Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (visceral fat)

การศึกษาทางคลินิก (randomized double-blind placebo-controlled parallel-group study) ในอาสาสมัครจำนวน 70 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 และน้อยกว่า 30 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับผงจากหัวหอม (Allium cepa; onion) ที่ประกอบด้วยสารเควอซิติน (quercetin) 9 ก./วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ประเมินผลการทดสอบในช่วงสัปดาห์ที่ 0 และ 12 ผลการทดสอบพบว่าไขมันหน้าท้อง (visceral fat area) ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้รับสารเควอซิตินมีค่าคอเลสเตอรอลชนิด HDL และไขมันหน้าท้องต่ำกว่า นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารเควอซิตินมีค่าการทำงานของตับ alanine aminotransferase ต่ำกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าสารเควอซิตินที่พบได้มากในหัวหอมอาจจะมีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดภาวะอ้วนและปรับปรุงการทำงานของตับได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Nutrients.2019;12(1):91. doi: 10.3390/nu12010091.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

925

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากผลเลี่ยน
ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากผลเลี่ยน (Melia azedarach )การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัด 12-O Acetylazedarachin B ที่สกัดได้จากผลเลี่ยนในหลอดทดลอง (in vitro) โดยทำการทดลองเลี้ยงเซลล์มะเร็ง 4 ชนิดได้แก่ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60) เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร (AZ521) เซลล์มะเร็งปอด (A549) และเซลล์มะเร็งเต้านม (SK-BR-3) ในอาหารเลี้ยงเซลล์ (RPMI 1640 medium สำหรับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและเซลล์มะเร็งเต้านม และ DMEM medium สำหรับเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร) ที่มีสารสกัด ...

307

การรับประทานมะเขือเทศร่วมกับ
การรับประทานมะเขือเทศร่วมกับ broccoli สามารถต้านมะเร็งต่อมลูกหมากได้ทำการศึกษาในหนูเพศผู้จำนวน 206 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 และ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มี 10% มะเขือเทศ และ 10% broccoli ต่อ 100 กรัมอาหาร ตามลำดับ กลุ่มที่ 4 และ 5 เป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของ 5% มะเขือเทศ +5% broccoli และ 10% มะเขือเทศ + 10% broccoli ต่อ 100 กรัมอาหารตามลำดับ กลุ่มที่ 6 และ 7 เป็นกลุ่มที่ได้รับสาร lycopene 23 และ 224 นาโนโมล/กรัม ของอาหารตามลำดับ นา...

1633

สารสกัดจากใบมะรุมช่วยลดความเสียหายของระบบสืบพันธุ์เพศผู้จากการใช้ยาแก้ปวด
สารสกัดจากใบมะรุมช่วยลดความเสียหายของระบบสืบพันธุ์เพศผู้จากการใช้ยาแก้ปวดศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากใบมะรุม (Moringa oleifera) ต่อความเสียหายของระบบสืบพันธุ์เพศผู้ในหนูแรทจำนวน 40 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ ไม่ได้รับสารสกัดหรือยาใดๆ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ป้อนสารสกัดน้ำจากใบมะรุมขนาด 100 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 3 ป้อนยาแก้ปวด tramadol ขนาด 40 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ 4 ป้อนทั้งสารสกัดน้ำจากใบมะรุมและยา tramadol ร่วมกัน ทำการศึกษานานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อสิ้นส...

1143

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของชาตะไคร้
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของชาตะไคร้การทดสอบฤทธิ์ของชาใบตะไคร้ (Cymbopogon citratus ) ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอลเป็นเวลา 1 ชม. โดยแบ่งหนูออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำ 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 ได้รับชาอย่างเดียว กลุ่มที่ 4 และ 5 ได้รับชา ขนาด 28 และ 56 มก./กก.นน. ตัว ตามลำดับ เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 6 ได้รับชา ขนาด 28 มก./กก....

1007

ฤทธิ์ลดอาการเมื่อยล้าและต้านความเครียดของกระเจี๊ยบมอญ
ฤทธิ์ลดอาการเมื่อยล้าและต้านความเครียดของกระเจี๊ยบมอญ (Abelmoschus esculentus )ศึกษาฤทธิ์ลดอาการเมื่อยล้าและต้านความเครียดของสาร quercetin-3-O-gentiobiose (QG) จากกระเจี๊ยบมอญ (Abelmoschus esculentus ) โดยทำการทดลองในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดโดยการว่ายน้ำวันละ 150 นาที เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในระหว่างการทดลองป้อนหนูด้วยสาร QG ขนาดวันละ 25, 50 และ 75 มก./กก. ผลจากการทดลองพบว่าหนูที่ถูกป้อนด้วยสาร QG มีพฤติกรรมที่ทนต่อความเครียดได้มากขึ้น ว่ายน้ำได้นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกล...

781

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งและปรับภูมิต้านทานของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งและปรับภูมิต้านทานของสาร polysaccharides จากหญ้าต้มต๊อกสาร polysaccharides ส่วนที่สกัดโดยใช้น้ำ (water-extractable fraction) และส่วนที่สกัดโดยใช้ด่าง (alkali-extractable fraction) จากหญ้าต้มต๊อก (Solanum nigrum L.) ได้แก่ SNLWP และ SNLAP ตามลำดับ นำมาสกัดแยกต่อด้วยวิธี ตกตะกอนด้วยเอทานอล (ethanol precipitation), ไดอะไลซิส (Dialysis), anion-exchange และ gel filtration chromatography ได้เป็นสารย่อย 4 ชนิดคือ SNLWP-1, SNLWP-2, SNLAP-1 และ SNLAP-2 นำสารดังกล่าวมาทดสอบฤท...

96

ผลของสารสกัดใบกะเพราต่อความเครียดที่เกิดจากเสียง
ผลของสารสกัดใบกะเพราต่อความเครียดที่เกิดจากเสียง การทดลองเมื่อทำให้หนูเกิดความเครียดโดยให้ฟังเสียงดังระดับ 100 เดซิเบล นาน 4 ชั่วโมง มีผลลดจำนวนเม็ดเลือดขาวรวม (total leukocyte count) เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophil) และเพิ่มระดับคอร์ติโคสเตอโรนในเลือด แต่เมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากใบกะเพรา ( Ocimum sanctum L.) ก่อนโดยการฉีดเข้าช่องท้องติดต่อกันนาน 45 วัน มีผลทำให้ค่าต่างๆดังกล่าวข้างต้นกลับสู่ระดับปกติJ Ethnopharmacol 2000...

1049

กลไกการออกฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารของใบตะขบฝรั่ง
กลไกการออกฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารของใบตะขบฝรั่งการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารของสารสกัดเมทานอลจากใบตะขบฝรั่ง (Muntingia calabura J Ethnopharmacol 2014;151(3):1184-93. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

178

ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว เมื่อนำสารสกัดเมล็ดบัวมาศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี และยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของตับเนื่องจาก carbon tetrachloride และ อัฟลาทอกซิน B1 โดยมีผลทำให้ทั้งการทำลายเซลล์และระดับเอนไซม์ลดลง Phytomedicine 2003;10:165-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...