-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ว่านหางจระเข้ช่วยบรรเทาอาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ว่านหางจระเข้ช่วยบรรเทาอาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
การศึกษาฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) ของว่านหางจระเข้ (Aloe vera L.) ในหนูเม้าส์ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากการเหนี่ยวนำด้วย ovalbumin การทดสอบแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีพอลิแซคคาร์ไรด์น้ำหนักโมเลกุลต่ำ (PAG) ขนาด 100 มก./กก. ทุก ๆ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง กลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนด้วย PAG ขนาด 50 และ 10 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน ผลการศึกษาพบว่า PAG สามารถยับยั้งการสร้าง IgE ในเซรั่มและลดการเกิดความหนาของผิวหนังชั้น epidermis (epidermal thickness) ลดจำนวนของ Ki-67 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการแบ่งตัวของเซลล์ปรับปรุงการแสดงออกยีนไทต์ จังก์ชัน (tight junction genes) ได้แก่ zoluna occludens protein-1 (ZO-1), Claudin-1 และ Claudin-8 ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของสาร น้ำ หรือตัวถูกละลายผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ ซึ่งลดลงจากภาวะผิวหนังที่เกิดการอักเสบกลับคืนสู่ค่าปกติ รวมถึงให้ผลลดระดับไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของผิวหนัง ได้แก่ interleukin-4 (IL-4) และ IL-17A ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีพอลิแซคคาร์ไรด์น้ำหนักโมเลกุลต่ำสามารถบรรเทาอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยปรับปรุงการแสดงออกของยีนไทต์ จังก์ชันและยับยั้งการอักเสบของผิวหนัง
Scand J Immunol. 202;91:e12856.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดเมล็ดขี้กาเทศ
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินของสารสกัดเมล็ดขี้กาเทศ สารสกัดชนิดต่างๆจากเมล็ดแก่ของขี้กาเทศ (Citrullus colocynthis (L.) Schrad.) กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเมื่อทดลองให้เนื้อเยื่อตับอ่อนที่ตัดแยกจากตัวสัตว์ทดลอง และให้สารสกัดเข้าทางระบบหลอดเลือดแดงของตับอ่อน ( isolated perfused rat pancreas ) แฟรกชั่นสำคัญที่ให้ผลดังกล่าวประกอบด้วยกรดอะมิโนอิสระที่จำเป็นหลายชนิด (essential free amino acids) แฟรกชั่นนี้ให้ผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากต่อม islets of Lan...
สารสกัดขิงกับยา
สารสกัดขิงกับยา loratadine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าขิง เปรียบเทียบกับยาแก้แพ้ loratadine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) โดยทดสอบในผู้ป่วย จำนวน 80 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับสารสกัดขิง ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (1 แคปซูล ประกอบ ด้วยสารสกัดขิง 125 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยา loratadine ขนาด 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประเมิน ผลจากคะแนนอาการทางจมูกโดยรวม (total nasal symptom score...
ผลต้านอนุมูลอิสระและลดภาวะดื้ออินซูลินของสาร
ผลต้านอนุมูลอิสระและลดภาวะดื้ออินซูลินของสาร oligosaccharides จากถั่วเหลืองในหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์การศึกษาผลของสาร oligosaccharides จากถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.) ต่อการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระและภาวะดื้ออินซูลินในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำนวน 97 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสาร oligosaccharides จากถั่วเหลือง ขนาด 10 ก. ผสมในน้ำอุ่น 200-300 ซีซี ต่อวัน รับประทานก่อนนอน ร่วมกับการฉีดอินซูลิน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับอินซูลินอย่าง...
ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร การศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ยาเม็ดซึ่งเตรียมจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Burm. f. Nees) ในผู้เป็นหวัด จำนวน 158 คน พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา โดยลดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไม่พบผลข้างเคียงของยา ในยาเม็ด 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 100 มิลลิกรัม ควบคุมคุณภาพมาตรฐานให้มี...
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน อินซูลินในเลือด ในผู้ป่วยเมตาบอลิกซินโดรมการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย (double blind randomized controlled trial) ในผู้ป่วยกลุมอาการทางเมตาบอลิก หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) จำนวน 40 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงของดอกกระเจี๊ยบแดง ขนาด 500 มก วันละ 1 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอก ในขนาดที่เท่ากัน และทำการวัดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ...
สารสกัดจากเมล็ดลูกซัดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน
สารสกัดจากเมล็ดลูกซัดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวานการศึกษาสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดในหนูแรทที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน (diabetic nephropathy: DN) หนูแรทถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะต้านต่ออินซูลิน (insulin resistance) โดยการให้อาหารที่มีส่วนผสมของซูโคสสูง (50%), น้ำมันหมู (30%) และคอเลสเตอรอล (2.5%) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วจึงเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน โดยการฉีดสาร streptozotocin เข้าเส้นเลือดดำขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว หลังจากนั้นหนูจะได้รับการป้อนสาร สกัดจากเมล็ดลูกซัดที...
ชาคาโมมายล์กับฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ชาคาโมมายล์กับฤทธิ์ต้านการอักเสบการทดสอบสารสกัดน้ำร้อนของดอกคาโมมายล์แห้ง กับเซลล์ Murine RAW 264.7 macrophages ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้สร้างสารก่อการอักเสบคือ cyclooxygenase 2 (COX2) และ prostaglandin E2 (PGE2) ด้วยการบ่มเซลล์ดังกล่าวกับ lipopolysaccharide พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการหลั่ง COX2 และ PGE2 และพบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบคือ apigenin 7-O-glucoside และ apigenin 7-O-neohespridoside ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoids โดยสารทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างสาร COX2 และ P...
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อม
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) ต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาทในผู้ป่วยความจำเสื่อมระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง (mild to moderate dementia) จำนวน 402 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (จำนวน 200 คน, อายุเฉลี่ย 65.1 ± 8.8 ปี) ให้รับประทานสารสกัด EGb 761 จากใบแป๊ะก๊วย (ประกอบด้วย ginkgo flavonoids 22-27%, terpene lactones 5-7%) วันละ 240 มก. นานติดต่อกัน 24 สั...
ผลของการรับประทานเมล็ดลินินต่อการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ
ผลของการรับประทานเมล็ดลินินต่อการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบการศึกษาทางคลินิกแบบไม่ปกปิด มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (open-labelled randomised controlled trial) เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเมล็ดลินิน (Linum usitatissimum L.) ต่อการอักเสบของผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ (ulcerative colitis; UC) ในระดับอ่อนถึงระดับปานกลาง (mild-to-moderate UC) จำนวน 90 คน โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับเมล็ดลินินบด (grounded flaxseed) 30 ก./วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำมันเมล็ดลินิน ...