามะม่วงทั้งผลจะมีสารฟลาโวนอยด์ เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี สูงกว่ามะม่วงที่ผ่านการตัดแต่ง แต่ปริมาณขอ...
ผลของการรับประทานสารสกัดแป๊ะก๊วยต่อโรคกระดูกพรุน
ผลของการรับประทานสารสกัดแป๊ะก๊วยต่อโรคกระดูกพรุนศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด EGb1 และ EGb2 จากแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba Phytother Res. 2013; 27(4): 515-20. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ ผู้ป่วยโรคลมชักมักมีปัญหาการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง และจากยาที่ใช้รักษา การทดลองให้ยารักษาโรคลมชัก เฟนิโตอิน (phenytoin) แก่หนูถีบจักรในขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 14 วัน มีผลลดการเรียนรู้และความจำ แต่เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์จากพรมมิ (Bacopa monnieri Pennell) ร่วมด้วยทุกวันในขนาด 40 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยให้ตลอดสัปดาห์ที่สองของการให้ยาเฟนิโตอิน...
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียจากชิงเฮา
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียจากชิงเฮา ชิงเฮา (Artemisia annua Linn.) ประกอบด้วยสารartemisinin ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย ในส่วนเหนือดินของชิงเฮาที่ทำการเพาะปลูกในแอฟริกา มีปริมาณ artemisinin 0.63-0.70% ของน้ำหนักแห้ง เมื่อนำมาเตรียมในรูปแบบชาชงพบว่าจะสามารถสกัดสารartemisinin ได้ประมาณ 40% ของทั้งหมด จากการทดลองโดยใช้ใบแห้ง 5กรัมต่อน้ำ 1ลิตร ในผู้ป่วยมาลาเรีย 5 รายพบว่า จะไม่พบเชื้อมาลาเรียในเลือดภายใน 2-4 วัน และทดลองในผู้ป่วยมาลา...
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง melanin ของสาร artocarpanone จากขนุนสาร artocarpanone ที่แยกได้จากเปลือกต้นขนุน สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase และการสร้าง melanin ในเซลล์ B16 melanoma ได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 80.8 และ 89.1 μM ซึ่ง artocarpanone จะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ดีกว่าสาร arbatin แต่อ่อนกว่ากรด kojic แต่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง melanin ดีกว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้ และพบว่า artocarpanone มีความเป็นพิษต่อเซลล์ B16 melanoma ต่ำ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธ...
ผลของชาเขียวต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบในคนอ้วนที่มีภาวะ
ผลของชาเขียวต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบในคนอ้วนที่มีภาวะ metabolic syndromeการศึกษาผลของชาเขียวต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบ (biomarkers of inflammation) ในคนอ้วนชายและหญิงที่มีภาวะ metabolic syndrome (ดัชนีมวลกาย 36.1±1.3 kg/m2) จำนวน 35 คน อายุเฉลี่ย 42.5±1.7 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้ำชาเขียว ขนาด 4 ถ้วยต่อวัน (ชาเขียว 1 ถ้วย มีสาร epigallocatechin gallate (EGCG), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG) และ epicatechin (EC) ประมาณ 110, ...
ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองลดอันตรายจากรังสี
ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองลดอันตรายจากรังสีHuanjing Yu Zhiye Yixue 2007;24(2):177-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจ
การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจการศึกษาในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต และไขมันในเลือดสูง (systolic blood pressure 130-150 mmHg, diastolic blood pressure 85-100 mmHg, คอเลสเตอรอลรวมมากกว่า 232 มก./ดล.) จำนวน 23 คน ทำการศึกษาแบบสุ่มและข้ามกลุ่มเปรียบเทียบกับยาหลอก นานทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ (ช่วงละ 4 สัปดาห์ รวมช่วงหยุดพัก) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือ ชนิดแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (1 แคปซูลมีสารสกัดเห็ดหลินจือ 36...