-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน
การศึกษาแบบ double-blind randomized placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause women) จำนวน 58 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานผงแห้งจากผลมะกอกเปอร์เซีย (Elaeagnus angustifolia L.) ขนาด 15 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ ได้แก่ estradiol, progesterone, testosterone, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่พบความแตกต่างของระดับฮอร์โมนทั้งก่อนและหลังการรับประทานในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม แต่พบว่าอาการปวดข้อในกลุ่มที่ได้รับผลมะกอกเปอร์เซียร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่ม พบว่าระดับฮอร์โมน FSH และอัตราส่วนของ FSH ต่อ testosterone มีค่าเพิ่มขึ้น และระดับฮอร์โมน progesterone มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการรับประทานผลมะกอกเปอร์เซียร์ อย่างไรก็ตามว่าการศึกษานี้จะไม่พบผลที่แน่ชัดของมะกอกเปอร์เซียร์ต่อการปรับปรุงฮอร์โมนเพศตามการใช้แผนโบราณ จึงควรมีศึกษาเพิ่มเติมถึงการบริโภคในระยะยาวและในกลุ่มประชากรที่มากขึ้น
J Ethnopharmacol. 2020;246:112229ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของน้ำแครอทต่อระดับคลอเรสเตอรอล
ผลของน้ำแครอทต่อระดับคลอเรสเตอรอล (Chloesterol) ในเลือด แครอทมีระดับของเบต้าคาโรทีน (beta-carotene) สูง ซึ่งแสดงฤทธิ์เหมือน HMG-CoA reductase inhibitor ในการทดลองนี้ เป็นการทดลองระดับ cholesterol ในชายสุภาพดี พบว่าเมื่อดื่มน้ำแครอท 1 หรือ 2 กระป๋องทุกวัน (น้ำหนัก 160 กรัมต่อกระป๋องซึ่งมี beta-carotene 6.6 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จะไม่มีผลต่อระดับ cholesterol แต่หากดื่ม 3 กระป๋องทุกวันจะมีระดับ total cholesterol ลดลง (จาก 202ฑ26 เป็น 189ฑ25 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้นขนาดต...
ฤทธิ์ปรับปรุงสภาพผิวของว่านหางจระเข้
ฤทธิ์ปรับปรุงสภาพผิวของว่านหางจระเข้การศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครผู้หญิงสุขภาพดีจำนวน 64 คน อายุ 30-59 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของสารสเตอรอล (sterol) จากวุ้นว่านหางจระเข้ (Aloe vera (L.) Burm.f.) 40 มคก. ต่อ 100 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการประเมินลักษณะของผิวหนังบริเวณปลายแขนพบว่ากลุ่มที่รับประทานโยเกิร์ตผสมสารสเตอรอลมีผลในการเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว (skin moisture) ลดการสูญเสียน้...
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดองุ่น
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดองุ่นศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดองุ่นในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ oxidative stress ด้วยแอลกอฮอล์ โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยอาหารมาตรฐานและน้ำเปล่า (control) กลุ่มที่ 2 ป้อนด้วยอาหารที่มีเอธานอล 20 เปอร์เซ็นต์ (20% alc.) กลุ่มที่ 3 ป้อนอาหารที่มีสารสกัดเมล็ดองุ่น 15 เปอร์เซ็นต์ (15% GS) และกลุ่มที่สี่ป้อนด้วยอาหารที่มีเอธานอล 20 เปอร์เซ็นต์กับสารสกัดเมล็ดองุ่น 15 เปอร์เซ็นต์รวมกัน (20% a...
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเหง้าข่าและสารสกัดในกระต่าย
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของเหง้าข่าและสารสกัดในกระต่าย จากการศึกษาผลของเหง้าข่าต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดในกระต่ายที่ได้รับผงเหง้าข่า, สารสกัดเมทานอลและน้ำสกัดของผงเหง้าข่า พบว่า สารสกัดและส่วนของพืชดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในกระต่ายปรกติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการทดลองครั้งนี้ศึกษาเปรียบเทียบกับ gliclazide ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานในกลุ่ม sulfonyluria แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำการทดสอบกับกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวานด้วย alloxan พบว่าผงเหง้าข่าและสารสกัดทั้ง 2 แ...
กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย
กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย และต้านการหดเกร็งในลำไส้ของมะขามป้อมการศึกษากลไกในการรักษาอาการท้องเสียของสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica + (80 มิลลิโมล) ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับยา dicyclomine (ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ) และการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียมของหนูตะเภา (guinea pig) โดยใช้ Pe.Cr ขนาด 0.3 และ 1 มก./มล. พบว่ามีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกับยา dicyclomine นั่นคือมีฤทธิ์เป็น anticholinergic และเป็น Ca2+ channel blocking (CCB) ซึ่งเป็นการออกฤทธิ์ต้านอาการห...
ผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากในผู้ป่วยเอดส์
ผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากในผู้ป่วยเอดส์ศึกษาผลของน้ำมะนาวและตะไคร้ในการรักษาฝ้าขาวในปากของผู้ป่วยเอดส์ เปรียบเทียบกับสารละลายเยนเชี่ยนไวโอเล็ต 0.5% โดยแบ่งผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 90 คน เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ทาสารละลายเยนเชี่ยนไวโอเล็ต 0.5% ที่ปาก 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 10 วัน กลุ่มที่ 2 ให้กลั้วปากด้วยน้ำมะนาวที่เจือจางด้วยน้ำ (น้ำมะนาวคั้น 20 มล. ผสมน้ำ 10 มล.) แล้วบ้วนทิ้ง รอ 5 นาที จากนั้นอมน้ำมะนาวเจือจางให้นานเท่าที่ทำได้แล้วกลืนลงไป และให้หยดน้ำมะนาวคั้น 2 - 3 หยด 3 ...
ไซรัปจากน้ำมะนาวควายช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรน
ไซรัปจากน้ำมะนาวควายช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรนการศึกษาแบบ Double blind randomized placebo-controlled clinical trial ในผู้ป่วยไมเกรน จำนวน 90 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกให้รับประทานไซรัปจากน้ำมะนาวควาย (Citrus medica L.) 15 มล. กลุ่มที่สองได้รับยาหลอกไซรัป และกลุ่มที่ 3 ให้รับประทานยารักษาไมเกรนโพรพราโนลอล (propranolol) ขนาด 20 มก. โดยรับประทานวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ แล้วทำการประเมินความถี่ ระยะเวลา และระดับความปวดในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับไซรัปจา...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสาร mangiferin จากรากกำแพงเจ็ดชั้นเมื่อป้อนหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ด้วยสาร mangiferin ที่สกัดได้จากรากกำแพงเจ็ดชั้น ขนาด 40 มก./กก./วัน เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยา glybenclamide 600 มคก./กก./วัน และหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาและสาร mangiferin ทดลองเป็นเวลา 30 วัน พบว่าสาร mangiferin และยา glybenclamide มีผลลดระดับของกลูโคส และ glycosylated hemoglobin แต่เพิ่มระดับของอินซูลินและฮีโมโกลบินในเลือด การทำงานของเอนไซม์ในตับ ได้แก่ hexokinase, pyruvat...
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของหญ้าเกล็ดปลาการศึกษาฤทธิ์ของสารยูปาโฟลิน (eupafolin) ฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากต้นหญ้าเกล็ดปลา (Phyla nodiflora (L.) Greene) ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีมากเกินไป โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma) B16F10 ของหนูเม้าส์ ให้สารยูปาโฟลินความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มะเร็ง ทดสอบวัดปริมาณเม็ดสี การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส และระดับโปรตีนท...