Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของกระเจี๊ยบแดงและขิงต่อฤทธิ์ลดความดันโลหิตและเภสัชจลนศาสตร์ของยา losartan ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูง

การศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยสาร L-NAME เมื่อให้กระเจี๊ยบแดง ขนาด 250 มก./กก. ร่วมกับยา losartan ขนาด 10 มก./กก. หรือขิง ขนาด 75 มก./กก. ร่วมกับยา losartan ขนาด 10 มก./กก. พบว่าความดันโลหิตลดลง หลังจากการให้ 12 ชม. เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยา losartan หรือได้รับกระเจี๊ยบแดงและขิงเพียงอย่างเดียว สำหรับผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา losartan พบ ว่ากระเจี๊ยบแดงและขิงมีผลทำให้ค่าความเข้มข้นสูงสุดของยาในเลือด (Cmax), ค่าพื้นที่ใต้กราฟของความเข้ม-ข้นของยากับเวลา (AUC0-t) และค่าครึ่งชีวิตของยา (t1/2) ของยาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่ากระเจี๊ยบแดงและขิง มีผลเพิ่มฤทธิ์ลดความดันโลหิตและเพิ่มระดับของยา losartan ในเลือดของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ความดันโลหิตสูงได้

Xenobiotica. 2020;50(7):847-57.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

389

ผลของอาหารทดแทนที่มีข้าวเป็นส่วนผสมในการควบคุมน้ำหนักในคนอ้วน
ผลของอาหารทดแทนที่มีข้าวเป็นส่วนผสมในการควบคุมน้ำหนักในคนอ้วนทดลองให้อาสาสมัครหญิงที่มีน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 25 - 35 กก./ตร.ม.) อายุระหว่าง 20 - 35 ปี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานอาหารทดแทนที่ให้พลังงานต่ำซึ่งมีส่วนประกอบเป็นข้าวขาว และกลุ่มที่รับประทานข้าวผสมระหว่างข้าวกล้องและข้าวดำ วันละ 3 มื้อ ร่วมกับอาหารว่างที่ทางผู้วิจัยจัดให้ เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม จะมีกลุ่มที่น้ำหนักตัว รอบเอว และสะโพกลดลง โดยกลุ่มที่รับประทานข้าวกล้องผสมข้าวดำ จะลดได้มากกว่ากลุ...

1653

ผลของแบล็คเคอร์แรนท์
ผลของแบล็คเคอร์แรนท์ (blackcurrant) ต่อความดันโลหิต สมรรถภาพการรู้คิด และสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุการศึกษาทางคลินิกในผู้สูงอายุจำนวน 14 คน อายุ 69 ± 4 ปี (สูง 172 ± 9 ซม. น้ำหนัก 85 ± 12 กก.) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานสารสกัดแบล็คเคอร์แรนท์ 600 มก./วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก เป็นระยะเวลา 7 วัน โดยมีระยะพัก 7 วัน แล้วสลับการทดสอบ ทำการประเมินผลในวันที่7 หลังจากได้รับสารสกัด 2 ชั่วโมง โดยวัดความดันโลหิตขณะพัก ประเมินสมรรถภาพการรู้คิด (cognitive function)และทดสอบประสิทธิภ...

1304

ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำกระเทียมดำเกิดจากการนำกระเทียมสดมาบ่มภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและควบคุมความชื้น (aging process) ซึ่งกระเทียมดำนี้จะอุดมไปด้วยสาร S-allylcysteine (SAC), polyphenols และ flavonoids ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับ STZ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 3 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมสด 200 มก./กก...

1242

การรับประทานสารสกัดโพลีฟีนอลจากมะกอกมีผลช่วยเพิ่มระดับ
การรับประทานสารสกัดโพลีฟีนอลจากมะกอกมีผลช่วยเพิ่มระดับ osteocalcin ซึ่งเป็นโปรตีนในกระดูก และช่วยให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้นในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะโรคกระดูกบางJ Nutr Health Aging 2015;19(1):77-86. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1212

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารอนุพันธ์กรดโอเลียโนลิกจากเมล็ดดาวเรืองฝรั่ง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารอนุพันธ์กรดโอเลียโนลิกจากเมล็ดดาวเรืองฝรั่งสารสำคัญที่แยกได้จากส่วนสกัดบิวทานอลของเมล็ดดาวเรืองฝรั่ง (Calendula officinalis 2O2) ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวหนังและสมองต่อไปPhytother Res 2016;30:835-41. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

86

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว สารสกัดเมทานอลของใบ, ลำต้น และดอกทองกวาว ( Butea monosperma Kuntze ) ถูกแบ่งเป็นส่วนสกัดของเฮกเซน (n-hexane), เอทิล อะซีเตต (ethyl-acetate) และ บิวทานอล (n-butanol) จากนั้นนำแต่ละส่วนสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อโดยวิธี disk diffusion ให้ผลดังนี้ ส่วนสกัดเอทิล อะซีเตตของใบมีฤทธิ์แรงในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ S. epidermidis และต้านเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes และ Microspor...

510

การรักษาโรคเบาหวานด้วยผลขี้กาเทศ
การรักษาโรคเบาหวานด้วยผลขี้กาเทศ (Citrullus colocynthis  (L.) Schrad) การทดลองแบบ Randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 50 คน (ชาย 12 คน หญิง 38 คน) อายุ 40-65 ปี แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คนให้รับประทานแคปซูลผลขี้กาเทศขนาด 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน หรือรับประทานยาหลอกร่วมกับการรักษาปกติ เป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นทำการตรวจวัดค่าดัชนีชี้วัดในเลือดเปรียบเทียบก่อนและหลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานแคปซูลขี้กาเทศมีปริ...

1058

ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากดอกมะตูม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากดอกมะตูมการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากดอกแห้งของมะตูม (Aegle marmelos ) ในหนูแรทปกติ และหนูแรทที่เป็นเบาหวาน พบว่าการให้หนูกินสารสกัดที่ขนาด 200 มก./กก. สามารถยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าจากการเหนี่ยวนำด้วยการฉีดสาร carrageenan ได้ หลังจากได้รับสารสกัดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง (ยับยั้งได้ 69.9% ในหนูปกติและยับยั้งได้ 78.9% ในหนูที่เป็นเบาหวาน) ซึ่งใกล้เคียงกับยาต้านการอักเสบ indomethacin ขนาด 10 มก./กก. (ยับยั้งได้ 71.9% ในหนูปกติและยับยั้งได้ 79.6% ในหนูที่เป็นเบาหวาน) ...

1407

กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชา
กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชาการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียว มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม และมีการไขว้กลุ่ม (A randomized, single-blinded, placebo controlled, season-matched crossover trials) เพื่อศึกษาผลของสาร catechin และสาร caffeine จากชา (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ต่อ brown adipose tissue (BAT) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสะสมไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายแบบไม่สั่น (nonshivering thermogenesis) โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลแบบเฉียบพ...