-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ต่อระดับน้ำตาลและอินซูลินในอาสาสมัคร
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ต่อระดับน้ำตาลและอินซูลินในอาสาสมัคร
การศึกษาแบบ randomized, single-blind, crossover trials เกี่ยวกับผลของการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (rice with high resistant starch) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 20 คน ในการศึกษานี้ใช้ข้าวที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มเอนไซม์ starch synthase IIIa และ branching enzyme IIb (ss3a/be2b) เพื่อให้ได้ข้าวที่มีปริมาณอะไมโลสสูงและทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ แบ่งออกเป็น 2 การศึกษาย่อย การศึกษาที่ 1 ทำการสุ่มให้อาสาสมัครรับประทานแครกเกอร์ข้าวปกติ (กลุ่มควบคุม) หรือรับประทานแครกเกอร์ข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ จากนั้นสลับกลุ่ม พบว่าระดับพื้นที่ใต้กราฟของกลูโคสและระดับพื้นที่ใต้กราฟของอินซูลินหลังการรับประทานแครกเกอร์ที่ทำจากข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการรับประทานแครกเกอร์ปกติอย่างมีนัยสำคัญ และการศึกษาที่ 2 เมื่อให้อาสาสมัครการรับประทานข้าวปกติ (กลุ่มควบคุม) หรือรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ที่ผ่านการหุงแล้ว ขนาด 50 ก. ก่อนสลับกลุ่ม โดยมีระยะพักระหว่างการรับประทานอาหารแต่ละแบบในทั้งสองการศึกษาอย่างน้อย 7 วัน พบว่าการรับประทานข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์มีผลลดค่าระดับพื้นที่ใต้กราฟของกลูโคสและระดับพื้นที่ใต้กราฟของอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญเช่นกันเมื่อเทียบกับการรับประทานข้าวปกติ จึงแสดงให้เห็นว่าขข้าวที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมให้มีปริมาณอะไมโลสสูงและทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์สามารถลดระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดได้
Biosci Biotechnol Biochem. 2020;84:365-71ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศ
พิษต่อเซลล์มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรในตำรับยาดองเหล้าเพื่อสมรรถภาพทางเพศสมุนไพรที่มีความถี่สูงสุดที่ใช้ในตำรับยาดองเหล้าเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 4 ชนิด ได้แก่ ม้ากระทืบโรง กำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม และฝาง เมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PC3) พบว่าสารสกัด 50% และ 95% เอทานอลของกำลังวัวเถลิง โด่ไม่รู้ล้ม ฝาง และสมุนไพรผสมทั้ง 4 ชนิด มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 80% ส่วนฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในเซลล์แมคโคฟาจ (RAW) โดยดูจากการยับยั้งการหลั่งไนตริกออ...
ฤทธิ์บรรเทาอาการไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ของอาร์ติโช๊ค
ฤทธิ์บรรเทาอาการไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ของอาร์ติโช๊คการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และปกปิดสองทาง (double-blind randomized controlled trial) ในผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จำนวน 102 คน พบว่าหลังจากสิ้นสุดการทดลอง มีอาสาสมัครจำนวน 41 คน ในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus L.) ขนาด 200 มก. (มีสาร cynarine 2 มก./เม็ด) วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน และอาสาสมัครจำนวน 40 คนที่ได้รับยาหลอก เมื่อทำการตรวจสอบตับของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยการอัล...
ตำรับยารักษาแผลในปากจากใบบัวบก
ตำรับยารักษาแผลในปากจากใบบัวบก การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาตำรับเจลรักษาแผลในปากจากสารสกัดใบบัวบกสด (Centella asiatica Linn. Urban) พบว่าตำรับที่ใช้ยาพื้นซึ่งเตรียมจาก C934P มีคุณสมบัติทางกายภาพและมีความคงตัวดีการศึกษาทางคลินิกโดยใช้ตำรับเจลที่มีความเข้มข้น0.5,1.0 และ 2.0% เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน triamcinolone acetonide (TA) และยาหลอกในผู้ป่วย 87 คน พบว่าตำรับเจล ของสารสกัดใบบัวบกทั้งสามความเข้มข้นและตำรับTA ให้ผลใกล้เ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดจากตัวอย่างข้าวโพด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไหมข้าวโพดหวานสลับสี ไหมข้าวโพดหวาน และไหมข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่าสารสกัด 50% เอทานอลจากไหมข้าวโพดหวาน มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 5991.98±60.61 มคก./มล. สำหรับการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสก...
สารลิกแนนจากงาช่วยลดพิษของนิโคติน
สารลิกแนนจากงาช่วยลดพิษของนิโคตินการศึกษาฤทธิ์ลดความเป็นพิษจากนิโคตินของสารลิกแนนจากงาในหนูแรทผิวเผือกเพศผู้ที่ได้รับพิษจากนิโคติน โดยการฉีดนิโคตินครั้งละ 3.5 มก./กก.น้ำหนักตัว เข้าใต้ผิวหนัง ติดต่อกัน 15 วัน ร่วมกับการป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของสารลิกแนนจากงา ขนาด 0.1 หรือ 0.2 ก.ต่ออาหาร 100 ก. ผลการศึกษาพบว่าสารลิกแนนจากงาช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ Low Density Lipoprotein cholesterol และ Very Low Density Lipoprotein cholesterol ช่วยเพิ่มปริมาณ High Density Lipoprotein cholesterol และเอ...
ผลของการใช้สาร
ผลของการใช้สาร L-theanine อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสาร L-theanine เป็นกรดอะมิโนที่พบได้เฉพาะในชาเขียว (green tea) และได้รับการยืนยันว่ามีผลต่อระบบประสาทและสมอง การศึกษาทางคลินิกแบบไม่ปกปิด (An open-label study) เพื่อศึกษาผลของการได้รับสาร L-theanine อย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (major depressive disorder; MDD) จำนวน 20 ราย เป็นเพศชาย 4 ราย อายุเฉลี่ย 41.0±14.1 ปี และเป็นเพศหญิง 16 ราย อายุเฉลี่ย 42.9±12.0 ปี โดยผู้ป่วยจะได้รับสาร L-theanine ในขนาด 250 มก./วัน ร่วมกั...
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของผักเสี้ยนผี เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของผักเสี้ยนผีทั้งต้น ไปทดสอบในหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการบีบตัว และขับเคลื่อนของเสียออกจากร่างกายอย่างแรง จึงเป็นไปได้ว่าสารสกัดผักเสียนผีมีฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียได้จริงตามที่มีการใช้ในยาแผนโบราณ Phytomedicine 2002;9:739-2 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานปัญจขันธ์
การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานปัญจขันธ์การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์ ซึ่งมีสาร gypenosides ประกอบอยู่ 6% โดยป้อนสารสกัด ขนาด 5,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียวแก่หนูแรท เปรียบเทียบผลกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าสารสกัดไม่ทำให้หนูตาย หรือเกิดอาการพิษใดๆ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน (treatment group) กลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./ก...
ผลของการรับประทานขิงทุกวันต่อการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่
ผลของการรับประทานขิงทุกวันต่อการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่การศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) เพื่อประเมินผลความสัมพันธ์ของการรับประทานขิงทุกวันกับการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่ (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, ไขมันในเลือดสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันพอกตับ, โลหิตจาง และเนื้องอก) ในอาสาสมัครชายหญิง จำนวน 4,628 คน อายุระหว่าง 18-77 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุในช่วงเวลาห่างประมาณ 20 ปี ได้แก่ อายุมากกว่า 18 ปีมากกว่า 40 ปี และมากกว่า 60 ปี และแบ่งการรับประทานขิงออกเป็น 3 ปร...