Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อน

การศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อน (Morus alba L.) ต่อมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (pancreatic β-cell mass) ของหนูเม้าส์เบาหวาน (obese/type 2 diabetes mellitus mouse) ในการศึกษาแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ป้อนด้วยอาหารปกติ) และกลุ่มทดลองที่ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของใบหม่อนแห้ง 5% โดยน้ำหนัก โดยเริ่มป้อนที่อายุ 7 สัปดาห์ไปจนถึง 10, 15 และ 20 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินความทนต่อน้ำตาลของสัตว์ทดลองเมี่ออายุครบ 10, 15 และ 20 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลในหนูแรทที่อายุ 10 สัปดาห์มีค่าลดลง แต่ไม่พบผลการเปลี่ยนแปลงเมื่อป้อนต่อเนื่องจนครบอายุ 15 และ 20 สัปดาห์ ผลการทดสอบวิธีอิมมูโนพยาธิวิทยา พบว่าใบหม่อนคงความสามารถการทำงานของเบต้าเซลล์ ลดความเครียดของ endoplasmic reticulum ในตับอ่อน ยับยั้งการตายแบบ apoptosis ของเบต้าเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มมวลของเบต้าเซลล์ โดยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเบต้าเซลล์และการแสดงออกของโปรตีน pancreatic duodenal homeobox1 mRNA ซึ่งบ่งชี้ถึงการสร้างเซลล์ตับอ่อนที่เพิ่มสูงขึ้น จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าใบหม่อนสามารถควบคุมระดับอินซูลินและมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยยับยั้งความเครียดใน endoplasmic reticulum ของหนูเม้าส์ที่มีภาวะเบาหวาน

BMC Complement Altern Med 2020;20:136

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

56

ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งของทองพันชั่ง
ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งของทองพันชั่ง จากการทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งโดย Dalton ascitic lymphoma (DAL) และได้รับสาร rhinacanthone (3,4-dihydro-3,3-dimethyl-2H-naphtho-[1,2-B]pyran-5,6-dione) ซึ่งได้จากสารสกัดส่วนเหนือดินทองพันชั่ง ( Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz. ) ในขนาด 10mg/kg/วัน พบว่า rhinacanthone มีผลยืดอายุหนูที่เป็นมะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง นอกจากนั้นยังทำให้ค่าดัชนีต่างๆทางโลหิตวิทยาที่ผิดปกต...

804

การได้รับสาร
การได้รับสาร cardanol อย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มความจำและการเรียนรู้ของหนูแรทสาร cardanol หรือ ginkgol เป็นสารที่สกัดได้จากใบของแปะก๊วย (Ginkgo biloba  L.) และของเหลวที่ได้จากเปลือกหุ้มเมล็ด (nutshell liquid) ของมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale  L.) ซึ่งมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท NSC-34 และพบว่าการให้หนูแรทเพศผู้ อายุ 5 สัปดาห์ กินสาร cardanol acetate ในขนาด 100 มก./กก./วัน เป็นเวลา 2 เดือน สามารถเพิ่มการทำงานของสมองที่เกี่ยวความจำในส่วนของการเรียนรู้ของหนูแรทได้ ...

597

ผลของยางจากหยูเฮียง
ผลของยางจากหยูเฮียง (Mastic gum) ต่อเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pyloriการศึกษาผลของยางจากหยูเฮียง (Mastic gum) ต่อเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยทำการทดลองในผู้ป่วยจำนวน 52 คน ที่มีการทดสอบแล้วว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าว แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน กลุ่มที่หนึ่งให้รับประทานยางจากหยูเฮียงซึ่งบดเป็นผงอัดแคปซูลปริมาณ 350 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน กลุ่มที่สอง รับประทานผงบดยางจากหยูเฮียง อัดแคปซูลปริม...

408

ผลของ
ผลของ curcumin ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและต้านอนุมูลอิสระในหนูที่อดนอนการศึกษาผลการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระของสาร curcumin จากขมิ้นชันในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้อดนอนนาน 72 ชม. โดยการเลี้ยงหนูในกรงพื้นเป็นตาข่ายเหล็กแขวนอยู่เหนือน้ำ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าเมื่อให้ curcumin ขนาด 10 และ 20 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู จะมีผลป้องกันการลดลงของน้ำหนัก ทำให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ลดอาการกระวนกระวายของหนู เมื่อทดสอบด้วยวิธี mirror chamber, plu...

1078

ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้าง
ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้างการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา (Trypanosoma brucei brucei ) เชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum ) รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบ ลำต้น และเมล็ดของโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum Linn) พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้งสองชนิด แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเลียค่อนข้างต่ำ (IC50 >40 มคก./มล.) โดยสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาดีที่สุด (IC50 = 1.66 ± 0.48 มคก....

832

สารสำคัญในไพลกับฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
สารสำคัญในไพลกับฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารการทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดไพลแห้งบดด้วยเมทานอลในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดไฮโครคลอริก 95% เอทานอล และอินโดเมทาซิน พบว่าสารสกัดไพลด้วยเมทานอลขนาด 200 และ 400 มก./กก. สามารถต้านการเกิดแผลที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโครคลอริกได้ 61.97% และ 83.10% ตามลำดับ นอกจากนี้สารซีรัมโบน (zerumbone) ในไพลขนาด 20 และ 40 มก./กก. สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วยด้วยกรดไฮโครคลอริก 95% เอทานอล และอินโดเมทา...

955

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase จากสารสำคัญในผิวเมล็ดอัลมอนด์สารในกลุ่มโพลีฟีนอลิกซึ่งแยกได้จากผิวเมล็ดอัลมอนด์ (Prunus dulcis) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase ซึ่งแยกได้จากตับอ่อนของหมู โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 2.2 มคก./มล. โดยส่วนสกัดดังกล่าวประกอบด้วยโพลีฟีนอลทั้งหมด (total polyphenols) 62% สารกลุ่มแทนนินชนิดฟลาวานอล (flavanol-type tannins) 33.8% และสารกลุ่มโพรไซยานิดิน (procyanidins) 30% จากการศึกษาด้วยเทคนิคทางสเปคโตรสโคปี ได้แก่ MALDI-TOF/MS พบว่าสา...

78

สารสกัดจากใบข่อยมีฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อ
สารสกัดจากใบข่อยมีฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อ S. mutans ในช่องปาก Streptococcus mutans เป็นเชื้อแบคทีเรียสำคัญที่ทำให้เกิดหินปูน ( plaque ) และฟันผุ การศึกษาแบบ Single blind crossover ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดใบข่อยเตรียมในรูปยาน้ำบ้วนปากต่อการทำลายเชื้อ S. mutans เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครบ้วนปากด้วยตัวอย่างทดสอบ 20 มล. นาน 60 วินาที สารสกัดใบข่อยมีผลลดปริมาณเชื้อ S. mutans ในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเที...

977

ฤทธิ์ปกป้องสมองของสาร
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสาร madecassoside จากใบบัวบกการศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองของสาร madecassoside จากใบบัวบกในหนูแรทที่เป็นโรคพาร์กินสัน โดยให้สาร madecassoside เข้าทางกระเพาะของหนูแรทขนาด 15ม 30 และ 60 มก./กก./วัน ต่อเนื่องกัน 7 วัน ก่อนหนูแรทจะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพาร์กินสันระยะเริ่มแรกด้วยการฉีดสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine) แล้วให้สาร madecassoside ต่อเนื่องไปอีก 14 วัน ผลการศึกษาพบว่าสาร madecassoside ช่วยปรับปรุงสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ป้องกันไม่ให้เซลล์ปร...